ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลธัญญา จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : วานิศรา ดอนสินเพิ่ม ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : สำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ คือ กลุ่มโรคที่เรื้อรัง ร้อยละ 1.6 โรคเส้นเลือดในสมองตีบ ร้อยละ 31.1 โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 13.1 และโรคเบาหวาน กลุ่มอาการสมองเสื่อม โรคข้อเสื่อม ภาวะซึมเศร้าและการหกล้ม โรคและอาการที่มากับความเสื่อม นำไปสู่ภาวะพึ่งพิงและภาวะ ทุพพลภาพซึ่งร้อยละ 1.7 ของผู้สูงอายุไทยอยู่ในภาวะ ทุพพลภาพรุนแรงปานกลางและรุนแรงมาก1 ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ทำให้รายได้ ไม่พอกับค่าใช้จ่ายในครอบครัว จนเกิดปัญหาความยากจน คุณภาพชีวิตไม่ดี ตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีจำนวนผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิง ต้องดูแลใน ปี 2562 จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 0.6 ของประชากรทั้งหมด เข้าเกณฑ์ตามโครงการคนกาฬสินธุ์ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Kalasin Happiness Model) จำนวน 11 ราย เพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาตามเกณฑ์ ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง เหมาะสม เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ร่วมทั้งการได้รับการดูแลที่ต่อเนื่อง และยั่งยืนในชุมชน จึงใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการมาแก้ปัญหานี้  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์และรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลธัญญา  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิง ที่เข้าเกณฑ์ตามโครงการคนกาฬสินธุ์ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Kalasin Happiness Model) 11 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุประกอบด้วยพยาบาล (CM) 3 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (CG) 18 คน ผู้นำชุมชน 15 คน คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) 20 คน  
เครื่องมือ : แบบคัดกรองและประเมิน ADL แบบคัดกรองเลือกผู้สูงอายุเข้าโครงการคนกาฬสินธุ์ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การดำเนินงาน 4 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 คัดกรองและประเมิน ADL ผู้สูงอายุในชุมชนเลือกปฏิบัติการในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ระยะที่ 2 วางแผนกิจกรรมแก้ไขปัญหามีการประชุมระดมความคิดเห็นและประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพและปัญหาเศรษฐกิจ สิงแวดล้อมและสังคม ระยะที่ 3 คัดกรองเลือกผู้สูงอายุเข้าโครงการคนกาฬสินธุ์ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จำนวน 11 คน ทีมภาคีเครือข่ายลงเยี่ยมพร้อมทีมสหวิชาชีพเพื่อประเมินปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิง แต่เน้นดูแลกลุ่มที่มีปัญหาซับซ้อน วางแผนการช่วยเหลือร่วมกับทีมตามประเด็นปัญหาที่เร่งด่วน ระยะที่ 4 ติดตามเพื่อประเมินความพึงพอใจและติดตามดูแลปัญหาอื่นร่วมกับทีมภาคีเครือข่ายร่วมกันระดมสมองสะท้อนข้อคิดเพิ่มเติมเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมร่วมกันต่อไป  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง