ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมศักยภาพของชุมชนในการเฝ้าระวังและป้องกันไข้เลือดออก กรณีบ้านสว่าง
ผู้แต่ง : กรทิพย์ พันธ์ภูทอง ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด การพยากรณ์โรคไข้เลือดออกประเทศไทยในปี 2562 โดยใช้ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยย้อนหลัง 11 ปี (ปี พ.ศ. 2551-2561) คาดว่าในปี พ.ศ. 2562 จะมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกประมาณ 94,000 – 95,000 ราย นอกจากนี้ในช่วงปลายปี 2560 - 2561 มีการเปลี่ยนแปลงชนิดของไวรัสเดงกี โดยพบ Den-2 มีแนวโน้มสูงขึ้น จึงมีโอกาสที่ปี 2562 จะพบผู้ป่วยและผู้ป่วยเสียชีวิตสูงในพื้นที่ที่ไม่มี Den-2 หมุนเวียนอยู่ในปีที่ผ่านมา สำหรับกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วย โรคไข้เลือดออกยังคงอยู่ในกลุ่มเด็กวัยเรียน (5-14 ปี) และวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (15-24 ปี) แต่กลุ่มเสี่ยง ต่อการเสียชีวิตเป็นวัยผู้ใหญ่ (อายุ 35 ปีขึ้นไป)โดยเฉพาะในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว1 ซึ่งสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ตำบลหลักเมือง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ. 2558-2561 พบว่าการระบาดของโรคไข้เลือดออกแต่ละปีจะมีช่วงเกิดโรคสูงสุดในฤดูฝน ลักษณะการระบาดเป็นปีเว้นสองปี ซึ่งในปี พ.ศ.2562 ตำบลหลักเมืองมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเป็นอันดับ1 ของอำเภอเมืองกมลาไสย เนื่องจากมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกถึง 6 ราย2 ในระยะเวลาเพียงสองสัปดาห์และมีการระบาดเพียงหมู่บ้านเดียวคือบ้านสว่าง จากปัญหาโรคไข้เลือดออกที่มีอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบึง การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักถึงปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้จัดทำวิจัยการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมศักยภาพของชุมชนในการเฝ้าระวังและป้องกันไข้เลือดออก กรณีบ้านสว่าง เพื่อให้ประชาชน ได้มองเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นและให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาโดยชุมชนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม  
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมศักยภาพของชุมชนในการเฝ้าระวังและป้องกันไข้เลือดออก  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเป้าหมาย 100 คน ประกอบด้วย ทีมสหวิชาชีพ ผู้นำชุมชน อสม. ชาวบ้าน  
เครื่องมือ : เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลเชิงปริมาณใช้ แบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย (HI,CI)  
ขั้นตอนการดำเนินการ : มี 4 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1ศึกษาสภาพปัญหา หมู่บ้านที่เกิดไข้เลือดออกในชุมชน ผู้นำชุมชน อสม. ชาวบ้าน ทีมสหวิชาชีพ โดยเวทีประชาคม เนื่องจากผลการสำรวจลูกน้ำพบว่ามีค่า HI สูง เกิน ร้อยละ10 ระยะที่ 2 วางแผนกิจกรรมแก้ไขปัญหามีการประชุมระดมความคิดเห็น และประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาในทีมสหวิชาชีพ อสม ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน ระยะที่ 3 ดำเนินการส่งเสริมศักยภาพชุมชนในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยจัดให้มีการสำรวนลูกน้ำทุกวันศุกร์ มีมาตราการทางสังคมในเฝ้าระวังลูกน้ำโดยใช้ธงเขียว ธงแดง มีกิจกรรมทำความสะอาดในหมู่บ้านทุกวันจันทร์ มีกลุ่มเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน อบรมให้ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออก และทีมลงปฎิบัติการในชุมชน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูล ระยะที่ 4 ประเมินผลการดำเนินการ โดยมีการถอดบทเรียนและคืนข้อมูล การรวบรวมข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลเชิงปริมาณใช้ แบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย (HI,CI)  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง