|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : เรื่องเล่า |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การเฝ้าระวังและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุงเก่า อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
ลัดดาวัลย์ ศรไชย ผู้ร่วมศึกษา : อรสา ปักเขมายัง |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
การติดเชื้อในโรงพยาบาลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คือ การติดเชื้อซึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อหรือพิษของเชื้อ ขณะรับการรักษาในโรงพยาบาลตำบลโดยที่ผู้ป่วยไม่มีการติดเชื้อนั้นมาก่อน หรือการติดเชื้อนั้นไม่อยู่ในระยะฟักตัวของโรค และผู้ป่วยส่วนใหญ่มารับการรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่ ๔๘ ชั่วโมงขึ้นไป นอกจากนั้น หากผู้ป่วยมีการติดเชื้อชนิดเดิมในตำแหน่งใหม่ขณะรักษาในโรงพยาบาล หรือมีการติดเชื้อที่ตำแหน่งเดิมจากเชื้อตัวใหม่โดยปรากฏอาการ อาการแสดง และผลการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการที่ชี้ว่าการติดเชื้อครั้งก่อนหน้านั้นหายแล้วถือว่าเป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลครั้งใหม่ ซึ่งการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ มีวัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย บุคลากรและญาติผู้ป่วย รวมทั้งการลดการปนเปื้อนของสิ่งแวดล้อม บุคลากรในทีมสุขภาพทุกคนมีส่วนเกี่ยวข้องในการลดการติดเชื้อ โดยต้องพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงมาตรฐานหรือคุณภาพของการดูแลรักษาผู้ป่วยและยังเป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลด้วยอย่างหนึ่ง การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล จัดเป็นกิจกรรมสำคัญที่สามารถลดอุบัติการณ์ของการติดเชื้อในโรงพยาบาล และลดความสูญเสียของผู้ป่วยจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล รวมทั้งช่วยลดงบประมาณค่าใช้จ่ายในด้านเวชภัณฑ์รายการยาต้านเชื้อที่ต้องใช้กับผู้ป่วยจากการที่มีการติดเชื้อและมีเชื้อดื้อยา ช่วยให้โรงพยาบาลประหยัดงบประมาณในทุกด้านของกระบวนการปฏิบัติงาน การดำเนินงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรในทุกระดับให้มีความตระหนักถึงความสำคัญของการติดเชื้อในโรงพยาบาลและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย บุคลากร และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตลอดจนการให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามนโยบายเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อและการติดเชื้อในโรงพยาบาลพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุงเก่า ตำบลกุงเก่าอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ทำการให้บริการรักษาพยาบาลโดยยึดหลักการปฏิบัติการควบคุมป้องกันการติดเชื้อที่ได้คุณภาพ แต่จากการวิเคราะห์ตนเองพบปัญหาในการดำเนินงานคือ สถานที่ การทำลายเชื้อในสถานบริการ ยังไม่เป็นสัดส่วน จำกัดด้วยอาคารสถานที่ อยู่ระหว่างการปรับปรุงอาคารโรงพักขยะ รวมถึงแหล่งชะล้างเครื่องมือ ยังขาดบ่อเกรอะ เนื่องจากหากมี น้ำท่วมถึง สิ่งปฏิกูลสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ และการจัดเก็บวัสดุเครื่องมือแพทย์ยังไม่ได้มาตรฐาน การนึ่งทำลายเชื้อเครื่องมือ ขาดเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพ เครื่องมือแพทย์บางส่วนมีคราบสนิมติดและที่สำคัญผู้ปฏิบัติยังไม่ปฏิบัติงานในทิศทางเดียวกัน
จากปัญหาในการควบคุมการติดเชื้อในสถานบริการที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ทั้งด้านสถานที่ การทำลายเชื้อยังไม่เป็นสัดส่วน การจัดเก็บ การล้างเครื่องมือยังไม่ได้มาตรฐาน การนึ่งทำลายเชื้อ ขาดเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพ รวมถึงความรู้ของบุคคลากรที่ยังไม่ตรงกัน ทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุงเก่า ตำบลกุงเก่า อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้จัดทำระบบงานควบคุมการติดเชื้อในสถานบริการขึ้น โดยมีการพัฒนาความรู้แก่บุคลากร จัดทำคู่มือมาตรฐาน (CPG) การควบคุมการติดเชื้อ จัดระบบการรับ-ส่งเครื่องมือแพทย์เพื่อทำลายเชื้อ และส่งขยะติดเชื้อไปทำลาย เพื่อให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุงเก่า ตำบลกุดจิก อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ มีการเฝ้าระวังและควบคุมการติดเชื้อในสถานบริการที่ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อจัดทำระบบงานควบคุมการติดเชื้อในสถานบริการขึ้น โดยมีการพัฒนาความรู้แก่บุคลากร จัดทำคู่มือมาตรฐาน (CPG) การควบคุมการติดเชื้อ
เพื่อป้องกันการติดเอในผู้ป่วยจากการรับบริการหรือทำหัตถการต่างๆ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากเจ้าหน้าที่สู่ผู้ป่วย จากผู้ป่วยสู่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและสู่สิ่งแวดล้อม |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุงเก่า |
|
เครื่องมือ : |
คู่มือการเฝ้าระวังและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุงเก่า เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานเดี่ยวกันทุกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การดำเนินงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ดังนั้นจึงต้องอาศัยความร่วมมือและการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังจะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และพัฒนาคุณภาพบริการ รวมทั้งเป็นการสนองนโยบายทางด้านการสาธารณสุข ซึ่งในการ
การควบคุมป้องกันการติดเชื้อ ประกอบด้วย ๓ องค์ประกอบ คือ
๑. บุคลากรผู้รับผิดชอบการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คือ บุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกคน ซึ่งมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบดังนี้
๑.๑ ปฏิบัติการรักษาพยาบาล ให้ได้มาตรฐานที่กำหนดในคู่มือ
๑.๒ เข้ารับบริการฟื้นฟูวิชาการ เรื่องการควบคุมป้องกันการติดเชื้อ ปีละ ๑ ครั้ง จัดประชุมโดย รพช./รพท./รพศ.
๑.๓ ส่งต่อผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อที่เกินความสามารถในการดูแลของ รพสต.พบแพทย์ที่ รพช.เพื่อการรักษาและวินิจฉัย เป็นการติดเชื้อเกิดจากชุมชนหรือจากสถานพยาบาล
๑.๔ ติดตามเยี่ยมผู้ป่วย เพื่อการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง ให้แนะนำในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่ญาติ ตามหลักการควบคุมป้องกันการติดเอที่เหมาะสมกับโรค
๒. การเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประกอบด้วย
๒.๑ การเฝ้าระวังการติดเชื้อในผู้รับบริการ เป็นการติดเชื้อที่เป็นผลจากการได้รับเชื้อขณะรับการรักษาพยาบาลหรือทำหัตถการจาก รพสต. ซึ่งมีหลักการดังนี้
๒.๑.๑ ข้อมูลที่ใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาจากอาการและอาการแสดง (CLINICAL FINDING), ผลตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ
๒.๑.๒ การติดเชื้อนั้นต้องมีข้อบ่งชี้ เช่น ได้รับการทำกิจกรรมการพยาบาลหรือทำหัตถการจากโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เช่น การฉีดยา การเย็บแผลกึ่งสะอาด เป็นต้น
๒.๑.๓ การติดเชื้อที่ตำแหน่งเดิม โดยเชื้อตัวใหม่
๒.๑.๔ การติดเชื้อที่ตำแหน่งใหม่ ซึ่งไม่ได้เป็นผลจากการคุกคามหรือภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อที่มีอยู่เดิม
๒.๒ การเฝ้าระวังการติดเชื้อในเจ้าหน้าที่
๒.๒.๑ มีการตรวจสุขภาพประจำปีเจ้าหน้าที่ทุกคน ปีละ ๑ ครั้ง ในช่วงเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน
๒.๒.๒ รวบรวม วิเคราะห์ แปลผล สภาวะสุขภาพของเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
๒.๒.๓ ค้นหาเจ้าหน้าที่ที่เจ็บป่วย หรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการปฏิบัติงานและให้ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม
๒.๒.๔ กำหนดการใช้อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมและการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอุบัติเหตุเข็มหรือของมีคมเปื้อนเลือดทิ่มตำระหว่างการรักษาพยาบาลผู้ป่วย
๓. การเฝ้าระวังการปนเปื้อนเชื้อในอุปการณ์ เครื่องมือ น้ำยา และสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
๓.๑ การคัดกรองผู้ป่วยและจัดแยกพื้นที่บริการผู้ป่วยกลุ่มโรคแพร่กระจายเชื้อระบบทางเดินหายใจ และสัมผัส มีการแยกอุปกรณ์เครื่องมือบริการที่เพียงพอ พร้อมใช้
๓.๒ ตรวจสอบคุณภาพการทำให้เครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ ผลตรวจ Spore test เครื่องนึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐานทุกรอบของการนึ่งเครื่องมือ
๓.๓ ตรวจสอบคุณภาพระบบการจัดการชุดเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ น้ำยาฆ่าเชื้อและสารน้ำที่ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานและการนำไปใช้กับผู้รับบริการที่ถูกต้องเหมาะสม
๓.๔ มีระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ผ้าเปื้อนติดเชื้อ และน้ำเสียที่ระบายสู่ชุมชนที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์ติดตามประเมินคุณภาพการพยาบาลโดย ICN./ทีมกรรมการIC.ของโรงพยาบาลปีละ ๒ ครั้ง/ปี
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|