ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหาเด็กติดจอ : เหมือดแอ่ชุมชนจักรยานสร้างสุข
ผู้แต่ง : วรรณภา ศักดิ์ศิริ ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : การติดเกมเป็นอาการเสพติดทางจิต ส่งผลกระทบต่อปฏิสัมพันธ์กับสังคม ผู้ติดเกมรู้สึกมุ่งมั่นในการเล่น และหยุดเล่นได้ยาก บางคนติดมากจนไม่สนใจการเรียน ผลการเรียนต่ำ ไม่ยอมไปโรงเรียน มีพฤติกรรมก้าวร้าว ทำลายข้าวของ หนักถึงฆ่าตัวตาย1,2 การคุยกับผู้ปกครองให้เข้าใจเด็กและช่วยกันแก้ไขอย่างนุ่มนวล พูดคุยกับเด็กและประเมินสาเหตุที่แท้จริงโดยไม่ตำหนิ รับฟังด้วยความปรารถนาดี สะท้อนให้เด็กเห็นและเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นพาเด็กถอยห่างจากมือถือ ด้วยการหากิจกรรมน่าสนใจให้เด็กๆ ได้ทำร่วมกัน จะเป็นทางออกได้เป็นอย่างดี3 กิจกรรมปั่นจักรยานให้ความสนุกสนานมีอิสระ สามารถไปไหนมาไหนด้วยตัวเอง ได้เรียนรู้ชุมชนและโลกภายนอกครอบครัว บ่มเพาะบุคลิกและการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ รวมทั้งความฉลาดได้4 ชุมชนเหมือดแอ่ มีเด็กอายุ 1 - 14 ปี จำนวน 165 คน มีสมาร์ทโฟนส่วนตัว 92 คน(ร้อยละ 55.76) เด็กที่ติดสมาร์ทโฟนออกกำลังกายและสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ชุมชนน้อยลง บางคนมีอาการก้าวร้าว มารยาทการเข้าสังคมไม่เหมาะสม พบว่ายังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้  
วัตถุประสงค์ : วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหาเด็กติดจอ  
กลุ่มเป้าหมาย : เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง 130 คน คือ ผู้นำชุมชน 2 คนปราชญ์ชาวบ้าน 6 คน อสม. 23 คน ผู้ปกครองเด็กอายุ 1 - 14 ปี 45 คน เด็กอายุ 1 - 14 ปี 54 คน  
เครื่องมือ : แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก แนวทางการ ระดมสมองสะท้อนคิด แนวทางการสนทนากลุ่ม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง 130 คน คือ ผู้นำชุมชน 2 คนปราชญ์ชาวบ้าน 6 คน อสม. 23 คน ผู้ปกครองเด็กอายุ 1 - 14 ปี 45 คน เด็กอายุ 1 - 14 ปี 54 คน ดำเนินการในเดือนมกราคม – มิถุนายน 2562 มี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ปัญหาผ่านเวทีประชาคม แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะที่ 2 วางแผนกิจกรรมแก้ไขปัญหา ระยะที่ 3 พัฒนาศักยภาพ อบรมให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของการเดินการใช้จักรยาน การใช้ถนนปลอดภัย ทีมพี่เลี้ยงปฏิบัติการดึงน้องออกจากจอ โดยพาเด็กปั่นจักรยาน ทำกิจกรรม (Walk Rally) ทุกวันเสาร์ (ใน 4 เดือน) ระยะที่ 4 ประเมินผลการดำเนินการ คืนข้อมูลและระดมสมองสะท้อนคิด หาแนวทางปรับปรุงต่อในวงรอบที่ 2 อีกครั้ง นำเสนอปัญหาแก่ผู้ร่วมวิจัยกลุ่มใหญ่ ร่วมกันประชุมระดมสมองสะท้อนคิด สรุปบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา สรุปประเด็นหลัก ผู้ร่วมวิจัยทั้งหมดได้รับการยืนยันและยินดีให้ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่ และคำนวณค่าร้อยละ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง