ประเภทบทความ/งานวิจัย : เรื่องเล่า สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : นิทานภาพระบายสี สอนเด็กดีแปรงฟัน
ผู้แต่ง : ภัสธิรา อรุณปรีย์ ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : โรคฟันผุเป็นปัญหาสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียน สาเหตุมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการดูแลความสะอาดช่องปาก1 ทำให้เกิดปัญหาตามมาหลายอย่าง เช่น เด็กไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ นอนไม่หลับ สูญเสียพลังงานเพิ่มขึ้นจากการติดเชื้อในช่องปาก ส่งผลให้เด็กเจริญเติบโตไม่เต็มที่จากการศึกษาปัญหา พบว่า ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดปทุมเกสรหนองบัว มีเด็กอายุ 2 - 4 ปี มีเด็กนักเรียนเป็นโรคฟันผุ สาเหตุหนึ่งมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม จากการเก็บข้อมูลพบ ปี 2560 - 2561 พบว่าเด็กอายุ 2 - 4 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดปทุมเกสรหนองบัว มีอัตราฟันน้ำนมผุเฉลี่ยร้อยละ 51 และ 53 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากการสัมภาษณ์ของครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครอง พบว่า เด็กมีพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การดูแลรักษาความสะอาดช่องปากไม่เหมาะสมและไม่ถูกวิธี ผู้ศึกษาสนใจแนวทางแก้ปัญหาด้วยการใช้นิทานมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพช่องปากในเด็กกลุ่มอายุ 2 - 4 ปี เนื่องจากเด็กวัยนี้มักมีความสนใจในสื่อการเรียนการสอน ที่มีรูปภาพดึงดูดมากกว่าการสอนด้วยวิธีอื่นๆ ผู้ศึกษาจึงสนใจที่จะพัฒนานวัตกรรมเพื่อเป็นสื่อการสอนในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 2 - 4 ปี ให้ง่ายต่อผู้ปฏิบัติงาน และการนำไปใช้ของครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง อันจะส่งผลให้เด็กมีสุขภาพช่องปากดีในอนาคต  
วัตถุประสงค์ : มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของนิทานภาพระบายสีสอนเด็กดีแปรงฟันและประเมินผลความพึงพอใจในการใช้นิทานภาพระบายสีสอนเด็กดีแปรงฟัน  
กลุ่มเป้าหมาย : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดปทุมเกสรหนองบัว เด็กอายุ 2 - 4 ปี เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ครูผู้ดูแลเด็ก ครูปฐมวัยและผู้ปกครองเด็ก  
เครื่องมือ : การสังเกตุแบบมีส่วนร่วม แบบสอบถามความพึงพอใจผู้รับบริการ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : วิธีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ ศึกษา สังเกต และถามข้อมูล/สัมภาษณ์ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก เกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 2 - 4 ปี สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับนิทานส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพช่องปาก ปรึกษาขอคำ แนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ขอคำแนะนำจากทันตแพทย์ในความรู้เรื่องทันตสาธารณสุข จากครูอนุบาลและครูศูนย์เด็กในเรื่อง การวาดภาพระบายสี เทคนิคในการเล่านิทาน ควรมีเสียงสูงเสียงต่ำ ท่าทางประกอบเพื่อดึงดูดความสนใจในการฟังนิทานของเด็กๆ กำหนดโครงเรื่อง เนื้อเรื่อง ตัวละคร ของนิทาน (โดยนำมาจากพฤติกรรมเด็ก) เตรียมวัสดุ อุปกรณ์การทำนิทาน ลงมือสร้างสื่อนิทานจนเสร็จสมบูรณ์ นำสิ่งประดิษฐ์ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจทานความถูกต้อง เพื่อปรับปรุงแก้ไข นำสิ่งประดิษฐ์มาใช้ในกลุ่มทดลองศูนย์เด็กและโรงเรียนอนุบาลใกล้เคียง ประเมินผล สังเกตและสัมภาษณ์ความพึงพอใจของเด็กและผู้ดูแลเด็ก จัดกิจกรรมการเล่านิทานส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพช่องปากพร้อมระบายสี เพื่อต่อยอดในการใช้สื่อการเรียนการสอน การทดสอบประสิทธิผลสิ่งประดิษฐ์ มีการทดสอบประสิทธิผลดังนี้ นำนวัตกรรมไปใช้จริงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดปทุมเกสรหนองบัว ในเด็กเด็กอายุ 2 - 4 ปี สังเกตและสัมภาษณ์ความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้นิทาน ประกอบไปด้วย เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ครูผู้ดูแลเด็ก ครูปฐมวัยและผู้ปกครองเด็ก เด็ก 2 - 4 ปี มีความสนใจ และสามารถปฏิบัติตัวในการดูแลช่องปากได้ถูกต้องเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 92  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง