ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : สรุปแบบแผนการสอนสุขศึกษาการฉีดยาเบาหวาน ปี 2562 จุดเผยแพร่ ห้องอุบัติเหตุ – ฉุกเฉิน โรงพยาบาลเขาวง
ผู้แต่ง : พรรณทิพย์ วรรณขาว และคณะ ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก เนื่องจากสภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป รวมถึงพฤติกรรมต่างๆด้านสุขภาพ เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ต่างไปจากเดิม สภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแต่มีการออกกำลังกายที่น้อยลง ทำให้น้ำหนักเกินมาตรฐาน ประกอบกับภาวะเครียดสูง ทำให้ประชากรมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้นทุกปี เป้าหมายการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน คือ การส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในระดับปกติ หรือใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด ซึ่งการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดนั้นมีทั้งการออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร ยารักษาเบาหวานประเภทฉีด เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล สูงอายุ มีอาการแทรกซ้อนโรคไต และการรักษาเบาหวานประเภทฉีดอินซูลินจะมีอาการข้างเคียง บริเวณที่มีลักษณะเป็นก้อนไขมันซึ่งเกิดจากการฉีดอินซูลินซ้ำที่เดิมบ่อย ๆ มีผลทำให้เกิดประสิทธิภาพในการดูดซึมยาอินซูลินที่ฉีดเข้าไปไม่คงที่ เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อบริเวณที่ฉีด เกิดภาวะระดับน้ำตาลต่ำ ซึ่งผลมาจากการฉีดอินซูลินใช้เทคนิคไม่ถูกต้องและผู้ที่ทำหน้าที่ฉีดมีทั้งผู้ป่วยเองและญาติ มีผลต่อการรักษาเบาหวาน ดังนั้นงานห้องอุบัติเหตุ – ฉุกเฉิน โรงพยาบาลเขาวง ได้เร่งเห็นความสำคัญของการฉีด Insulin ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จึงได้จัดทำแผนการสอนสุขศึกษาการฉีดยาเบาหวานขึ้นเพื่อให้เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถฉีดยา Insulin ได้อย่างถูกต้อง และเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ป่วยและญาติ ที่ได้รับการฉีดยา Insulin รายใหม่ ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง  
วัตถุประสงค์ : — 1.เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถฉีดยา Insulin ได้อย่างถูกต้อง — 2.เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ป่วยและญาติ ที่ได้รับการฉีดยา Insulin รายใหม่ ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง — 3.เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติมีความรู้ความเข้าใจในสูงภาวะระดับน้ำตาลในเลือด สูง – ต่ำ  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ ที่ได้รับยาฉีด Insulin รายใหม่ และผู้ป่วยเบาหวานที่ฉีดยา Insulin ไม่ถูกวิธี  
เครื่องมือ : -  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ประชุมปรึกษาในหน่วยงาน เพื่อค้นหาโอกาสในการพัฒนาคุณภาพการสอนผู้ป่วยเบาหวานฉีดยา Insulin ในทีมงานห้องอุบัติเหตุ – ฉุกเฉิน 2. ร่วมกันกำหนดแนวทางปฏิบัติในการสอนผู้ป่วยเบาหวานฉีดยา Insulin ทุกราย เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน 3. จัดทำคู่มือการสอนผู้ป่วยฉีดยา Insulin โดยมีภาพประกอบและอุปกรณ์จริง ให้ผู้ป่วยได้ฝึกปฏิบัติ 4. มีแบบบันทึกการให้คำปรึกษาและการสอนเทคนิคการฉีด Insulin ในผู้ป่วยเบาหวานทุกรายที่มาใช้บริการ 5. ติดตามระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยทุกครั้งที่มารับบริการที่โรงพยาบาล วิเคราะห์หาสาเหตุ ค้นหาปัญหาที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เพื่อนำมาใช้พัฒนาคุณภาพการสอนผู้ป่วยเบาหวานฉีดยา Insulin 6. ทบทวนอุบัติการณ์ในผู้ป่วยเบาหวานที่ฉีดยาอินซูลิน แล้วมีภาวะ Hypoglycemia หรือ Hyperglycemia เพื่อค้นหาสาเหตุว่าเกิดจากการใช้ยาอินซูลินหรือไม่ 7.ประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง 8. วิเคราะห์ผลที่ได้ และนำไปปรับปรุงพัฒนาแนวทางปฏิบัติ 9. เชื่อมโยงความรู้สู่หน่วยงานอื่นๆที่ให้บริการผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยาฉีด Insulin เช่น รพสต ที่อยู่ในเขตบริการใกล้เคียง  
     
ผลการศึกษา : ปี พ.ศ. hypoglycemia hypoglycoma hyperglrcemia 59 81 22 249 60 65 17 259 61 34 12 337  
ข้อเสนอแนะ : 1.พัฒนาทักษะความรู้ความสามารถให้เจ้าหน้าพยาบาลที่ รพสต สามารถที่จะสอนและฝึกทักษะการฉีดยาให้ผู้ป่วยได้ เพื่อลดปัญหาความยากลำบากการทางที่จะเดินทางมาฝึกฉีดที่ รพ การศึกษาครั้งนี้พบว่า 2.ทัศนคติต่อการใช้ยาอินซูลินมีอิทธิพลต่อความร่วมมือในการใช้ยาฉีดอินซูลิน ทีมควรมีการจัดการกับทัศนคติด้านลบต่อการรักษาด้วยอินซูลิน โดยอธิบายให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจ เกี่ยวกับการดำเนินโรคเบาหวาน ประโยชน์จากการรักษาด้วยยาอินซูลินที่จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการรักษาด้วยยาอินซูลินและส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการวางแผนการรักษาให้สอดคล้องกับ การดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเพื่อลดปัญหาการใช้ยาอินซูลินที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันทำให้เกิดความ ร่วมมือในการใช้ยาฉีดอินซูลินมากขึ้น  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ