ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : พฤติกรรมการควบคุมลูกน้ำยุงลายของประชาชนต่อค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย และการเกิดโรคไข้เลือดออก
ผู้แต่ง : ๑.นายธนบูลย์ คนหาญ นามสกุล คนหาญ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพ.สต.บ้านหนองโพน โทรศัพท์ ๐๘๙๘๖๒๔๑๖๐ ๒.นายสุวิทย์ นามสกุล ทบแก้ว ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.บ้านหนองโพน โทรศัพท์ ๐๘๘๕๗๒๗๖๑๗ ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกี่ โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคทำให้เกิดการเจ็บป่วย หากรุนแรงอาจเกิดการช็อกทำให้เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพของ ประชาชนตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับชาติ ประเทศไทยเป็นกลุ่มที่มีการระบาดของโรคสูง เป็นอันดับ ๖ ใน ๓๐ ประเทศ พบการระบาดใหญ่ โดยเฉพาะใน ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ อัตรา ป่วยมีมากถึง ๒๔๑.๐๓ ต่อแสนประชากร และที่ผ่านมามีนโยบายในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกหลากหลายวิธีการ จังหวัดกาฬสินธุ์ได้ดำเนินการป้องกันและ ควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง แต่คงพบ การระบาดของโรคสูงเช่นเดียวกันกับระดับประเทศ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ พบมีอัตราป่วยสูงจากข้อมูลสถานการณ์ไข้เลือดออกปี ๒๕๖๑ พบ ๑๑๓ ราย เสียชีวิต ๑ ราย พบมากในกลุ่มอายุ ๑๐-๑๔ ปี ในพื้นที่ตำบลไผ่ อัตราป่วยสูงสุดพื้นที่บ้านโคกล่าม มีผู้ป่วย ๑๐ ราย เสียชีวิต ๑ ราย เป็นเด็กชายอายุ ๑๐ ปี แสดงได้ว่า ในตำบลไผ่มีการระบาด ของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง มีอัตราป่วยและป่วยตายที่สูงเกินเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนด  
วัตถุประสงค์ : ๑. เพื่อศึกษาความตั้งใจในพฤติกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ๒. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลไผ่ ๓. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ประชากร ที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีทั้งหมด ๑๙๖ ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด ๑,๐๔๒ คน  
เครื่องมือ : กิจกรรม ๑.เจ้าบ้าน/บุคคลในบ้าน สำรวจและ กำจัดลูกน้ำยุงลาย พร้อมลงบันทึกผล ทุก ๗ วัน ลงชื่อกำกับ ๒.อสม.สำรวจลูกน้ำยุงลายในเขตรับผิดชอบทุก ๗ วัน พร้อม ลงชื่อ กำกับตามเจ้าบ้าน ๓.เจ้าหน้าที่/ทีมSRRTระดับตำบล สำรวจลูกน้ำยุงลายทุก ๗ วัน พร้อมลงชื่อกำกับตามเจ้าบ้าน และอสม. เครื่องมือที่ใช้ แบบบันทักผลการสำรวจลูกน้ำยุงลาย  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิง ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(ParticipatoryAction Research; PAR) โดยใช้ กระบวนการ AIC (Appreciation Influence Control) พื้นที่และระยะเวลาการศึกษา เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้ เลือดออกปีพ.ศ.๒๕๖๑ สูงสุดของตำบลไผ่ และประชาชนในหมู่บ้านมีความยินดีและเต็มใจเข้าร่วมการศึกษา คือบ้านโคกล่าม หมู่ที่ 3 ตำบลไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยดำเนินการวิจัย ระหว่างเดือน เมษายน – สิงหาคม ๒๕๖๒  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ