|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : พัฒนาการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยในชุมชน |
ผู้แต่ง : |
จริยาภรณ์ บุญรมย์, อภิญญา ช่วยนา |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเขาวง ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว โดยมีความมุ่งมั่นที่จะจัดบริการที่มีคุณภาพ ผู้ป่วยที่รับบริการเกิดความพึงพอใจ ละสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุม จากการรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานของงานกายภาพบำบัดที่ผ่านมาพบว่าผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ป่วยระยะฟื้นฟูที่มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยปี 2559-2561 พบว่า มีจำนวน 268 305 และ 346 ราย ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามพบว่านักกายภาพบำบัดที่ปฏิบัติงานมีจำนวนเพียง 3 คน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการให้บริการได้อย่างครอบคลุม งานกายภาพบำบัดจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาระบบงานด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่มีคุณภาพ สามารถเข้าถึงบริการ และส่งเสริมให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพ ดังนั้นงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเขาวง ร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสะอาดและเทศบาลตำบลสระพังทอง จึงได้จัดตั้งศูนย์โฮมสุขสระพังทองขึ้น |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. จัดตั้งศูนย์โฮมสุขสระพังทองเพื่อเป็นศูนย์กลางให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพและการประสานงานช่วยเหลือด้านการแพทย์แก่คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยระยะฟื้นฟู
2. คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยระยะฟื้นฟู สามารถเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างต่อเนื่อง ครอบคลุม
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
คนพิการ ผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะฟื้นฟูที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว |
|
เครื่องมือ : |
แบบประเมิน ICF, แบบประเมิน ADL (Barthel index) และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. จัดประชุมทีมดำเนินงานเพื่อจัดตั้งศูนย์โฮมสุขประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลเขาวง เจ้าหน้าที่ รพ.สต. โนนสะอาด และเจ้าหน้าที่จากเทศบาลตำบลสระพังทอง
2. อบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ศูนย์โฮมสุข โดยเนื้อหาการอบรมประกอบด้วย การฟื้นฟูสมรรถภาพ การเลือกใช้กายอุปกรณ์ที่เหมาะสม การส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฟื้นฟู การป้องการติดเชื้อ การใช้ยา การดูแลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ เช่น ผู้ป่วยที่ใส่ท่อหายใจ ผู้ป่วยที่ใส่สายอาหารและผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ เป็นต้น
3. สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยระยะฟื้นฟูที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว
4. ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพร่วมกับทีมสหวิชาชีพและสอนญาติ/ผู้ดูแลเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพและการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อน และแนวทางการส่งต่อผู้ป่วยหากมีภาวะฉุกเฉินหรือการเกิด stroke ซ้ำ
5. แนะนำการใช้-จ่ายกายอุปกรณ์และกายอุปกรณ์ประยุกต์ที่เหมาะสมให้กับกลุ่มเป้าหมาย
6. สำรวจความต้องการการปรับสภาพบ้านของกลุ่มเป้าหมายร่วมกับทีมนักกายภาพบำบัด เจ้าหน้าที่ รพ.สต.และเจ้าหน้าที่เทศบาล
7. มีการประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลผู้ป่วยและวางแผนการดูแลร่วมกันทั้งเครือข่ายเป็นรายเคส
8. สรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียนการทำงาน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ลำดับ ตัวชี้วัด เป้าหมาย ผลลัพธ์
1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างครอบคลุม >80% 95%
2. กลุ่มเป้าหมายมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น >80% 86%
3. กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของศูนย์โฮมสุข >90% 96.8%
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
1.เพิ่มความรู้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพขั้นสูงให้กับอาสาสมัคร
2.เพิ่มความรู้ ทักษะการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม ในโรคเรื้อรังให้กับเจ้าหน้าที่ศูนย์โฮมสุข
3. ขยายศูนย์โฮมสุขให้ครอบคลุมทุกตำบลในอำเภอเขาวง
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|