ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : เก็บข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ๑. หม้อดินวิเศษ
ผู้แต่ง : นางดลฤดี บุญสิทธิ์ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพ.สต.เชียงเครือ tel.095-5348199 ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : บทนำ ปัจจุบันในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเชียงเครือ ๕ หมู่บ้านมีผู้ป่วยวัณโรค 7 คนและแนวโน้ม มีปริมาณเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ที่สำคัญผู้ป่วยวัณโรคที่ถูกส่งตัวกลับมาดูแลที่บ้านและชุมชน ซึ่งการดูแลที่บ้านเป็นบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องให้คำแนะนำ ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรค สู่ชุมชนและสิ่งแวดล้อม จาการติดตามเยี่ยมบ้านโดยตลอดพบว่าผู้ป่วยวัณโรคบางคนทิ้งขยะเกลื่อนกลาด ไม่ถูกต้อง ขยะที่เกิดขึ้นแต่ละวันมีจำนวนมากและส่วนใหญ่กำจัดขยะไม่ถูกสุขลักษณะ มีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อจากคนป่วยสู่สิ่งแวดล้อม  
วัตถุประสงค์ : วัตถุประสงค์ ๑.เพื่อป้องกันควบคุมการติดเชื้อ และลดการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในชุมชน  
กลุ่มเป้าหมาย :  
เครื่องมือ : วิธีการศึกษา ทดลองเผาขยะแห้งที่มาจาก ผู้ป่วยวัณโรค ขนาด 0.๕-๑ กิโลกรัมในโอ่งดิน ไห โอ่งมังกรขนาดเล็ก หม้อดิน ตุ่มน้ำดินเผา ให้เป็นแบบปิดฝา เพื่อลด การฟุ้งกระจาย และแบบเจาะรูอากาศ และไม่เจาะรูอากาศ โดยถ่านไฟที่ติดไฟแล้วลงไปในก้นภาชนะทุกชนิดที่นำมาทดลอง เพื่อทดสอบดูว่าภาชนะแบบไหนที่ขยะมีการเผาไหม้สมบูรณ์ แล้วนำเอาขี้เถ้าฝังกลบในดิน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : รูแบบการศึกษา กึ่งทดลอง มีแรงจูงใจจากภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยทดลองเผาขยะแห้งผู้ป่วยวัณโรค ในอุปกรณ์ต่างๆที่หาได้จากชุมชน เช่นหม้อดินที่มีฝาปิดเจาะรู ไห หรือโอ่งมังกรขนาดเล็ก หม้อดิน ตุ่มน้ำดินเผา หรือ เผาในหลุมขยะ หรือเผาลงบนพื้นดิน โดยใช้ถ่านหุงต้ม ไม้ขีดไฟและใช้ถุงพลาสติกเป็นชนวนการติดไฟ รูปแบบใดขยะมีการเผาไหม้ที่สมบูรณ์กว่ากันในเวลาที่เท่ากัน ปริมาณขยะเท่ากัน และ การฝังกลบขี้เถ้าในดิน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ