ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : วิเคราะห์ข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังตามบริบทของพื้นที่ รพ.สต.ดงเมือง ตำบลลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : รพ.สต.ดงเมือง ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs หรือ non-communicable diseases) เป็นโรคที่มีสาเหตุหลักมาจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วบางคนอาจมีอาการแทรกซ้อนด้วย กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน (DIABETES) โรคความดันโลหิตสูง (HYPERTENSION) โรคหลอดเลือดหัวใจ (STEMI) โรคหลอดเลือดสมอง (STROKE)และ โรคไตวายเรื้อรัง (CHRONIC KIDNEY DESEASES)เป็นโรคที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยสถานการณ์โรคของจังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า สถานสุขภาพใน ปี 2554 – 2558 มีดังนี้ 1) โรคเบาหวาน พบความชุก 4,861.28, 4,440.84 4,746.70 5,022.71 และ 4,370.26 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ 2) โรคความดันโลหิตสูง พบความชุก 4,429.76, 4,108.28 4,516.63 4,917.72 และ 4,051.79 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ 3) โรคหัวใจขาดเลือด พบความชุก 291.55, 153.08 169.41 202.35 และ 284.29 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ 4) โรคหลอดเลือดในสมอง พบความชุก 102.68, 67.30, 73.37, 83.16 และ 239.03 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ 5) เนื้องอกร้ายที่ตับและท่อน้ำดีในตับ พบความชุก 50.73, 53.50 60.36 57.57 และ 32.97 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ ซึ่งสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงเมืองได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องสร้างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมนั้น ควรมีการสร้างบรรยากาศในการเปลี่ยนแปลงเป็นหมู่คณะ และหมู่คณะที่มั่นคงคือ กลุ่มหมู่ที่มีอยู่เดิมเป็นธรรมชาติในชุมชน ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงเมือง จึงได้พัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่มีการรวมกลุ่มโดยธรรมชาติ ได้แก่ กลุ่มปลูกผัก กลุ่มอาชีพ กลุ่มนันทนาการอื่นๆ เป็นต้น เพื่อสร้างองค์ความรู้ในหมู่คณะและการดูแลซึ่งกันและกัน นำสู่การปฏิบัติ ที่เหมาะสม เน้นให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) สู่การพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และการจัดการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพต่อไป  
วัตถุประสงค์ : วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบริบทการรวมกลุ่มตามธรรมชาติในพื้นที่ 2. เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 3. เพื่อศึกษาการพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังตามบริบทของพื้นที่ 4. เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังตามบริบทของพื้นที่  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รพ.สต.ดงเมือง ตำบลลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์  
เครื่องมือ : 1. เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรม ได้แก่ การจัดกระบวนการกลุ่ม และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2. เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกด้านสุขภาพ และ แบบวัดพฤติกรรมสุขภาพ  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. เก็บข้อมูลบริบทการรวมกลุ่มตามธรรมชาติในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงเมือง ตำบลลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. ค้นหารูปแบบการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมของผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงเมือง ตำบลลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 3. จัดประชุมกลุ่มย่อยกลุ่มตามธรรมชาติเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำข้อตกลงในการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 4. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มตามธรรมชาติ 5. สรุปติดตามและประเมินผล  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ