ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การศึกษาผลของการใช้ยาพอกตำรับกมลาลดอาการปวดเข่าในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม(จับโปงแห้ง)
ผู้แต่ง : สุจารี พนมเขต,พท.ป. ศิราภรณ์ มหาโคตร,พท.ป. ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : ศึกษาผลของการใช้ยาพอกตำรับกมลาลดอาการปวดเข่าในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม (จับโปงแห้ง) ต่อระดับความปวดของเข่า เพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าลดความรุนแรงของโรค ชะลอการเสื่อมของเข่า โดยศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยที่มารับบริการของโรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์  
วัตถุประสงค์ : วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการใช้ยาพอกตำรับกมลากับการประคบสมุนไพรลดอาการปวดเข่าในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม โดยใช้ยาพอกเข่าตำรับกมลาเป็นตำรับยาสมุนไพร  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 60 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม เป็นเพศชาย 24 คน คิดเป็นร้อยละ 40 เป็นเพศหญิง 36 คน  
เครื่องมือ : ยาพอกตำรับ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การศึกษากึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการใช้ยาพอกตำรับกมลากับการประคบสมุนไพรลดอาการปวดเข่าในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม โดยใช้ยาพอกเข่าตำรับกมลาเป็นตำรับยาสมุนไพร มีตัวยาทั้งหมด 10 ชนิด ส่วนประกอบหลักคือ ไพล มีสรรพคุณและรสยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อเข่ามาพอก ทำให้เพิ่มการไหลเวียนของเลือด และกระจายเลือดลมบริเวณ ข้อเข่า ผู้ศึกษามีความสนใจที่จะศึกษาผลของการใช้ยาพอกตำรับกมลาลดอาการปวดเข่าในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม (จับโปงแห้ง) ต่อระดับความปวดของเข่า เพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าลดความรุนแรงของโรค ชะลอการเสื่อมของเข่า โดยศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยที่มารับบริการของโรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทยว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมหรือจับโปงแห้งเข่ามี ระยะเวลาตั้งแต่ 1 เดือนเป็นต้นไป โดยเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย(Simple random sampling) ตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 60 คน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน โดยให้กลุ่มควบคุมมีคุณสมบัติใกล้เคียงกลุ่มทดลอง คือ เพศ,อายุ,ระดับความเจ็บปวดก่อนรับบริการ,ระยะเวลาของการปวดเข่าการได้รับการรักษาอื่นในระหว่างการศึกษา ประเมินอาการปวดเข่าของกลุ่มตัวอย่างโดยการประเมินผลก่อนและหลังของกลุ่มทดลองและการประเมินผลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้มาตรวัดระดับอาการปวด(visual rating scales) กลุ่มทดลองได้รับการพอกยาสมุนไพรตำรับกมลา พอกบริเวณเข่าครั้งละ 20 นาที 2 ครั้งต่อสัปดาห์ รวม 3 สัปดาห์ นัดสัปดาห์ละ 3 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมด้วยวิธีประคบสมุนไพรบริเวณเข่าครั้งละ 20 นาที 2 ครั้งต่อสัปดาห์ รวม 3 สัปดาห์  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง