|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : สบู่สมุนไพรบำบัดตะโจพิการในผู้ป่วยโรคผิวหนังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านข้าวหลาม ตำบลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
กุลณรีย์ ภูกิ่งเงิน |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
จากการศึกษาปัญหาผู้มารับบริการที่ รพ.สต.บ้านข้าวหลาม พบว่าจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านข้าวหลามในปี พ.ศ.2560 ถึง พ.ศ.2562 มีจำนวนเฉลี่ย 180 รายต่อปี หรือเฉลี่ย 15 รายต่อเดือน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาที่พบของผู้มารับบริการ พบว่ามีอาชีพเกษตรกรและกลุ่มผู้เลี้ยงปลาซึ่งสัมผัสกับสารเคมีตลอดเวลาและไม่รู้จักวิธีการดูแลตัวเองด้วยการใส่รองเท้าบู้ท หรือสวมถุงมือ ถ้ามีอาการผื่นแพ้หรือผื่นคันส่วนมากจะซื้อยามาทาหรือรับประทานเอง การแพทย์แผนไทยมีการบูรณาการในการดูแลรักษาโรคผิวหนังเพิ่มมากขึ้น ยาตำรับชำระน้ำเหลืองเสียซึ่งเป็นยาต้มสำหรับอาบที่ประกอบด้วยสมุนไพร 5 ชนิด เช่น ใบเหงือกปลาหมอ เปลือกมังคุด ใบเสลดพังพอนตัวเมีย ขมิ้นชัน ทองพันชั่ง สามารถบรรเทาและรักษาอาการผื่นคัน ผิวหนังเป็นตุ่มใสหรือพุพอง ผู้ศึกษาสนใจพัฒนายาต้มอาบสมุนไพร เป็นรูปแบบสบู่ที่มีสารสกัดจากสมุนไพรบำบัดตะโจพิการ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ใช้ง่าย และเพื่อทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบันในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและสามารถพัฒนาต่อยอดได้ต่อไป มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสบู่สมุนไพรบำบัดตะโจพิการในผู้ป่วยโรคผิวหนังผื่นคันสัมผัสและผื่นแพ้จากการสารเคมี เปรียบเทียบราคาของสบู่สมุนไพรบำบัดตะโจพิการกับราคากับสบู่รักษาโรคผิวหนังและผื่นคันตามท้องตลาด ลดปริมาณการใช้ยาแผนปัจจุบันในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยใช้ยาสมุนไพรทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบันและประเมินผลความพึงพอใจในการใช้สบู่สมุนไพรบำบัดตะโจพิการจากสมุนไพร 5 ชนิด |
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสบู่สมุนไพรบำบัดตะโจพิการในผู้ป่วยโรคผิวหนังผื่นคันสัมผัสและผื่นแพ้จากการสารเคมี
เปรียบเทียบราคาของสบู่สมุนไพรบำบัดตะโจพิการกับราคากับสบู่รักษาโรคผิวหนังและผื่นคันตามท้องตลาด
ลดปริมาณการใช้ยาแผนปัจจุบันในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ป่วยที่เป็นโรคผิวหนัง 20 คน |
|
เครื่องมือ : |
แบบประเมินอาการของโรคผิวหนัง
แบบประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
วิธีการพัฒนานวัตกรรม
วัสดุอุปกรณ์อุปกรณ์ในการต้มเคี่ยวสมุนไพร ได้แก่ สมุนไพรทั้ง 5 ตัว ได้แก่ ใบเหงือกปลาหมอ 3 ส่วน เปลือกมังคุด 3 ส่วน ใบเสลดพังพอนตัวเมีย 3 ส่วน ขมิ้นชัน 2 ส่วน ทองพันชั่ง 2 ส่วน เกลือสินเธาว์สะตุ 1.5 ส่วน และอุปกรณ์ในการต้ม ได้แก่ หม้อดิน น้ำเปล่า เตาแก๊ส ไม้พาย และกระชอน
อุปกรณ์ในการทำสบู่ น้ำที่ได้จากการต้มของสมุนไพรทั้ง 6 ตัว ที่ผ่านการต้มเคี่ยวแล้ว, กลีเซอร์รีน 1 กิโลกรัม, แม่พิมพ์สบู่ซิลิโคน 2 ขนาด , หม้อ 2 ใบ ทัพพี 1 อัน , เตาแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเตาแก๊สสเปรย์แอลกอฮอล์ 95%
วิธีทำ นำสมุนไพรทั้ง 5 ชนิดมาชั่งด้วยเครื่องชั่งดิจิตอลตามอัตราส่วนที่กำหนด แล้วนำสมุนไพรแห้งทั้ง 5 ชนิด เติมน้ำให้ท่วมหม้อยา มาต้มในหม้อดินเผาต้มเดือดประมาณ 30 นาที ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 ส่วน นำกลีเซอรีน 1 กิโลกรัม มาละลาย จากนั้นผสมสารสกัดยาต้มลงไปคนให้เข้ากันต้มต่อจนสารสกัดข้น นำมาพักไว้ให้เย็นพยายามช้อนฟองอากาศออกให้หมด จากนั้นนำแอลกอฮอล์ 95% เช็ดพิมพ์สบู่ให้สะอาดแล้วเทน้ำสบู่ลงไป เมื่อสบู่แข็งตัวแล้วจึงแกะพิมพ์ออก
การทดสอบประสิทธิผล
จากการทดสอบโดยให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวหนังทดลองใช้พบว่าผลจากการทดลองใช้สบู่สมุนไพรบำบัดตะโจพิการจำนวน 20 คนในผู้ป่วยโรคผิวหนังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านข้าวหลามพบว่า ผู้ป่วยจำนวน 10 รายหลังใช้สบู่สมุนไพรบำบัดตะโจพิการมีขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของผื่นที่ผิวหนังลดลงหลังการใช้สบู่ในระยะเวลา 4 สัปดาห์ และอาการคันที่ ผิวหนังลดลงจากอาการคันระดับมากในระดับ3 เป็นมีอาการคันในระดับน้อยลง คือระดับที่ 1 และ2 และไม่มีอาการคันในสัปดาห์ที่ 4 เมื่อเปรียบเทียบราคาสบู่สมุนไพรกับราคาในท้องตลาด สบู่สมุนไพรบำบัดตะโจพิการขนาด 50 กรัม ราคาถูกกว่าสบู่ตามท้องตลาดเฉลี่ย 32.67 บาท ผลการประเมินผลความพึงพอใจในการใช้สบู่สมุนไพรบำบัดตะโจของผู้มารับบริการมีความพึง พอใจ 4 ด้าน คือ ด้านความสะดวกในการใช้งาน ความเหมาะในการใช้งาน และความพึงพอใจต่อนวัตกรรมสบู่สมุนไพรบำบัดตะโจพิการมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ส่วนกลิ่นของสบู่มีความพึงพอใจปานกลาง |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|