|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : เก็บข้อมูล |
บทความ/วิจัย เรื่อง : พัฒนาการกระบวนการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะถอนพิษสุราสำหรับผู้ป่วยในชาย |
ผู้แต่ง : |
เสฏฐวุฒิ ศรีพูล , กมลวรรณ สุขทวี และทีม |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
เนื่องจากตึกผู้ป่วยชายมีผู้ป่วย นอนโรงพยาบาล ด้วยอาการอื่นแต่ผู้ป่วยมีประวัติดื่มสุรา เป็นประจำทำให้ผู้ป่วยมีภาวะถอนพิษสุรารุนแรงทำให้ผู้ป่วยมีอาการสับสน เพ้อ หูแว่ว ประสาทหลอน ทำให้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนด้านร่างกายเกิดขึ้น เช่นได้รับอุบัติเหตุกับผู้ป่วยและได้รับอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานหรือแม้กระทั่ง ผู้ป่วยและญาติใกล้เคียงและ การเกิดภาวะ sepsis ที่อาจเกิดขึ้นได้
ตั้งแต่เดือน1 ต.ค.2561 ถึง 30 เม.ย.2562 มีผู้ป่วยที่นอน โรงพยาบาลแล้วมีอาการถอนพิษสุรา จำนวน 8 คน เฉลี่ยเดือนละ 2 คน หลังนอน โรงพยาบาลได้2-3 วันจะมีอาการสับสน พูดคุยไม่รู้เรื่อง เอะอะโวยวายเกิดขึ้น ปีนเตียง หนีออกจากโรงพยาบาล
จากข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดความตระหนักเพื่อให้มีแนวทางในการดูแลผู้ป่วยให้ชัดเจนมากขึ้น และเพื่อจะได้ปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน
|
|
วัตถุประสงค์ : |
- เพื่อพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะถอนพิษสุราและพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะถอนพิษสุรารุนแรงชัดเจนในหอผู้ป่วย |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยที่มีประวัติดื่มสุราที่นอนรักษาในหอผู้ป่วยชาย |
|
เครื่องมือ : |
1. แบบประเมิน CIWA score
2. False score (ประเมินอุบัติเหตุผลัดตกหกล้ม)
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อทบทวนแนวทางปฏิบัติที่กำหนดขึ้น
2. วางแผนการพัฒนาและปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดขึ้นดังนี้
1. ตึกผู้ป่วยในรับแจ้งจากงานบริการรับไว้รักษา (Admit Center)
2. ตึกผู้ป่วย ที่รับผู้ป่วยจากงานบริการรับไว้รักษา (Admit Center) ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร และตัวผู้ป่วยให้ตรงกัน พร้อมทั้งคำสั่งการรักษา ถ้าเอกสารไม่ถูกต้อง
2.1. ซักประวัติ โดยซักประวัติการดื่ม Alcohol ให้ละเอียดและครอบคลุม ประเด็นต่างๆ เช่น การดื่มสุราครั้งสุดท้าย ปริมาณการดื่มสุรามากน้อยเท่าใด ประวัติโรคทางกาย ประวัติการชัก ซึ่งต้องซักให้ละเอียดว่าผู้ป่วยชักจากสาเหตุใดจากสุราหรือไม่ เพราะถ้ามี สาเหตุการเกิดจากสุรา ผู้ป่วยจะชักตามมาอีกได้
2.2. พยาบาลและ เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยเหลือคนไข้ ที่รับผู้ป่วยรับใหม่ ให้ตรวจดูร่างกายผู้ป่วยให้ละเอียดบาดแผล รอยบวมช้ำ ถามวัน เวลา สถานที่ บุคคล วัด V/S ให้ละเอียด
3. ประเมินความประเมินรุนแรงของอาการถอนพิษสุราโดยใช้แบบประเมิน CIWA-Ar score พร้อมทั้งให้การพยาบาลตามอาการ และแผนการรักษาของแพทย์ ดังนี้
3.1 ประเมินระดับความรู้สึกตัว ถ้าพบว่าผู้ป่วยสับสนมากให้พิจารณา Restrainedไว้บนเตียง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ พร้อมทั้งให้การดูแลพยาบาลผู้ป่วยขณะผูกมัด
3.2 ถ้าพบว่าผู้ป่วยมีเหงื่อออกมาก ให้การดูแลพยาบาล โดยให้เช็ดตัวให้
4. ประเมินอาการเป็นระยะเช่นลักษณะการอ่อนแรงของแขนขา, Check V/S , N/S , ถ้าพบว่ามีอาการเปลี่ยนแปลงหรือผิดปกติให้รีบรายงานแพทย์ทันที
4.1 กรณีพบว่ามีการปรับการรักษา ให้การพยาบาล และดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามแผนการรักษาของแพทย์
4.2 กรณีพบว่ามีคำสั่งการรักษาให้ส่งผู้ป่วยไปรักษาต่อ ( Refer)ให้ดำเนินการส่งผู้ป่วยไปรักษาต่อ (Refer) ณ สถานบริการที่ระบุไว้
5. วางแผนการพยาบาลผู้ป่วย
5.1 เพื่อให้ผ่านพ้นภาวะวิกฤติควรมีคนเฝ้าคอยดูแลใกล้ชิดสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ ควรมีเจ้าหน้าที่ดูแลตลอดเวลาเพื่อสังเกตการณ์หายใจ เนื่องจากผู้ป่วยจะมีอาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
5.2 จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ ลดสิ่งกระตุ้น แสงและเสียง
5.3 อาการทางจิตต่างๆช่วงนี้ มักมีความรุนแรงเวลากลางคืนควรจัดให้มีแสงสว่างให้เหมาะสมพอสมควร โดยจัดให้ผู้ป่วยอยู่ใกล้ห้องพยาบาล
6. หลังจากผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤติ ดูแลให้การพยาบาลผู้ป่วยพร้อมทั้งวางแผน ดูแลร่วมกับ ทีมบำบัดสารเสพติด
7. เก็บรวบรวมข้อมูลและสรุปทุกสิ้นเดือน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
จากการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 –กันยายน 2562 มีผู้ป่วยที่มีประวัติดื่มสุราทั้งหมด 15 ราย มีผลลัพธ์ดำเนินงานดังนี้
1.ไม่พบอุบัติการณ์ผู้ป่วยเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม
2.เจ้าหน้าที่ได้รับความปลอดภัยขณะดูแลผู้ป่วย
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|