|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ขยะคุณธรรม นำสุขภาพดี วิถีพอเพียง บ้านดงลิง หมู่ที่ ๑๑ ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
บัวแก้ว โมฆรัตน์ |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ปัญหาสิ่งด้านแวดล้อมที่มีความสำคัญ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากเพียงใด ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว ปัญหาขยะ แลการใช้สารเคมีในการเกษตรนับเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สำคัญส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างมากมาย นับเป็นตั้งแต่ระดับประเทศ จนถึงระดับชุมชน
บ้านดงลิงหมู่ที่ ๑๑ ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นชุมชนชนบทที่มีอาชีพการเกษตร ทำนาเป็นหลัก มีการรวมกลุ่มเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยการนำข้าวที่ผลิตโดยกลุ่มมากองรวมกันที่ลานวัด คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว นวดข้าวร่วมกัน และเกิดมีฟางในปริมาณที่มาก ในส่วนการจัดการขยะในครัวเรือน ไม่ถูกต้องเหมาะสม ไม่มีการแยกขยะ ขยะจากซากพืช ใบไม้ ที่สามารถย่อยสลายได้ ก็ไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์ กำจัดโดยการเผาบ้าง สร้างมลพิษต่อชุมชน ทิ้งรวมกับขยะทั่วไปบ้างทำให้ปริมาณขยะชุมชนเพิ่มขึ้น เพิ่มค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลเจ้าท่า
ด้านการใช้สารเคมีในการเกษตร ก่อนปี ๒๕๕๖ ชุมชนดงลิงมีการทำนาปีละ ๒ ครั้ง ทำนาหว่านมีการใช้ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าหอย ๑๔๒ หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ใช้ปุ๋ยเคมีในการทำนา จำนวน ๑๔๒ หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชนมีปัญหาการป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ แพ้น้ำ แพ้สารเคมี และโรคระบบทางเดินหายใจ และจากการตรวจสารเคมีในเลือดเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ปี ๒๕๕๗ มีความเสี่ยง ร้อยละ 32.36 ไม่ปลอดภัย ร้อยละ 28.73 ปี ๒๕๕๘ มีความเสี่ยง ร้อยละ 31.30 ไม่ปลอดภัย ร้อยละ 16.03
จุดแข็งของชุมชนบ้านดงลิง เป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ธ.ก.ส. มีการรวมกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว กลุ่มข้าวคุณธรรม โรงเรียนชาวนา โฮมเสตย์ มีความเข้มแข็งของการบริหารจัดการโดยชุมชน และมีหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายที่สนับสนุนอย่างเข้มแข็ง แต่การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ยังต้องนำเข้าจากที่อื่น จึงมีแนวคิดที่จะบริหารจัดการขยะในชุมชนนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์เหมาะสมกับบริบทชุมชน โดยการนำขยะที่สมารถย่อยสลายได้มาบริหารจัดการในรูปแบบธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ บริหารจัดการโดยชุมชน นำไปใช้ประโยชน์กับคนในชุมชน และส่งผลที่ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
|
|
วัตถุประสงค์ : |
๑.เพื่อสร้างระบบการจัดการขยะชุมชน ลดปริมาณขยะ นำขยะมาใช้ประโยชน์
๒.เพื่อลดการใช้สารเคมีในชุมชน
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ตัวแทนครัวเรือน บ้านดงลิงหมู่ที่ ๑๑ ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน ๑๔๒ คน |
|
เครื่องมือ : |
แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบเก็บข้อมูลปริมาณขยะ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
๑.ร่วมวิเคราะห์ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพของชุมชน
๒.คืนข้อมูลให้ประชาชาชนในชุมชนรับทราบและหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน
๓.จัดทำแนวทางการจัดการขยะชุมชนของบ้านดงลิง ดังนี้
๓.๑ การจัดการขยะครัวเรือน โดยอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะ สร้างกติกาชุมชน
๓.๒ การจัดการขยะที่ย่อยสลายได้ ในรูปแบบธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ
๔.สรุปผลการดำเนินงานโครงการ คืนข้อมูลชุมชน |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
-ปริมาณขยะในชุมชนดงลิง ลดลงเฉลี่ย ๓.๘ ตัน/เดือน
-จำนวนครัวเรือนของบ้านดงลิง ม.๑๑ ต.เจ้าท่า มีการใช้ปุ๋ยเคมีลดลง ปี ๒๕๕๗ , ๒๕๕๘ ,๒๕๕๙ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐ , ๖๙.๔๖,๔๐.๑๘ ตามลำดับ ใช้ปุ๋ยอิรทรีย์ น้ำหมักชีวภาพเพิ่มขึ้น ปี ๒๕๕๗ , ๒๕๕๘ ,๒๕๕๙ คิดเป็นร้อยละ ๓๕.๗๑,๖๒.๕๐,๘๕.๗๑ ตามลำดับ |
|
ข้อเสนอแนะ : |
๑.ขยายเครือข่าย/สมาชิก ธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ ทั้งในและนอกชุมชน
๒.พัฒนารูปแบบ แพ็คเกจปุ๋ยอินทรีย์เป็นปุ๋ยอัดเม็ด
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|