ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : พัฒนาการเก็บสิ่งส่งตรวจ
ผู้แต่ง : นางสาวสุดารัตน์ วรสาร , นางสาวกมลวิไล อัยวรรณ์ และทีม ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : การเก็บสิ่งส่งตรวจเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากขั้นตอนหนึ่งในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ถึงแม้ว่าจะมีเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ดี ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยหรือมีผู้ตรวจวิเคราะห์ที่เชียวชาญมากเพียงใดก็ตาม ถ้าเก็บสิ่งส่งตรวจไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ก็จะทำให้ห้องปฏิบัติการปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ อันเป็นสาเหตุให้ต้องเก็บซ้ำ ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และเสียเวลามากขึ้น รวมทั้งส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วยที่ต้องเก็บสิ่งส่งตรวจซ้ำ ส่งผลให้มีการรายงานล่าช้า หรือไม่รายงานเมื่อผลที่ตรวจได้มีความผิดปกติที่ต้องได้รับการแก้ไขทันที อาจทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาผิดพลาดและอาจเกิดอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้ จากการรวบรวมข้อมูลความผิดพลาดในการเก็บสิ่งส่งตรวจในปีงบประมาณ 2561 พบความผิดพลาดจากการเก็บสิ่งส่งตรวจ 48 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 1.02 %ซึ่งรายละเอียดความผิดพลาดที่พบได้แก่ 1. การเก็บ Specimen ไม่ถูกต้อง - การใส่ Tube ผิด / Hemolysis / Blood clot - ปริมาณ Specimen ไม่ได้มาตรฐาน ปริมาณมากหรือน้อยเกินไป - ไม่ติดสติกเกอร์ชื่อผู้ป่วย 2. การบันทึกหรือคีย์ข้อมูลในโปรแกรม HosXP - ไม่คีย์ส่ง Specimen - คีย์ผิดชนิดที่ส่ง - คีย์ผิดคน - คีย์ส่งไม่ครบ - Lab ส่งนอกโรงพยาบาลไม่พิมพ์ใบส่งตรวจ หอผู้ป่วยชายได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้พัฒนากิจกรรมคุณภาพการเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้รวดเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษา  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วยให้มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการเก็บสิ่งส่งตรวจ 2.เพื่อลดความผิดพลาดจากการเก็บสิ่งส่งตรวจ  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยที่ได้รับการเก็บสิ่งส่งตรวจทุกรายในหอผู้ป่วยชาย  
เครื่องมือ : ทะเบียนเก็บสิ่งส่งตรวจ , เวชระเบียน,แบบรายงานความเสี่ยง  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ทบทวน/วิเคราะห์ปัญหา ค้นหาสาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไข และปรับปรุงคู่มือแนวทางการเก็บสิ่งส่งตรวจร่วมกับเทคนิคการแพทย์ 2. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเพื่อให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ในการเก็บสิ่งส่งตรวจแต่ละชนิด และสร้างความเข้าใจในการเก็บสิ่งส่งตรวจ 3. ชี้แจงเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดขึ้นดังนี้ 3.1 ตรวจสอบคำสั่งแพทย์ก่อนเก็บสิ่งส่งตรวจ พร้อมบันทึกข้อมูลในสติ๊กเกอร์ติดTube หรือตลับ Specimen ให้ถูกต้องดังนี้ ชื่อ-สกุล อายุ HN ชนิดLab ที่ส่งตรวจ 3.2 ถามชื่อ-สกุลผู้ป่วยก่อนเก็บสิ่งส่งตรวจ 3.3 ตรวจสอบ Specimen พร้อมพิมพ์ข้อมูลในโปรแกรมส่ง Lab 3.4 มอบหมายให้พยาบาลสมาชิกทีม ตรวจสอบความถูกต้องก่อนให้พนักงานนำส่ง 3.5 กรณี Lab ด่วนให้พิมพ์ Lab ด่วนที่สุด และโทรประสานห้องชันสูตร ถ้าห้องชันสูตรไม่รายงานผลภายในเวลาที่กำหนดให้โทรตามเพื่อป้องกันการรายงานผลล่าช้า 4. ประสานข้อมูลระหว่างห้องชันสูตร กับแผนกผู้ป่วยทุกครั้งที่พบความผิดพลาด พร้อมลงบันทึกอุบัติการณ์ความเสี่ยงและทบทวนร่วมกันเพื่อหาแนวทางแก้ไข 5. เก็บรวบรวมข้อมูลและสรุปทุกสิ้นเดือน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ