|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครองเด็ก 0-3 ปี ในคลินิกเด็กดี โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
นางสาวภัทราพร ศรีสุราช |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคฟันผุเป็นปัญหาสำคัญของสุขภาพช่องปากที่พบได้ในประชากรทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคฟันผุที่เกิดขึ้นในฟันน้ำนม ซึ่งจะลุกลามถึงโพรงประสาทฟันได้รวดเร็วกว่าฟันแท้ เนื่องจากความหนาของเคลือบฟันและเนื้อฟันที่น้อยกว่า1 อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของเด็ก เด็กที่มีปัญหาฟันผุจะมีอาการเครียดทางอารมณ์ หงุดหงิดง่าย มีความวิตกกังวล เสียบุคลิกภาพ และขาดความมั่นใจ ทั้งนี้การเกิดฟันผุในเด็กส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครอง เนื่องจากผู้ปกครองเป็นผู้ที่ดูแลเด็กได้อย่างใกล้ชิดที่สุด หากเด็กไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องและเหมาะสม ก็จะส่งผลให้สุขภาพช่องปากของเด็กไม่ดีไปด้วย2
จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 ปี 2560 พบว่าเด็ก 3 ปี มีอัตราการเกิดฟันน้ำนมผุร้อยละ 52.9 3 ในขณะที่ผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ในปี 2560 พบอัตราการเกิดฟันน้ำนมผุในเด็ก 3 ปีต่ำกว่าประเทศ คือ พบร้อยละ 27.7 แต่ก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับ ปี 2559 ที่พบฟันน้ำนมผุร้อยละ 16.7 ถึงแม้ว่าจะได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็ก 0-3 ปี ในคลินิกเด็กดี ทุกวันพฤหัสบดี ประกอบด้วย กิจกรรมตรวจสุภาพช่องปากเด็ก ให้คำแนะนำและฝึกทักษะการแปรงฟันให้แก่ผู้ปกครอง และการทาฟลูออไรด์วานิช แต่ปัญหาฟันน้ำนมผุในเด็ก 0-3 ปีก็ยังคงเพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้รับผิดชอบงานจึงต้องการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครองเด็กและกระตุ้นให้ผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กให้เหมาะสมมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพช่องปากที่ดีของเด็ก 0-3 ปีต่อไป
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครองเด็ก 0-3 ปี ที่มารับบริการคลินิกเด็กดี โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
2. เพื่อจัดกิจกรรมให้ผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กในแนวทางที่เหมาะสม
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ปกครองเด็ก |
|
เครื่องมือ : |
- |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. รับสมัครผู้ปกครองเด็ก 0-3 ปี จากคลินิกเด็กดี โรงพยาบาลเขาวง ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก โดยมีเงื่อนไข คือ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มได้ทุกเดือนๆละ 1 ครั้ง จำนวน 3 ครั้ง ตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2562
2. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แยกตามกลุ่มอายุของเด็กเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอายุ 9-12 เดือน กลุ่มอายุ 13 – 18 เดือน กลุ่มอายุ 19 – 24 เดือน และกลุ่มอายุ 25 -36 เดือน ในแต่ละครั้งจะมีกิจกรรมหลักดังนี้ คือ การฝึกทักษะการแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติจริงพร้อมย้อมคราบสีฟัน การตรวจความสะอาดช่องปากหลังแปรงฟัน การฝึกตรวจช่องปากเด็ก และการให้ผู้ปกครองร่วมกันเล่าประสบการณ์ของตนเองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กในประเด็นสำคัญ ได้แก่ พฤติกรรมการดื่มนม พฤติกรรมการดูดขวดนม พฤติกรรมการดูดนมมื้อดึก พฤติกรรมการกินขนม/ลูกอม และพฤติกรรมการแปรงฟัน โดยกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นทุกเดือนๆ ละ 1 ครั้ง จำนวนทั้งสิ้น 3 ครั้งในแต่ละกลุ่มอายุ
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
พบว่า ผู้ปกครองที่เป็นผู้ดูแลหลัก คือ แม่ และ ย่า/ยาย คิดเป็นร้อยละ 46.6 เท่ากัน ส่วนร้อยละ 6.7 มีผู้ดูแลหลัก คือ พ่อ จากการทำกิจกรรมกลุ่มครั้งแรก พบว่า เด็กส่วนใหญ่ร้อยละ 66.7 ไม่มีฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 30 ดื่มนมเปรี้ยวหรือนมหวาน ร้อยละ 76.7 ดูดขวดนม ร้อยละ 86.7 ดื่มนมมื้อดึก ร้อยละ 43.3 กินขนมหวาน/ลูกอม ร้อยละ 30 ผู้ปกครองไม่แปรงฟันให้เด็ก และร้อยละ 53.3 ผู้ปกครองแปรงฟันให้เด็กเฉพาะตอนเช้า |
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|