|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การจัดอัตรากำลังทางการพยาบาลโรงพยาบาลสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2561 |
ผู้แต่ง : |
นัยนา กล้าขยัน |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรงพยาบาลสหัสขันธ์ เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิระดับ F2 (กระทรวงสาธารณสุข, 2555) ให้บริการสุขภาพแก่ผู้ป่วยภายในอำเภอสหัสขันธ์และอำเภอใกล้เคียง กลุ่มการพยาบาลมีการกระจายอัตรากำลังบุคลากรพยาบาลโดยการวิเคราะห์ภาระงาน ตามการจำแนกประเภทผู้ป่วยและแนวทางการจัดอัตรากำลังทางการพยาบาลของสำนักการพยาบาล (กองการพยาบาล, 2545) โดยมีการนำมาปรับใช้เครื่องมือการจำแนกผู้ป่วยตามบริบทของโรงพยาบาลสหัสขันธ์ โดยการทบทวนปัญหาการจำแนกประเภทผู้ป่วย นำเกณฑ์การจำแนกประเภทผู้ป่วยของสำนักการพยาบาลที่ประกอบด้วย 2 เกณฑ์ใหญ่คือ สภาวะความเจ็บป่วย และความต้องการการดูแลขั้นต่ำที่ควรได้รับ โดยใช้การจำแนกผู้ป่วยในเป็น 4 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 ผู้ป่วยอยู่ในขั้นอันตราย ประเภทที่ 2 ผู้ป่วยกึ่งอันตราย ประเภทที่ 3 ผู้ป่วยอยู่ในภาวะเจ็บป่วยแต่ไม่รุนแรง และประเภทที่ 4 ผู้ใช้บริการระยะพักฟื้น และจำแนกผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินเป็น 4 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 ผู้ป่วยฉุกเฉินมาก ประเภทที่ 2 ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน ประเภทที่ 3 ผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน และประเภทที่ 4 จำแนกผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินเป็น 4 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 ผู้ป่วยฉุกเฉินมาก ประเภทที่ 2 ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน ประเภทที่ 3 ผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน และประเภทที่ 4 กลุ่มที่ไม่มีภาวะเจ็บป่วยไม่เร่งด่วนได้แก่ผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องตรวจรักษาที่ห้องฉุกเฉิน ต้องการเพียงคำแนะนำ หรือช่วยเหลือประคับประคอง และการนัดให้มาตรวจในหน่วยผู้ป่วยนอกทั่วไป หรือคลินิกเฉพาะทางได้ในภายหลัง
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการจัดอัตรากำลังบุคลากรพยาบาลที่เป็นอยู่จริงและเปรียบเทียบกับการจัดอัตรากำลังตามจำแนกประเภทผู้ป่วยในงานผู้ป่วยใน และงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสหัสขันธ์ โดยใช้เกณฑ์การจำแนกประเภทผู้ป่วยที่พัฒนาโดยกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสหัสขันธ์ ตามเกณฑ์สำนักการพยาบาล (2545) โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 4 ประเภท ซึ่งประเมินสภาวะความเจ็บป่วยและความต้องการการดูแลขั้นต่ำที่ควรได้รับ
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. ศึกษาการจัดอัตรากำลังบุคลากรพยาบาลในโรงพยาบาลสหัสขันธ์ในปัจจุบัน
ในด้านการกระจายอัตรากำลังบุคลากรพยาบาล
2. ศึกษาการจัดอัตรากำลังบุคลากรพยาบาลในโรงพยาบาลสหัสขันธ์ตามการจำแนกประเภทผู้ป่วย
3. เปรียบเทียบการจัดอัตรากำลังบุคลากรพยาบาลในโรงพยาบาลสหัสขันธ์ในปัจจุบันกับการจัดอัตรากำลังบุคลากรพยาบาลตามการจำแนกประเภทผู้ป่วยในด้าน
3.1 อัตรากำลังบุคลากรพยาบาลที่มีอยู่จริงกับอัตรากำลังที่ควรจะมีตามการจำแนกประเภทผู้ป่วย
3.2 อัตราความเพียงพอต่อภาระงาน
3.3 ผลผลิตทางการพยาบาล
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสหัสขันธ์ |
|
เครื่องมือ : |
เครื่องมือการจำแนกประเภทผู้ป่วยกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลสหัสขันธ์ พัฒนาโดยกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลสหัสขันธ์ตามแนวทางของ สำนักการพยาบาล (2545) แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 4 ประเภท ซึ่งจัดกลุ่มผู้ป่วยตามระดับความเจ็บป่วยและความต้องการการพยาบาลจากน้อยที่สุดจนถึงความต้องการการพยาบาลที่มากที่สุดโดยพิจารณาจากสภาวะความเจ็บป่วยและความต้องการการดูแลขั้นต่ำที่ควรได้รับ นำมาปรับคำอธิบายและตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) และจำแนกโรค อาการ ที่มารับบริการ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ขั้นเตรียมการ
ดำเนินการจัดทำเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งการจำแนกประเภทผู้ป่วย และเครื่องมือการเก็บข้อมูลจำนวนผู้ป่วยในแต่ละประเภท
2. ขั้นดำเนินการ
ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลการจำแนกประเภทผู้ป่วย โดยใช้แบบบันทึกประเภทผู้ป่วย ในงานผู้ป่วยใน และงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสหัสขันธ์ในปีงบประมาณ 2560 |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|