ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติดและการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้โทษ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : จุฑามาศ วิลาศรี ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติดและการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้โทษ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการบำบัดฟื้นฟูระดับอำเภอ 20 คน ภาคีเครือข่ายระดับตำบล/หมู่บ้าน ได้แก่ ผู้นำชุมชน 43 คน ผู้บำบัด(สาธารณสุข) 10 คน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 คน ผู้ติดตามบำบัด(อสม.) 47 คน รวมทั้งสิ้น 125 คน โดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1. ขั้นศึกษาบริบท/สภาพปัญหา/กำหนดรูปแบบ/กำหนดบทบาท ระยะที่ 2 ขั้นดำเนินการ ระยะที่ 3 ขั้นติดตามประเมินผลและถอดบทเรียนเครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย กระบวนการกลุ่ม การสังเกต แบบบันทึกการประชุม แบบบันทึกติดตามบำบัดฟื้นฟู การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา  
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติดและการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้โทษ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการบำบัดฟื้นฟูระดับอำเภอ 20 คน ภาคีเครือข่ายระดับตำบล/หมู่บ้าน ได้แก่ ผู้นำชุมชน 43 คน ผู้บำบัด(สาธารณสุข) 10 คน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 คน ผู้ติดตามบำบัด(อสม.) 47 คน รวมทั้งสิ้น 125 คน  
เครื่องมือ : กระบวนการกลุ่ม การสังเกต แบบบันทึกการประชุม แบบบันทึกติดตามบำบัดฟื้นฟู  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1. ขั้นศึกษาบริบท/สภาพปัญหา/กำหนดรูปแบบ/กำหนดบทบาท ระยะที่ 2 ขั้นดำเนินการ ระยะที่ 3 ขั้นติดตามประเมินผลและถอดบทเรียน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง