ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสภาวะฟันน้ำนมผุเพิ่มขึ้นของเด็ก 0-3 ปี ที่มารับบริการคลินิกเด็กดี โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นางสาวภัทราพร ศรีสุราช นักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : โรคฟันผุเป็นปัญหาสำคัญของสุขภาพช่องปากที่พบได้ในประชากรทุกเพศทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคฟันน้ำนมผุที่จะลุกลามถึงโพรงประสาทฟันได้รวดเร็วกว่าฟันแท้ เนื่องจากความหนาของเคลือบฟันและเนื้อฟันที่น้อยกว่า (สิทธิชัย ขุนทองแก้ว,2552) การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็กจำเป็นต้องอาศัยผู้ปกครองในการดูแลอย่างใกล้ชิด หากเด็กได้รับการดูแลไม่เหมาะสมก็จะส่งผลให้สุขภาพช่องปากของเด็กไม่ดีไปด้วย (ณัฐธิดา พันพะสุก,2560) จากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ.2560 พบว่า เด็ก 3 ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 52.9 และมีพฤติกรรมการแปรงฟันด้วยตนเอง ร้อยละ 44.1 ผู้ปกครองแปรงฟันให้ ร้อยละ 42.5 ดื่มนมเปรี้ยวหรือนมหวาน ร้อยละ 44.5 และดูดขวดนมร้อยละ 39.5 ในขณะที่ข้อมูลจาก health data center จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2560 พบว่า อำเภอเขาวง มี มีฟันน้ำนมผุของเด็ก 18 เดือน ร้อยละ 17.2 และเพิ่มขึ้นในเด็ก 3 ปีเป็นร้อยละ 27.7 แม้ว่าจะมีอัตราการเกิดฟันน้ำนมผุต่ำกว่าผลสำรวจระดับประเทศ แต่ก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นกว่าปี พ.ศ.2559 ที่พบว่า เด็ก 3 ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 16.7 กลุ่มงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลเขาวง มีการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็ก 0-3 ปี ที่มารับบริการในคลินิกเด็กดี สัปดาห์ละ 1 วัน โดยมีกิจกรรมการตรวจสุขภาพช่องปาก การทาฟลูออไรด์วานิช การให้คำแนะนำและฝึกแปรงฟันแก่ผู้ปกครองเด็ก แต่อัตราการเกิดฟันน้ำนมผุในเด็กก็ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ผู้รับผิดชอบงานจึงต้องการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสภาวะฟันน้ำนมผุเพิ่มขึ้นในเด็ก 0-3 ปี ที่มารับบริการคลินิกเด็กดีเพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของเด็กและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครองเด็ก 0-3 ปีที่มารับบริการคลินิกเด็กดี โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อศึกษาสภาวะช่องปากของเด็ก 0-3 ปีที่มารับบริการคลินิกเด็กดี โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะฟันน้ำนมผุเพิ่มขึ้นของเด็ก 0-3 ปี ที่มารับบริการคลินิกเด็กดี โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ปกครองเด็กและเด็ก 0-3 ปี  
เครื่องมือ : แบบบันทึกข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของเด็ก ข้อมูลพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครองเด็ก และข้อมูลสภาวะช่องปากของเด็ก  
ขั้นตอนการดำเนินการ : วิธีการศึกษา ประชากร คือ ผู้ปกครองเด็ก และเด็กที่มีอายุ 6 เดือนถึง 3 ปี ที่มารับบริการคลินิกเด็กดี โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้ทำการเลือกแบบเจาะจงจากประชากรที่กำหนด โดยมีเงื่อนไข คือ เด็กต้องได้รับการตรวจช่องปากอย่างน้อย 2 ครั้งในปี และมีฟันน้ำนมขึ้นอย่างน้อย 1 ซี่ การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบบันทึกข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของเด็ก ข้อมูลพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครองเด็ก และข้อมูลสภาวะช่องปากของเด็ก ระหว่างเดือนตุลาคม 2560 ถึง กันยายน 2561  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ