ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : พัฒนาการบันทึกการคัดกรองประเภทผู้ป่วยหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
ผู้แต่ง : ระดาวัลย์ แก้วกิ่ง,ขนิษฐา ไชยทองศรี ,วานิช ศรีสุข ,จารุวรรณ คงอาจ,ดวงพร วิชัยโย,กนกพร โชคดีทวีทรัพย์, สุนันท์ เพ็งโสภา,เกตน์สิรี วิชัยโย ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินเป็นหน่วยงานที่ให้บริการทั้ง 24 ชั่วโมงมีผู้รับบริการทุกระดับความรุนแรงทั้งฉุกเฉินและไม่ฉุกเฉิน โดยเฉพาะการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการเฉียบพลัน และอยู่ในภาวะฉุกเฉินทั้งจากอุบัติเหตุ หรือการเจ็บป่วย ซึ่งต้องการการช่วยเหลือที่เร่งด่วน รวดเร็ว ถูกต้อง ทันเวลา และปลอดภัยตลอด ดังนั้นการใช้เกณฑ์การคัดกรองผู้ป่วยจึงมีความจำเป็นเพื่อจัดลำดับการดูแลที่เหมาะสมและเจ้าหน้าที่จะต้องสามารถใช้เกณฑ์การจำแนกได้ถูกต้อง เพื่อป้องกันการคัดกรองที่ผิดพลาดและล่าช้าทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการแก้ไขภาวะวิกฤติได้อย่างถูกต้องและทันท่วงทีเดิม ตามแนวทางการคัดกรอง แบ่งเป็น 5 ระดับตามวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน 2554 ดังนี้ resuscitation (สีแดง) emergent (สีชมพู) urgent (สีเหลือง) semi-urgent (สีเขียว)และnon-urgent (สีขาว) จากผลการสุ่มตรวจเวชระเบียนพบการบันทึกข้อมูลระดับความเร่งด่วนในโปรแกรมHos-xpถูกต้อง ในเดือน ตุลาคม 2561 คิดเป็นร้อยละ 34.78 และเดือนพฤศจิกายน 2561 คิดเป็นร้อยละ 44.80 เพื่อความถูกต้องของข้อมูลจึงมีการพัฒนาการบันทึกการคัดกรองประเภทผู้ป่วยของหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาการบันทึกข้อมูลระดับความเร่งด่วนในโปรแกรม Hos-xp ถูกต้อง  
กลุ่มเป้าหมาย : พยาบาลห้องฉุกเฉินทุกคน โรงพยาบาล้วยผึ้ง  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาของการจำแนกประเภทผู้ป่วยและการบันทึก โดยการพูดคุย ซักถามจากพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และจากการนิเทศทางการพยาบาล เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาเครื่องมือจำแนกประเภทผู้ป่วย 2. ทบทวน Evidence Base Practice, งานวิจัย และ เอกสารที่เกี่ยวข้องในเรื่องการพัฒนาประสิทธิภาพ เครื่องมือจำแนกประเภทผู้ป่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และนำมาปรับให้เหมาะสมกับโรงพยาบาล 3. จัดทำแนวทางการคัดกรองประเภทผู้ป่วย เป็น 5 ประเภท โดยแบ่งระดับความรุนแรง ตามวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน 2554 ได้แก่ 1.Resuscitation (สีแดง) 2. Emergency (สีชมพู) 3. Urgent (สีเหลือง) 4. Semi – Urgent (สีเขียว) 5. Non-urgent (สีขาว) 4. จัดประชุมสื่อสารแนวทางการจำแนกประเภทผู้ป่วย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างปฏิบัติงานและรับ-ส่งเวร 5. จัดระบบการนิเทศติดตามผลการจำแนกประเภทผู้ป่วยโดยหัวหน้างาน หัวหน้าเวร 6. นิเทศติดตามและสะท้อนข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน 7. ปรับปรุงการดำเนินงาน 8. สรุปผลการดำเนินงาน  
     
ผลการศึกษา : - ร้อยละการบันทึกข้อมูลระดับความเร่งด่วนถูกต้อง เป้าหมาย ร้อยละ 80 ผลการดำเนินงาน : , มี แนวทางการคัดกรองประเภทผู้ป่วย ตัวชี้วัด เป้าหมาย ธ.ค.61 ม.ค.62 ก.พ.62 มี.ค.62 เม.ย.62 พ.ค.62 1.จำนวนที่สุ่มตรวจเวชระเบียน - 204 214 155 222 204 243 2.จำนวนการบันทึกข้อมูลระดับความเร่งด่วนถูกต้อง - 118 134 92 140 139 170 2.ร้อยละการบันทึกข้อมูลระดับความเร่งด่วนถูกต้อง 80 57.84 62.62 59.36 63.06 68.14 69.96  
ข้อเสนอแนะ : จากการนำแนวทางการคัดกรองผู้ป่วยแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน มาใช้และมีการนิเทศติดตามประเมินผล พบว่าผลการคัดกรองผู้ป่วยมีความถูกต้อง ตามเป้าหมาย ร้อยละ 100 และการบันทึกข้อมูลระดับความเร่งด่วนในโปรแกรมHos-xp ถูกต้องมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งจากการประเมินพบว่าแนวทางปฏิบัติมีเนื้อหาค่อนข้างมากไม่สะดวกเวลาปฏิบัติงาน จึงมีการปรับปรุงแนวทางปฏิบัติโดยนำแนวทางการคัดกรองตาม MOPH-Triage และนิเทศ ติดตามต่อไป แผนที่จะดำเนินการต่อเนื่อง 1.แนวทางการคัดกรองตาม MOPH-Triage มาใช้เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน 2.การประเมินผลการคัดกรองผู้ป่วยเป็นรายบุคคล  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)