ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ในพื้นที่ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ๑. นายบรรทม แสนแก้ว ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ รพ.สต.แกเปะ โทรศัพท์ 061-1466056 ๒. นางศิริพร ทองจรัส ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ รพ.สต.แกเปะ โทรศัพท์.............................................. 3. นางจริยาพร อินทร์ช้าง ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุข ชำนาญงาน รพ.สต.แกเปะ โทรศัพท์.............................................. ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย จากรายงานสถิติสาธารณสุข เมื่อปี พ.ศ. 2553-2557 พบว่า อัตราตายด้วยโรค เบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2557 พบว่ามีอัตราป่วย และตายด้วยโรคเบาหวาน เป็น 17.53 และ 10.95 ต่อแสนประชากร (กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุม โรค สำนักโรคไม่ติดต่อ, 2559) และจากการผลตรวจสุขภาพประชาชนโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 พบว่า โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานในประชาชน อายุ 15 ปีขึ้นไป มีสูงถึงร้อยละ 24.7 และ 8.9 ซึ่งสูงกว่าการตรวจในปี พ.ศ. 2552 ที่พบ ร้อยละ 22.0 และ 6.9 (วิชัย และคณะ, 2557) โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรัง เมื่อป่วยแล้วไม่สามารถรักษาให้ หายขาดได้ และในขณะเดียวกันถ้าไม่สามรถควบคุมโรคได้ก็จะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน หลายอย่างในร่างกาย เช่น ไตวาย โรคหัวใจ อัมพาต อัมพฤกษ์ หรือต้องสูญเสียอวัยวะบางส่วน ทั้งยังส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้ป่วย และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองและ หัวใจ ทำให้อัตราตายสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อป่วยเป็นโรคโรคเบาหวานแล้ว ผู้ป่วยสามารถควบคุมโรคได้(เนติมา, 2555) ด้วยการดูแลจากทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง และการดูแลสุขภาพตนเอง (Istek and Karakurt, 2016) ผู้ป่วยโรคเบาหวานก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ โดยผู้ป่วยต้องดูแลตนเองในด้านการการออกกำลังกาย การรับประทานยา ควบคุมอาหาร การป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรค การจัดการความเครียด และผู้ป่วยต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง (สูวิทย์ชัย, 2557; กุสุมา,2557) ในขณะที่ ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ที่มีการดูแลสุขภาพตนเองอย่างสม่ำเสมอจะช่วยรักษาโรคหรือควบคุมความรุนแรงของโรคได้ (กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ, 2559) ด้วยการรับประทานยา การพบแพทย์เป็นประจำ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรค ได้แก่ การลดการรับประทานอาหารเค็ม การลดนํ้าหนักตัว การรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ หลีกเสี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม ตลอดจนจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม (สมาคม ความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย, 2558) ส่วนในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) และเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต (Nilsson and Cederholm, 2011) ปัฐยาวัชร และคณะ (2558) ได้ศึกษาและพบว่าแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ประกอบด้วย การปรับพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ได้แก่ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยา และการทำจิตใจให้สบาย การดูแลสุขภาพตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ดังนั้นผู้ที่ป่วยทั้งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จึงจำเป็นต้องมีพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองที่ดี เพื่อควบคุมทั้งสองโรค นอกจากนั้นการป่วยเป็นโรคเบาหวานยังมีผลต่อกิจกรรมในการใช้ชีวิต และ ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยด้วย (Istek and Karakurt, 2016) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแกเปะ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีโรคเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในพื้นที่ โดยในปี พ.ศ. 2562 มี ผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 235 คน ในจำนวนนี้มีผู้ป่วย 203 คน ที่เป็นเบาหวานและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โดยมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดสะสม(HBA1C) มากกว่าหรือเท่ากับ 7 คณะผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน เจตคติของผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคเบาหวานตลอดจนศึกษาพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้ง การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด การรักษาและการใช้ยา โดยผลการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ในพื้นที่ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่อไป  
วัตถุประสงค์ : ๖.วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความรู้เรื่องโรคเบาหวานในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ 2. เพื่อศึกษาเจตคติเรื่องโรคเบาหวานในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ 3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้  
กลุ่มเป้าหมาย :  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : รูปแบบการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเสริม และปัจจัยเอื้อ กับพฤติกรรมการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของหัวหน้าครัวเรือนในพื้นที่ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ