ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : วิเคราะห์ข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การศึกษาการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางบก บริเวณสามแยกตัวตายตัวแทน ถนนเข้าเทศบาลตำบลโพนทอง บ้านมอดินแดง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ธันวาคม ๒๕๖๑1 - พฤษภาคม ๒๕๖๒
ผู้แต่ง : นายอำนาจพล รัชพล ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนทอง รพ.สต.โพนทอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ โทรศัพท์ 06-4291-5954 ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนทอง ได้ทราบข้อมูลจาก ทีมกู้ชีพเทศบาลตำบลโพนทอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ว่า ตั้งแต่ เดือน ธันวาคม 2561 - มีนาคม 2562 เกิดอุบัติเหตุจราจรทางบก บริเวณสามแยกตัวตายตัวแทน ถนนเข้าเทศบาลตำบลโพนทอง บ้านมอดินแดง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้งหมด จำนวน ๔ ครั้ง โดย ทุกเหตุการณ์ จะมีผู้เสียชีวิต ทุกครั้งโดยมีข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ใน ๔ เดือน สามแยกนี้ มีผู้ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ๔ ศพ เฉลี่ย เดือนละ ๑ ศพ ซึ่งถือว่า เป็นปัญหาสาธารณสุขที่รุนแรง จึงต้องการศึกษา ทางระบาดวิทยาเชิงพรรณนาของการบาดเจ็บและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ การหาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการบาดเจ็บและการเสียชีวิต และหาปัจจัยในการสนับสนุนการป้องกันและควบคุมการบาดเจ็บและการเสียชีวิต ต่อไป...  
วัตถุประสงค์ : ๖.วัตถุประสงค์ ๑.เพื่อศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาของการบาดเจ็บและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ๒.เพื่อหาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการบาดเจ็บและการเสียชีวิต ๓.เพื่อหาปัจจัยในการสนับสนุนการป้องกันและควบคุมการบาดเจ็บและการเสียชีวิต  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มประชากรที่ศึกษา หมายถึง ประชาชนที่ประสบอุบัติเหตุจราจรทางบก บริเวณสามแยกตัวตายตัวแทน ถนนเข้าเทศบาลตำบลโพนทอง บ้านมอดินแดง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่าง ธันวาคม 2561 - พฤษภาคม 2562  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : วิธีการศึกษา: รูปแบบการศึกษา/กลุ่มเป้าหมาย การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยการทบทวนเวชระเบียนผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ พร้อมสัมภาษณ์ผู้บาดเจ็บ บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่กู้ภัย และประสานข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับผิดชอบคดี เพื่อให้ทราบถึงการกระจาย ตามบุคคล เวลา สถานที่ ศึกษาส่วนของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บความรุนแรงของการบาดเจ็บและสาเหตุของการเสียชีวิต การศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ เป็นการศึกษาแบบ Cross sectional study เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเสียชีวิต ของอุบัติเหตุในครั้งนี้ ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่สนใจ ได้แก่ การไม่สวมหมวกกันน็อค และ การขับขี่รถ จักรยานยนต์ โดยหาค่าความเสี่ยงสัมพันธ์ (Relative risk; RR) และคำนวณช่วงความเชื่อมั่นของความเสี่ยง (95% Confident interval of RR) การศึกษาโดยใช้ Haddon’s matrix model เป็นการอธิบายลำดับเหตุการณ์ ก่อนชน ขณะชน และหลังชน โดยพิจารณาปัจจัยจาก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคคล ด้านพาหนะ และด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้ในการควบคุม ป้องกัน การบาดเจ็บ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ