ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด ในโรงพยาบาลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ศิริวรรณ ช่วยรักษา ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจทำให้มารดาเสียชีวิตได้ จากการให้บริการงานที่ห้องคลอด ในปีงบประมาณ 2555 พบมารดาตกเลือดหลังคลอด 2 ราย คิดเป็น 0.91 % ปีงบประมาณ 2556 พบ 1 ราย คิดเป็น 0.90 % ปีงบประมาณ 2557 ไม่พบอุบัติการณ์ และปีงบประมาณ 2558 พบ 2 ราย คิดเป็น 1.38 % จากการวิเคราะห์สาเหตุพบว่า เกิดจากมารดาครรภ์หลัง ทารกตัวใหญ่ Uterine Atony และ Tear Cervix ตามลำดับ ภาวะตกเลือดหลังคลอดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการหาแนวทางในการดูแลผู้คลอดให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนจากการตกเลือดหลังคลอดและเป็นการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ทางหน่วยงานห้องคลอดจึงได้มีการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพในด้านการให้บริการตามขั้นตอน  
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในห้องคลอด มีความรู้ความสามารถ ทักษะ ในการประเมินและการดูแลผู้คลอดในระหว่างรอคลอด ขณะคลอด และหลังคลอดให้ถูกต้องครบถ้วนตามแนวทางที่กำหนด เพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด และเพื่อป้องกันการร้องเรียนในการให้บริการ  
กลุ่มเป้าหมาย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่พยาบาลห้องคลอดโรงพยาบาลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ระว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 พฤษภาคม 2559  
เครื่องมือ : แนวปฏิบัติ (CPG) การดูแลมารดาขณะรอคลอด ขณะคลอดและหลังคลอด แบบประเมินการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานทุกคน เ แบบบันทึกรายงานผู้คลอดตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ใบรายงานความเสี่ยง  
ขั้นตอนการดำเนินการ : จัดประชุมวิชาการให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานที่ห้องคลอด เรื่องการเฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด การดูแลมารดาตกเลือดหลังคลอด จัดทำแนวปฏิบัติ (CPG) การดูแลมารดาขณะรอคลอด ขณะคลอดและหลังคลอด แจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานทราบเพื่อปฏิบัติให้เป็นแนวทางเดียวกัน ทบทวน case กรณีมีปัญหา โดยมีทีมสหวิชาชีพ ร่วมกันทบทวนและหาแนวทางแก้ไขปัญหาเมื่อพบอุบัติการณ์ ประเมินการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานทุกคน เพื่อวัดความถูกต้องทุกคน และมีการบันทึกรายงานผู้คลอดตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบตรวจสอบการปฏิบัติเพื่อเป็นการป้องกันการตกเลือดหลังคลอด, ทะเบียนผู้คลอด, เวชระเบียน และใบรายงานความเสี่ยง  
     
ผลการศึกษา : จากการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาคุณภาพของหน่วยงานห้องคลอด ในการแก้ไขปัญหาการตกเลือดหลังคลอดและการเก็บข้อมูลผู้คลอด ได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดทุกราย ร้อยละ 100 อัตราการเกิดการตกเลือดหลังคลอดลดลงและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ทางหน่วยงานยังคงต้องดำเนินการพัฒนาคุณภาพ ดังต่อไปนี้ คือ ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ เฝ้าระวังภาวะตกเลือดที่อาจเกิดขึ้น มีการประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ ความสำคัญของโครงการ การทำการศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลและนำมาพัฒนาเป็นแนวทางใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหา นำแนวทางปฏิบัติเผยแพร่ไปยังผู้ปฏิบัติ ได้แก่ การทำ CPG PPH และแนวทางการดูแลมารดาขณะรอคลอด ขณะคลอดและหลังคลอดมาใช้ประเมินเมื่อรับใหม่และการดูแลการคลอดในระยะต่างๆ เน้นการตรวจสอบแผลฝีเย็บเพื่อดูการฉีดขาดของแผล ใช้วิธีการใหม่ๆ เช่น ให้ยา syntocinon 10 iu ฉีดเข้ากล้ามเนื้อทันทีที่ไหล่บนคลอดทุกรายที่ไม่มีข้อบ่งชี้ และปรับปรุงกระบวนการดูแลมารดาหลังคลอด 2 ชั่วโมงมากขึ้น หลังจากนั้นวางแผนในการเก็บรวมรวมข้อมูลร่วมกับการกำหนดตัวชี้วัดที่ยอมรับได้ ทำตามการตรวจสอบตามวิธีที่ปฏิบัติ ทำการเก็บวิเคราะห์ข้อมูล 1 เดือน สรุปในการประชุมเพื่อการทบทวน แก้ไขสิ่งที่บกพร่อง หลังจากมีการพัฒนางานดังกล่าวไม่พบว่ามีการร้องเรียนใดๆ สรุป: จากการปฏิบัติตามแนวทางเพื่อป้องการตกเลือดหลังคลอดแนวทางการดูแลมารดาขณะรอคลอด ขณะคลอดและหลังคลอดและการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้คลอดได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดทุกราย อัตราการเกิด การตกเลือดหลังคลอดลดลง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย  
ข้อเสนอแนะ : 1. ควรกำหนดให้มีการชี้แจงนโยบายให้ความสำคัญเรื่องการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน และเกณฑ์การตรวจประเมินและการให้คะแนนคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนในการปฐมนิเทศพยาบาลที่เป็นเจ้าหน้าที่ใหม่ 2. ควรมีการศึกษาพัฒนาการบัการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพของการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)