ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีในเกษตรกรตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : กุลยา ใจกล้า ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : สารเคมีทางการเกษตรเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ มีอาการแบบเฉียบพลันจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจำนวนมาก จะแสดงอาการอย่างทันทีทันใด เช่น ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บหน้าอก ปวดกล้ามเนื้อ เหงื่อออกมาก ท้องร่วง เป็นตะคริว หายใจติดขัด มองเห็นไม่ชัดเจน หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต แบบเรื้อรัง โดยจะเกิดขึ้นเมื่อได้รับพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจำนวนน้อยต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งกว่าจะแสดงอาการอาจใช้เวลาเป็นเดือน เป็นปีภายหลังจากการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช คือ การเป็นหมัน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นอัมพฤต อัมพาต และมะเร็ง1 เกษตรกรอำเภอกมลาไสยมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกันอย่างแพร่หลาย โดยฉีดพ่นก่อนทำการเพาะปลูก ช่วงระหว่างที่พืชเจริญเติบโต ผลการตรวจสารเคมีในเลือดของเกษตรกรตามกลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมด 148 คน ผลการตรวจพบว่า อยู่ในเกณฑ์ปกติ 1 คน (ร้อยละ 0.68) อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย 18 คน (ร้อยละ 12.16) อยู่ในเกณฑ์มีความเสี่ยง 75 คน (ร้อยละ 50.68) อยู่ในเกณฑ์ไม่ปลอดภัย 54 คน (ร้อยละ 36.48)ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรหมู่ 2 และ 16 ตำบลดงลิง  
วัตถุประสงค์ : เพื่อหาแนวทางการลดใช้สารเคมีในการเกษตรของเกษตรกร หมู่ 2 และ 16 ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากร คือ ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม 2 หมู่บ้าน 217 หลังคาเรือน 148 คน  
เครื่องมือ : เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถาม 3 ส่วน วิเคราะห์โดยใช้ความถี่ ร้อยละ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การศึกษาเชิงพรรณนา ประชากร คือ ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม 2 หมู่บ้าน 217 หลังคาเรือน 148 คน เกณฑ์ในการคัดเข้า คือ เป็นเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกาจัดศัตรูพืชในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านสวนโคก ที่ใช้และมีการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา โดยใช้แบบสอบถามประเมินความเสี่ยงพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช อาศัยอยู่ในบ้านโคกล่าม หมู่ 2 หรือหมู่ 16 ไม่น้อยกว่า 1 ปี เกษตรกร สมัครใจเข้าร่วม อายุ 15 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิง สามารถสื่อสารได้เข้าใจ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถาม 3 ส่วน วิเคราะห์โดยใช้ความถี่ ร้อยละ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง