|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : เสนอโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ความคิดเห็นต่อแนวคิดแพทย์วิถีธรรม (ยา 9 เม็ดหมอเขียว) ของประชาชนตำบลบึงวิชัย อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
รายชื่อผู้วิจัยหลัก
นายวงศ์ประสิทธิ์ มะลิรส เจ้าพนักงานสาธารณสุข ชำนาญงาน
|
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
เมื่อเจ็บป่วยสมัยก่อนคนจะเข้ารับการรักษาตามแบบความเชื่อพื้นบ้าน และการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นมาช่วยเยียวยา เช่น การใช้หมอน้ำมนต์ เวทมนต์คาถา ยาสมุนไพร รากไม้ ต่างๆ ต่อมาการแพทย์แผนตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทและความสำคัญ ประชาชนส่วนใหญ่ใช้รักษาด้วยการแพทย์แผนตะวันตก และต่อมาเรียก การแพทย์แผนปัจจุบัน เนื่องจากสะดวกเข้าถึงบริการได้ง่าย มีสถานบริการสาธารณสุขอยู่ทั่วไป
สังคมเปลี่ยนแปลงไป การดำรงชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น ประชาชนใช้ชีวิตประจำวันประมาทมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ทำให้กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือกลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable diseases) ได้แก่ โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ (Cardiovascular & Cerebrovascular Diseases ) โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) โรคมะเร็ง (Cancer) โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) โรคอ้วนลงพุง (Obesity) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากวิธีการใช้ชีวิต ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอย่าง สุรา บุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย อาหารหวานมันเค็มจัด และมีความเครียด โรคไม่ติดต่อเรื้อรังมักจะค่อยๆ มีอาการและรุนแรงขึ้นทีละน้อยหากไม่ได้มีการรักษาควบคุม สถิติผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs ในปี พ.ศ. 2552 พบว่าสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมด มีถึง 63% ที่เกิดจากกลุ่มโรค สำหรับประเทศไทย พบว่ามีประชากรถึง 14 ล้านคนที่เป็นโรค ในกลุ่มโรค NCDs และที่สำคัญยังถือเป็นสาเหตุหลักการเสียชีวิตของ ประชากรทั้งประเทศ โดยจากสถิติปี พ.ศ. 2552 พบว่า มีประชากรเสีย ชีวิต จากกลุ่มโรค NCDs มากกว่า 300,000 คน หรือ คิดเป็น 73% ของการเสียชีวิต ของประชากรไทยทั้งหมดในปี 2552 คิดเป็นมูลค่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจถึง 200,000 ล้านบาทต่อปี
จากความรุนแรงของปัญหาข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าไคร้ จึงได้นำแพทย์ทางเลือกหนึ่งของกระทรวงสาธารณสุขเข้ามาเป็นแนวทางในการให้บริการร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบัน นั่นคือแนวคิดแพทย์วิถีธรรม “ยา 9 เม็ดหมอเขียว” โดยเริ่มนำมาใช้เมื่อปี 2557
ที่มาของแพทย์วิถีธรรม “หมอเขียว” ใจเพชร กล้าจน เป็นผู้บูรณาการองค์ความรู้ หลักแพทย์วิถีธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีสาเหตุมาจาก สถานการณ์ปัญหาสุขภาพของประเทศไทย 3 ประการหลัก ได้แก่ 1. ปริมาณผู้ป่วย ชนิดของความเจ็บป่วย และความรุนแรงของ การเจ็บป่วยโดยรวมเพิ่มมากขึ้น 2.ค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาความเจ็บป่วยเพิ่มมากขึ้น 3.ยิ่งนับวันประชาชนก็ยิ่งมีศักยภาพที่น้อยลงในการดูแลแก้ไขปัญหา สุขภาพด้วยตนเอง ( พึ่งตนเองไม่ได้หรือพึ่งตนเองได้น้อย )
แพทย์วิถีธรรม คือ การแพทย์ที่บูรณาการองค์ความรู้ โดยเอาจุดดีของวิทยาศาสตร์สุขภาพ การแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และการแพทย์พื้นบ้าน รวมถึงหลัก 8 อ. เพื่อสุขภาพดีของสถาบันบุญนิยม มาบริหารจัดการองค์ความรู้ ประยุกต์ ผสมผสาน บูรณาการด้วยพุทธธรรม และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเหมาะสม ให้สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพหรือลดปัญหาสุขภาพ ณ สภาพสังคม สิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ในวิธีที่ประหยัด เรียบง่าย ปลอดภัย ได้ผลเร็ว แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ พึ่งตนเองได้ ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นหลัก และมีความยั่งยืน
เป้าหมายของแพทย์วิถีธรรม 1) ชีวิตพอเพียง เรียบง่าย 2)ร่างกายแข็งแรง 3)จิตวิญญาณดีงาม 4)จิตวิญญาณที่เป็นสุข
เทคนิคการดูแลสุขภาพ 9 ข้อ หรือยา 9 เม็ด การดูแลสุขภาพพึ่งตนแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักการแพทย์วิถีธรรม เพื่อส่งเสริมสุขภาพ เป็นการป้องกันโรค ควบคุมโรค ส่งเสริมสุขภาพ และฟื้นฟู สุขภาพสำหรับประชาชน ทั้งผู้มีสุขภาพดี และผู้ป่วยด้วยโรค หรืออาการเจ็บ ป่วยต่างๆที่ไม่ใช่อุบัติเหตุรุนแรง มีเทคนิคปฏิบัติดังนี้ 1)การรับประทานสมุนไพรปรับสมดุลร้อนเย็น 2) การกัวซา(ขูดพิษ) 3) การสวนล้างลำไส้ใหญ่ ดีท็อกซ์ 4) การแช่มือแช่เท้าหรือส่วนที่ไม่สบายในน้ำสมุนไพร 5)การพอก ทา หยอด ประคบ อบ อาบ เช็ด ด้วยสมุนไพร 6)การออกกำลังกาย กดจุดลมปราณ โยคะ กายบริหาร ที่ถูกต้อง 7)การรับประทานอาหารปรับสมดุล ตามภาวะร้อนเย็นของร่างกาย 8) การใช้ธรรมะ ละบาป บำเพ็ญบุญกุศล ทำจิตใจให้ผ่องใส คบมิตรดีสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี 9) การรู้พักรู้เพียร โดยหมอเขียวเรียกว่าแนวคิดหมอที่ดีที่สุดในโลกคือตัวคุณเอง (ใจเพชร กล้าจน, 2553)
|
|
วัตถุประสงค์ : |
วัตถุประสงค์
1. เพื่อทราบการรับรู้ต่อแนวคิดแพทย์วิถีธรรม ของประชาชนตำบลบึงวิชัย
2. เพื่อทราบระดับความพึงพอใจต่อแนวคิดแพทย์วิถีธรรม ของประชาชนตำบลบึงวิชัย
3. เพื่อพัฒนารูปแบบและแนวทางการจัดบริการสาธารณสุขปฐมภูมิบูรณาการด้วยแนวคิดแพทย์วิถีธรรม
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อสำรวจการรับรู้และความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ตำบลบึงวิชัยต่อแนวคิดแพทย์วิถีธรรม โดยมีกลุ่มประชากรกลุ่มเป้าหมายคือ
3.3 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
1. กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 136 คน
2. ผู้นำชุมชนผู้นำทางศาสนา 50 คน
3. ประชาชนตามจำนวนหลังคาเรือน 1,441 คน (ปชก 6,659 คน)
|
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|