ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน รพ.สต. บ้านบึง
ผู้แต่ง : อังคนาง ฤทธิ์มนตรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : แนวโน้มสังคมผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทั่วโลกโดยเริ่มจากประเทศที่พัฒนาแล้วมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีและตามมาด้วยประเทศกำลังพัฒนา เมื่อมีผู้สูงอายุมากขึ้นทำให้ปัจจัยการผลิตทางด้านแรงงานลดลงการออมลดลง รัฐบาลจำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณค่าใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการและการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นเพื่อดูแลและปฐมพยาบาลผู้สูงอายุมากขึ้น ทำให้การลงทุนลดลงรายได้ประชาชาติลดลง1 ผู้สูงอายุในประเทศไทยร้อยละ 95 มีความเจ็บป่วยด้วยโรคและปัญหาสุขภาพ ดังต่อไปนี้ โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 41 โรคเบาหวานร้อยละ 10 โรคเข่าเสื่อม ร้อยละ 9 เป็นผู้พิการ ร้อยละ 6 และผู้ป่วยติดเตียง ร้อยละ 1 2 ข้อมูลผู้สูงอายุตำบลหลักเมือง ปีงบประมาณ 2562 แยกตามความสามารถในการดูแลตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันพบว่าจากผู้สูงอายุทั้งหมด ๙๒๖ คน แบ่งผู้สูงอายุตามความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ (ADL) ทั้งหมดจำนวน ๙๒๖คน เป็นผู้สูงอายุติดสังคมช่วยเหลือตัวเองได้ดี จำนวน ๘๖๘ คน คิดเป็นร้อยละ 9๓.๗๖ เป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงต้องการความช่วยเหลือจากผู้ดูแล จำนวน ๕8 คน คิดเป็นร้อยละ ๖.๒๖ บางรายเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นปัญหาเรื้อรังและพิการตามมา เป็นภาระของครอบครัวและชุมชน เพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียง โดยได้รับงบประมาณการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระยะยาว (Long term Care) ปีงบประมาณ 2562 เพื่อให้ผู้สูงอายุในพื้นที่หลักเมือง มีความสุขและได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป  
วัตถุประสงค์ : มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในกลุ่มติดบ้าน  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเป้าหมาย 60 คนประกอบด้วย ทีมสหวิชาชีพ ผู้นำชุมชน อสม. ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านจำนวน 46 คน  
เครื่องมือ : การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลเชิงปริมาณใช้ 1) แบบประเมิน ADL ของผู้สูงอายุ 2) แบบบันทึกกิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุ (Care Plan)  
ขั้นตอนการดำเนินการ : มี 4 ระยะที่ 1ศึกษาสภาพปัญหา ของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านในชุมชน รพ.สต.บ้านบึง ระยะที่ 2 วางแผนกิจกรรมแก้ไขปัญหามีการประชุมระดมความคิดเห็นผู้สูงอายุ และประชุมเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาในทีมสหวิชาชีพ อสม. ผู้นำชุมชน ผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 ดำเนินการโดยการส่งเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ทีมลงปฎิบัติการในชุมชน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูล ระยะที่ 4 ประเมินผลการดำเนินการ โดยมีการถอดบทเรียนและคืนข้อมูล การรวบรวมข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลเชิงปริมาณใช้ 1) แบบประเมิน ADL ของผู้สูงอายุ 2) แบบบันทึกกิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุ (Care Plan) การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์เชิงคุณภาพ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา เชิงปริมาณเป็นจำนวน / ร้อยละ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ