|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การเสริมสร้างพลังอำนาจในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านร้านค้าแผงลอย รพ.สต.บ้านบึง |
ผู้แต่ง : |
พัชราพร เขตบรรจง |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ผู้บริโภคในชนบทนิยมรับประทานอาหารโดยซื้อจากแผงลอย เพราะมีราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับห้างสรรพสินค้า1แผงลอยที่ไม่ได้มาตรฐานอาจเกิดจากการปนเปื้อนสารเคมีหรือเชื้อโรค ทำให้ผู้บริโภคเกิดการเจ็บป่วย เสียค่าใช้จ่าย เสียเวลา ในการดูแลรักษา ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านบึง มีร้านแผงลอย 32 ร้าน แผลงลอยที่ไม่ได้มาตรฐานจำนวน 1 ร้าน คิดเป็น ร้อยละ 96.88 การเสริมพลังอำนาจแก่แผงลอยโดยส่งเสริมให้ค้นหาปัญา ความต้องการของตนเอง และร่วมกันระดมสมองสะท้อนคิดเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
จากปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยได้หาสาเหตุของปัญหาการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านมาตรฐานแผงลอย โดยสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ปัญหาและสำรวจเบื้องต้นพบว่า ปัญหาเกิดจาก ร้านแผงลอยมีความตระหนักถึงความสะอาดและความปลอดภัยของผู้บริโภคน้อย การดำเนินการที่ผ่านมา เป็นการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น ผู้วิจัยจึงนำรูปแบบการเสริมพลังอำนาจในชุมชนมาใช้ในการแก้ไขปัญหา ด้วยการตัดสินใจด้วยตนเอง การร่วมเรียนรู้ ซึ่งต้องทำอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การจัดการวางแผน การลงมือปฏิบัติ และการติดตามการดำเนินงาน |
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ผู้ประกอบการร้านค้าแผงลอย รพ.สต.บ้านบึง |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ร่วมวิจัยเลือกแบบเจาะจง คือผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน อสม. จำนวน 20 คนและผู้ประกอบการแผงลอย จำนวน 32 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 3 คน ผู้รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคของเทศบาลจำนวน 3 คน รวมจำนวน 68 คน |
|
เครื่องมือ : |
ใช้แบบสอบถาม แบบสำรวจเกณฑ์มาตรฐานแผงลอย การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
สมอง มี 4 ระยะ คือ 1) ระยะวางแผน มีการทำแผนแก้ปัญหางานคุ้มครองผู้บริโภคด้านมาตรฐานแผงลอย สำรวจข้อมูลเบื้องต้นของร้านแผงลอย 2) ระยะปฏิบัติการ อบรมกลุ่มเป้าหมายให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของมาตรฐานแผงลอย โดยจัดโครงการแก้ไขปัญหาด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ประชุมขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภค โดยให้กลุ่มเป้าหมายสะท้อนปัญหาเกี่ยวกับแผงลอยในชุมชน กระตุ้นให้เกิดการรับรู้สภาพปัญหา วิเคราะห์ปัญหา เพื่อกำหนดแผนการดำเนินการของชุมชนร่วมกัน พร้อมกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา การบริหารจัดการโดยชุมชน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการทำงานเป็นทีม 3) ระยะสังเกตการณ์ ติดตามการดำเนินงานของแผงลอยเดือนละครั้ง 4) ระยะสะท้อนผลการปฏิบัติ ประชุมกลุ่ม เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขปัญหาพร้อมเชิดชูแผงลอยต้นแบบที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|