ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : รูปแบบการควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกแบบเสริมพลังอำนาจแกนนำสุขภาพประจำครัวเรือน(กสค)บ้านโคกล่าม ตำบลไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : สุวิทย์ ทบแก้ว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองโพน ตำบลไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : จังหวัดกาฬสินธุ์ได้ดำเนินการป้องกันและ ควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง แต่คงพบ การระบาดของโรคสูงเช่นเดียวกันกับระดับประเทศ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ พบมีอัตราป่วยสูงจากข้อมูลสถานการณ์ไข้เลือดออกปี ๒๕๖๑ พบ ๑๑๓ ราย เสียชีวิต ๑ ราย พบมากในกลุ่มอายุ ๑๐-๑๔ ปี ในพื้นที่ตำบลไผ่ อัตราป่วยสูงสุดพื้นที่บ้านโคกล่าม มีผู้ป่วย ๑๐ ราย เสียชีวิต ๑ ราย เป็นเด็กชายอายุ ๑๐ ปี แสดงได้ว่า ในตำบลไผ่มีการระบาด ของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง มีอัตราป่วยและป่วยตายที่สูงเกินเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนด  
วัตถุประสงค์ : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษารูปแบบการควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกแบบเสริมพลังอำนาจแกนนำสุขภาพประจำครัวเรือน(กสค.)บ้านโคกล่าม ตำบลไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : โดยกลุ่มตัวอย่างคือประชาชนจากบ้านโคกล่าม หมู่ที่ 3 จำนวน 138 หลังคาเรือน  
เครื่องมือ : เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ประชาชนจากทุกหลังคาเรือนๆละ 1 คนจำนวนทั้งสิ้น 138 คน และใช้รูปแบบเสริมพลังอำนาจ กสค.โดยกระบวนการ PAOR ระยะที่ 1 ขั้นการวางแผน(Planning) ระยะที่ 2 ลงมือปฏิบัติ(Action) ระยะที่ 3 ขั้นสังเกตผล(Observation) ระยะที่ 4 ขั้นสะท้อนผล(Reflection) ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ระดับความรู้การควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก การปฏิบัติในการควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก คือการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติวิเคราะห์หาความแตกต่างโดยเปรียบเทียบค่าคะแนนการปฏิบัติในการควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ก่อนและหลัง ด้วยค่าสถิติ paired t-test  
ขั้นตอนการดำเนินการ : เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ประชาชนจากทุกหลังคาเรือนๆละ 1 คนจำนวนทั้งสิ้น 138 คน และใช้รูปแบบเสริมพลังอำนาจ กสค.โดยกระบวนการ PAOR ระยะที่ 1 ขั้นการวางแผน(Planning) ระยะที่ 2 ลงมือปฏิบัติ(Action) ระยะที่ 3 ขั้นสังเกตผล(Observation) ระยะที่ 4 ขั้นสะท้อนผล(Reflection) ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ระดับความรู้การควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก การปฏิบัติในการควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก คือการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติวิเคราะห์หาความแตกต่างโดยเปรียบเทียบค่าคะแนนการปฏิบัติในการควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ก่อนและหลัง ด้วยค่าสถิติ paired t-test  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ