ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการคัดกรองเบื้องต้น ( Primary Triage )งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเขาวง จ.กาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ปัญญาพร ฉายะโคตร, รักชนก ถวิลการ ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : ก่อนพัฒนาพบอุบัติการณ์ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงขณะรอซักประวัติ ได้แก่เด็ก 3 ปีมีอาการไข้สูง ชัก(ปี 58 1ราย ปี 59 2ราย) มีผู้ป่วยที่มีอาการAMI,Strokeไม่ได้รับการดุแลตามระบบ fast trace ปี59 -61 :3,2,2,0รายและผู้ป่วยกลุ่มสงสัยวัณโรคนั่งปะปนกับผู้ป่วยรอซักประวัติ ปี59-61:4,3,2,2,ราย ผู้ป่วยประเภท 2-3 ไม่ได้รับการดูแลตามมาตรฐาน(เจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามPR ที่กำหนด) ปัญหา/อุปสรรค บุคลากร: ขาดความรู้/ความเข้าใจในการประเมินผู้ป่วยแต่ละประเภท : เปลี่ยนผู้รับผิดชอบทุกวันทำให้ขาดทักษะในการใช้เครื่องมือในการประเมินผู้ป่วย ผู้รับบริการ :ไม่เข้าใจขั้นตอนบริการ : ญาติยื่นบัตรแทน( ทำให้ไม่ได้รับการประเมิน) :ไม่มีความรู้เกี่ยวกับอาการโรค AMI ,Stroke สถานที่: จุดคัดกรองอยู่ไกลจากจุด รับ –ส่งผู้ป่วยและไม่อยู่ในตำแหน่งที่เข้าถึงได้ง่าย : ไม่มีป้ายแสดงขั้นตอนการให้บริการ :มีหลายช่องทางในการเข้ามารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก  
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ผู้ป่วยโรคFast trace ได้รับการดูแลตามมาตรฐาน เพื่อให้ผู้ป่วยประเภท 1-3 ได้รับการดูแลตามมาตรฐานที่กำหนด  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยโรค Fast trace, ผู้ป่วยสงสัย TB  
เครื่องมือ : -  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.ประชุมทีมเพื่อทบทวนแนวทางปฏิบัติในการประเมินคัดกรองผู้ป่วย 5 ประเภท 2.ใช้เครื่องมือในการประเมินผู้ป่วย ทุกรายEarly warning Sign 3. มอบหมายพยาบาลวิชาชีพเป็นผู้รับผิดชอบประจำ( คนเดิมทุกวัน) 3.กำหนดแบบฟอร์มในการประเมินผู้ป่วยรายโรค 4.กำหนดแนวทางส่งต่อผู้ป่วยกลุ่มที่ 1-3 ไป ER 5.ชี้แจงแนวทางปฏิบัติให้ทีมรับทราบและถือปฏิบัติ ติดตามข้อมูลทุกวันโดยหัวหน้าเวร 6.ติดตามข้อมูลการวินิจฉัยโรค ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายและรายงานหัวหน้าเวรทุกวัน  
     
ผลการศึกษา : ลำดับ ตัวชี้วัด เป้า ผลลัพธ์รายปี 2559 2560 2561 2562 1. อัตราผู้ป่วยโรคFast trace ได้รับการดูแลตามมาตรฐาน 100% 82.35 90.48 77.78 100 2. อัตราผู้ป่วยสงสัย Tb ได้รับคัดกรองตามแนวทางที่กำหนด 100% 92.98 92.86 94.44 97.37 3. อัตราผู้ป่วยประเภท 1-3 ได้รับการดูแลตามมาตรฐานที่กำหนด 100% 76.43 80.04 83.67 88.72 4. อัตราผู้ป่วยมีอาการทรุดขณะรอตรวจ 0 % 0.84 0.32 0.14 0.03  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ