ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในสุขศาลาบ้านหัวขวา หมู่ที่ 12 ตำบลหลักเมือง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ยุภักดิ์ บอนคำ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : ในปัจจุบันปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญคือปัญหาผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ และโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง นับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งโรคเรื้อรังดังกล่าว โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ มีการประมาณการทางสถิติว่า ทั่วโลกมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานประมาณ 125 ล้านคน และมีอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยทุกปี และในการศึกษาสถานการณ์และธรรมชาติวิทยาของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากร พบว่าภาพรวมของประเทศ พบประชากรไทยมีแนวโน้มการตายและป่วยจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มสูงขึ้นใน 13 ปีขึ้นไป มากกว่าหนึ่งล้านเก้าแสนคน และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของความชุกและจำนวนผู้เป็นเบาหวานสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังพบว่า เมื่ออายุสูงขึ้น มีโอกาสเป็นเบาหวานได้ง่าย เมื่อเป็นโรคเบาหวานระยะเวลาหนึ่งแล้วจะเกิดโรคแทรกซ้อนทาง ตา ไต หัวใจ ระบบประสาท แผลเรื้อรัง เป็นต้น จากการสำรวจสภาวะสุขภาพคนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พบว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีอัตราความชุกโรคเบาหวาน ร้อยละ 6.9 หรือประมาณ 3.46 ล้านคน ซึ่งรัฐต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายของโรคนี้ปีละ 126,859 ล้านบาท (โสภณ เมฆธน. ออนไลน์ ,1 มีนาคม 2555) และจากการดำเนินการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ตั้งแต่พ.ศ. 2552 -2554 จำนวน 22.2 ล้านคน ผลการตรวจในปี 2554 พบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่กว่า 300,000 คน คิดเป็นร้อยละ 17 และพบผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินปกติ มีความเสี่ยงที่จะป่วยอีก 2.4 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 11 (โสภณ เมฆธน. ออนไลน์ ,1 มีนาคม 2555) สำหรับสถานการณ์โรคเบาหวานของจังหวัดกาฬสินธุ์ จากการรายงานการเฝ้าระวังโรคเรื้อรัง ตั้งแต่ปี 2551 – 2555 พบอัตราป่วยโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้น 5 เท่า ดังนี้ 1,053.06 1,072.93 1,202.20 4,403.52 และ 5,531.07 ต่อแสนประชากร ส่วนมากพบในเพศหญิง ร้อย ละ 67.97 ช่วงอายุระหว่าง 60 – 69 ปี ร้อยละ 44.44 รองลงมา 70 – 79 ปี ร้อยละ 29.41 (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์, 2555) จากผลการดำเนินงานรักษาพยาบาลและคัดกรองค้นหาผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบึง เขตโดยเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอกมลาไสย ได้จัดทำโครงการ ส่งเสริมสุขภาพ โดยให้บริการตรวจคัดกรอง เพื่อค้นหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเบื้องต้น พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่และผู้มีภาวะเสี่ยงสูงจำนวนมาก และปัจจุบันแม้ว่าการรักษาโรคเบาหวานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะดีขึ้น กล่าวคือ มีแพทย์ออกให้บริการตรวจรักษาถึงในระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แต่ระบบการติดตามดูแลฟื้นฟู การให้ความรู้ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกาย จิต และสังคม ภายหลังการรักษา ก็ยังมีระบบที่ไม่ดีเพียงพอ ทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังดังกล่าวมีภาวะแทรกซ้อน เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบึง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดให้บริการผู้ป่วยเบาวานในสุขศาลาบ้านหัวขวาหมู่ที่ 12 ตำบลหลักเมือง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองในด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากโรคเบาหวานได้  
วัตถุประสงค์ : เพื่อจัดรูปแบบในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในสุขศาลาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้มีคุณภาพมาตรฐาน  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบในสุขศาลาบ้านหัวขวาหมู่ 12 ตำบลหลักเมือง จำนวน 39 คน  
เครื่องมือ : แบบสัมภาษณ์ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัวขอผู้ป่วยโรคเบาวานในชุมชน แบบสัมภาษณ์การจัดบริการและความพึงพอใจในการรับบริการของผู้ป่วยเบาหวาน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นที่ 1 เลือกโครงการและตั้งหัวข้อศึกษา ขั้นที่ 2 ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 3 กำหนดปัญหา เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการประเมิน ขั้นที่ 4 ออกแบบ วางแผนศึกษาประเมิน ขั้นที่ 5 เก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลและแปรผล ขั้นที่ 7 การเสนอรายงานการศึกษาเชิงประเมินผล  
     
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ในการดูแลตนเองในระดับดี ร้อยละ 82.05 ผู้ป่วยเบาหวานมีทัศนคติที่ต่อโรคโรคเบาหวาน ระดับปานกลาง 74.35 ผู้ป่วยเบาหวานมีการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมโรคเบาหวสน ในระดับดี ร้อยละ 87.17 จากการประเมินเกี่ยวกับการปฏิบัติ ซึ่งมีคะแนนเต็ม 20 คะแนน พบว่า กลุ่มประชากร มีคะแนนเฉลี่ย คือ 13.26 คะแนนต่ำสุดคือ 3 คะแนน มีจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.51 คะแนนสูงสุดคือ 20 คะแนน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 12.82 ผู้ป่วยเบาวานมีความมั่นใจมาตรฐานในการจัดให้บริการที่สุขศาลาระดับปานดี 71.79 ร้อยละ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความพึงพอใจในการรับบริการในระดับ ดี ร้อยละ 85  
ข้อเสนอแนะ : 1. มีการจัดกลุ่มสำหรับการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน ได้ความเหมาะสมตามลำดับความสำคัญก่อนหลัง เช่น มุ่งเน้นในกลุ่มที่มีระดับภาวะแทรกซ้อน ควรได้รับการเยี่ยมบ้าน มีการให้ความรู้และฝึกทักษะแก่ผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานและติดตามให้การดูแลอย่างต่อเนื่อง 2. มีการศึกษารูปแบบการให้การดูแลผู้ป่วยเบาหาวานที่มีภาวะแทรกซ้อนในชุมชน  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)