ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบการให้เลือด
ผู้แต่ง : ละไม แกมนิรัตน์ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : การให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด หมายถึง เป็นการให้เพื่อทดแทนปริมาณความเข้มข้นของเลือดในร่างกายที่ลดลงจากการรับการตรวจประเมินเพื่อรับรองคุณภาพโรงพยาบาลจากสถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาล เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2557 ที่ผ่านมา ทางคณะกรรมการได้มีข้อเสนอให้โรงพยาบาลนามน จัดให้มีระบบบริการการให้เลือดเพื่อบริการแก่กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะซีด ที่มีความจำเป็นต้องได้รับเลือด ซึ่งจากรายงานสถิติจำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อสถานบริการอื่นเพื่อรับเลือด 3 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2555 จำนวน 58 คน ปี 2556 จำนวน 68 คน และปี 2557 จำนวน 97 คนตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น และที่ผ่านมาโรงพยาบาลยังไม่มีระบบบริการการให้เลือดทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับความสะดวก ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรับเลือดยังสถานบริการอื่นที่ห่างไกล ดังนั้นเพื่อการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลและระบบการให้เลือดของโรงพยาบาล จึงได้จัดทำแนวทางการพัฒนาระบบการให้เลือดผู้ป่วยขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในแผนกต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1.ลดอัดตราการส่งต่อผู้ป่วยไปรับเลือด 2.เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับเลือดและส่วนประกอบของเลือดอย่างถูกต้อง 3.ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด 4.เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจ ลดความกังวล และให้ความร่วมมือ  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะซีด ที่มีความจำเป็นต้องได้รับเลือด  
เครื่องมือ : -วิเคราะห์หาสาเหตุและปัญหา -เก็บรวบรวมสถิติและอัตราการแสดงการส่งต่อผู้ป่วยไปรับเลือดที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด -ทบทวนแนวทางการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด -จัดทำ CQI เรื่อง การพัฒนาระบบการให้เลือด -ชี้แจงแนวทางการปฏิบัติแก่บุคลากรในหน่วยงานรับทราบ -ติดตามผลและประเมินผลลัพธ์  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ประชุมชี้แจงแก่บุคลากรในหน่วยงานทุกคน 2. กำหนดรูปแบบระบบการให้เลือดในหน่วยงาน โดย 2.1 จัดทำ WI เรื่องการพัฒนาระบบการให้เลือดและสร้างแบบฟอร์มการให้เลือด ลงบันทึกเวลาการให้เลือดทุกครั้ง เพื่อติดตามการให้เลือดให้ได้ตามเวลา 2.2 ให้เจ้าหน้าที่พยาบาลตึกผู้ป่วยในทุกท่านศึกษา WI เรื่องการพัฒนาระบบการให้เลือด และนำไปปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด 2.3 เจ้าหน้าที่อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจความจำเป็นที่ต้องให้เลือด อาการที่อาจเกิดขึ้นขณะให้เลือด/แพ้เลือด ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบทันที 2.4 ลงนามให้คำยินยอมให้เลือด พร้อมพยานที่เป็นญาติในแบบบันทึก 2.5 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเลือดให้ตรงหมู่เลือด ชื่อ-สกุล ให้ถูกต้อง 2.6 สังเกตอาการที่อาจแพ้เลือดอย่างใกล้ชิด 2.7 ติดตามอุบัติการณ์เกี่ยวกับการให้เลือด 3.ดําเนินการตามแผนที่วางไว้ 4. ติดตามและประเมินผล  
     
ผลการศึกษา : จำนวนผู้ป่วยรับเลือดตั้งแต่ 26 มกราคม 58-31 พฤษภาคม 59 จำนวน 120 คน 1. ผู้ป่วยที่ได้รับเลือดถูกต้อง คิดเป็น 100 % 2.ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด จำนวน 2 ราย (มีอาการไข้-หนาวสั่น) คิดเป็น 1.66% 3. ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด คิดเป็น 100% 4.อัตราความพึงพอใจ คิดเป็น 92%  
ข้อเสนอแนะ : 1. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการให้เลือดอย่างมีระบบ ควรจัดทําคู่มือการให้เลือดอย่าง ชัดเจน 2. เพื่อเป็นการเสริมความรู้ความเข้าใจควรมีการจัดอบรมเรื่อง แนวทางการให้เลือด แก่บุคลากรภายในหน่วยงาน  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)