|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาคุณภาพระบบบำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาลยางตลาด |
ผู้แต่ง : |
น.ส.สุทธิณีย์ ทองโสม นักวิชาการสาธารณสุข |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ปัญหา : น้ำทิ้งของโรงพยาบาลไม่ผ่านมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคาร
ผลกระทบ :
• ความน่าเชื่อถือในระบบกำจัดของเสียของโรงพยาบาล
สาเหตุสำคัญ :
• ระบบบำบัดไม่ได้รับการบำรุงรักษาทำให้มีอุปกรณ์ชำรุด
• ขนาดของบ่อบำบัดไม่สัมพันธ์กับปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้น
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพ ค่าน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคาร ภายในปีงบประมาณ 2559 |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
|
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
• สร้างระบบบำบัดน้ำเสียที่สัมพันธ์กับปริมาณน้ำเสียที่โรงพยาบาล
• ออกแบบระบบบำบัดที่สามารถยืดระยะเวลาตกตะกอนเพื่อให้ได้น้ำที่ใสมากขึ้นช่วยลดค่า Settleable Solids
• เพิ่มบ่อเติมคลอรีนที่จุดสุดท้ายก่อนปล่อยออกนอกโรงพยาบาลเพื่อเพิ่มความมั่นใจในเรื่องการป้องกันการแพร่เชื้อสู่ชุมชน
• มีมาตรการลดการทิ้งน้ำยาฆ่าเชื้อลงในระบบบำบัดน้ำเสีย
• คัดแยกและส่งขยะกำจัดอย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้เศษขยะหรือวัสดุต่าง ๆ ลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย
• ติดตั้งถังดักไขมันที่จุดต่างๆ ดังนี้ โรงครัว, ใต้อ่างล้างมือตึกชาย-ตึกเด็กและตึกหญิง เพื่อลดค่า Oil & Grease
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
พารามิเตอร์ที่ทดสอบ หน่วย ผลการทดสอบ* มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง
ความเป็นกรดด่าง pH pH at 25 c 7.5 5 - 9
สารที่ละลายได้ทั้งหมด Total Dissolved Solid มก./ล. 510 ไม่เกิน 500
สารแขวนลอย Suspended Solids มก./ล. 28.16 ไม่เกิน 30
ตะกอนหนัก Settleable Solids มก./ล. <0.5 ไม่เกิน 0.5
บีโอดี BOD มก./ล. 23 ไม่เกิน 20
น้ำมันและไขมัน Oil & Grease มก./ล. 7.2 ไม่เกิน 20
ปริมาณไนโตรเจน TKN มก./ล. 37 ไม่เกิน 35
ซัลไฟด์ Sulfide มก./ล. 0.8 ไม่เกิน 1.0
ซีโอดี COD มก./ล. 106 ไม่เกิน 120
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
• ต้องมีบ่อบำบัดที่ได้มาตรฐาน
• ควรมีผู้รับผิดชอบที่มีองค์ความรู้
• มีการควบคุมกำกับติดตามอย่างสม่ำเสมอตามเกณฑ์มาตรฐาน
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|