ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : วิเคราะห์ข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : กระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง ตำบลสำราญ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : รุ่งธรรม ม่วงจันทร์ ปี : 2563
     
หลักการและเหตุผล : ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม สามารถปลูกพืชได้ตลอดปีเนื่องจากตั้งอยู่เขตอบอุ่นสภาพอากาศโดยทั่วไปจึงเอื้อต่อการเจริญเติบโตและแพร่ระบาดของศัตรูพืชทำให้เกิดปัญหาด้านศัตรูพืชรุนแรงทำความเสียหายต่อผลผลิตได้มาก เกษตรกรจึงนิยมเพิ่มผลผลิตโดยการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากขึ้น จากข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2540 - 2553 มีการนำเข้าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชมากถึง 120,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 18,000 ล้านบาท โดยสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีการใช้มากที่สุด ได้แก่ สารกำจัดวัชพืช ร้อยละ 74 สารกำจัดแมลง ร้อยละ 14 สารป้องกันกำจัดโรคพืช ร้อยละ 9 และอื่นๆ ร้อยละ 3 เป็นต้น (สำนักระบาดวิทยา. 2556 : 689) ตำบลสำราญ อำเภอสามชัย ประชาชนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ อ้อย มันสำปะหลัง และ มะม่วง โดยเฉพาะมะม่วงเป็นพืชเศรษฐกิจที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 20,000 – 60,000 บาท ต่อไร่/ปี ซึ่งศัตรูพืชที่สำคัญของมะม่วงคือ เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น และด้วงต่างๆทำให้เกษตรกรมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลาย ทำให้เกษตรกรที่ฉีดพ่นสารเคมีอยู่ประจำ มีโอกาสได้รับสารเคมีเพิ่มจนเกิดการสะสมในร่างกาย และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งผู้ผลิตผู้ค้าขายและผู้บริโภค ดังนั้น ผู้วิจัย จึงสนใจที่จะศึกษาว่า การใช้กระบวนการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ผลิตผู้ค้าขายและผู้บริโภค เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงมีความรู้ ทัศนคติและลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้น เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา ในอนาคตต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาบริบทชุมชนของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง ตำบลสำราญ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง ตำบลสำราญ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรที่ทำการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกมะม่วงและใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 53 คน  
เครื่องมือ : กระบวนการกลุ่ม SWOT PDCA แบบสอบถาม แบ่งเป็น 4 ส่วน 1. ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร 2. ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เรื่องสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3. ข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติ เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 4. ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การวิจัยครั้งนี้ได้นำกระบวนการมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการ SWOT และกระบวนการ PDCA ในการดำเนินกระบวนการกลุ่ม เพื่อระดมสมองของผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อให้เกษตรผู้ปลุกมะม่วง ได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกๆฝ่าย เพื่อให้สามารถกำหนดรูปแบบและประยุกต์ใช้วิธีการในการลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อย่างเหมาะสม  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง