ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : รูปแบบการป้องกันฟันผุของนักเรียนประถมศึกษาตำบลกมลาไสย
ผู้แต่ง : อุธาทิพย์ นักธรรม, ดาวรุ่ง ดอนสมจิตร ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : จากการสำรวจสภาวะช่องปากของเด็กประถมศึกษาเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลข้าวหลาม จำนวน 5 แห่ง พบว่า มีอัตราการเกิดโรคฟันผุ ร้อยละ 54.6 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ อุด ถอน เป็น 2.8 ซี่ต่อคน ซึ่งมีค่าสูงกว่าทั้งระดับประเทศ1 หากไม่มีการส่งเสริมและป้องกันในทางที่ถูกต้องทำให้เกิดปัญหามากยิ่งขึ้นในอนาคต เนื่องจากโรคฟันผุสามารถป้องกันได้หากมีความรู้ ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการดูแลที่ถูกต้องเหมาะสมของภาคีเครือข่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการป้องกันฟันผุในเด็กประถมศึกษา2  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษารูปแบบการป้องกันฟันผุของนักเรียนประถมศึกษาตำบลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเป้าหมายเลือกแบบเจาะจง 94 คนประกอบด้วย ผู้ปกครองเด็ก 50 คน ครู 10 คน จนท.รพ.สต. 2 คน ผู้นำชุมชน 10 คน อสม.10 คน ตัวแทนร้านค้าในชุมชน 10 คน ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 คน  
เครื่องมือ : เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดย แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม แนวทางการสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลเชิงปริมาณใช้ แบบบันทึกการตรวจสุขภาพช่องปากสำหรับนักเรียนประถมศึกษาโดยผู้ปกครอง และ แบบบันทึกการตรวจสุขภาพช่องปากสำหรับนักเรียนประถมศึกษาโดยครูประจำชั้น  
ขั้นตอนการดำเนินการ : มี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์สภาพปัญหา ฟันผุในนักเรียนประถมศึกษา 5 แห่ง ระยะที่ 2 วางแผนแก้ไขปัญหา โดยการเสวนากลุ่มย่อย สะท้อนคิด เพื่อสร้างความตระหนักในการร่วมกันแก้ไขปัญหา ระยะที่ 3 ดำเนินการ 1) จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันฟันผุแก่ นักเรียน ผู้ปกครอง ครู อสม ผู้นำชุมชน 2) การจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันเพื่อป้องกันฟันผุ 3) การตั้งกติกาชุมชนที่เอื้อต่อการมีสุขภาพฟันดี 4) มอบรางวัลเชิดชูเกียรติแก่นักเรียนฟันดีไม่ผุ/โรงเรียนต้นแบบส่งเสริมทันตสุขภาพ ระยะที่ 4 ประเมินผลการดำเนินการ ติดตามสร้างแรงจูงใจ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสะท้อนผลการดำเนินงานให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หาแนวทางปฏิบัติที่ต่อเนื่องและยั่งยืน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลเชิงปริมาณใช้ 1) แบบบันทึกการตรวจสุขภาพช่องปากสำหรับนักเรียนประถมศึกษาโดยผู้ปกครอง 2) แบบบันทึกการตรวจสุขภาพช่องปากสำหรับนักเรียนประถมศึกษาโดยครูประจำชั้น วิเคราะห์เชิงคุณภาพ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตรวจสอบความน่าเชื่อถือแบบสามเส้า เชิงปริมาณ เป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง