ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โรคพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดี ด้วย “ธรรมนูญสุขภาพ ระดับตำบล”
ผู้แต่ง : นางปัทมาพร จิตจักร และคณะเจ้าหน้าที่ รพ.สต.น้ำบุ้น ต.กลางหมื่น ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : ในพื้นที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 7 ขอนแก่น ประกอบด้วย จังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ พบพยาธิใบไม้ตับมากตามลำดับคือคือกาฬสินธุ์ ร้อยละ 22.3 ร้อยเอ็ด ร้อยละ 18.9 มหาสารคาม ร้อยละ 16.8 และ ขอนแก่นร้อยละ11 ส่วน ตามลำดับ (สำนักงานสุขภาพแห่งชาติเขต 7 ขอนแก่น , 2558) ซึ่งแสดงว่าปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับ ยังเป็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่ และก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมาก สถานการณ์การโรคพยาธิใบไม้ตับในจังหวัดกาฬสินธุ์ พบอัตราความชุกเป็นอันดับหนึ่งของพื้นที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 7 ขอนแก่น คือ ร้อยละ 22.3 จากการคัดกรองด้วยวาจาประชาชนอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ใน อ.กมลาไสย, ฆ้องชัย,สหัสขันธ์ และอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ซึ่งมีพื้นที่อยู่ใกล้ชิดกับแหล่งน้ำ พบว่าร้อยละ 13 เคยติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ร้อยละ 87 เสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งเป็นสาเหตุการตายสำคัญของจังหวัดกาฬสินธุ์ จากสภาพทางภูมิศาสตร์ของอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ชิดกับแหล่งแม่น้ำจากเขื่อนลำปาว ลำห้วย คลอง บึง และเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ จากข้อมูลพบว่าอัตราตายต่อแสนประชากรด้วยโรคเนื้องอกร้ายที่ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ปี 2556 - 2558 เท่ากับ 53.22, 33.32, 41.15 (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ,2558) จากการรายงานโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำบุ้น พบอัตราป่วย ด้วยโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2556 – 2558 ดังนี้ 0.75, 0.63, 0.84 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ (สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ,2558) จากการดำเนินการคัดกรองพยาธิใบไม้ตับ ใน ปี 2560 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำบุ้น ตรวจพยาธิสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง 467 คน คิดเป็นร้อยละ 50.54 พบกลุ่มเสี่ยงที่ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับและได้รับยารักษา จำนวน 333 ราย คิดเป็นร้อยละ 36.8 (สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองกาฬสินธุ์,2560) จากการสถานการณ์ดังกล่าว พบอัตราการตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับที่ค่อนข้างสูง ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับและมีแนวโน้มของการเกิดโรคเพิ่มขึ้น หากไม่มีการดำเนินการควบคุมโรคอย่างจริงจังและต่อเนื่องอาจจะทำให้สถานการณ์โรคพยาธิใบไม้ตับกลับมาเป็นปัญหารุนแรงขึ้นได้อีก ดังนั้น เพื่อให้การตระหนักถึงโรคพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดี และเกิดพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับอย่างถาวร จึงจะส่งผลให้การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับในชุมชนประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้จากแนวคิดที่ว่า การที่บุคคลมีการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรค รับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือการได้รับอันตราย และมีการส่งเสริมการปฏิบัติตัวในการการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับจากแนวคิดหลักของทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของ (Becker, 1974) และได้วางแผนดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในการศึกษารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ มะเร็งท่อน้ำดี จึงมีความสำคัญต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชน โดยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับซึ่งจะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างจริงจัง  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อการพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โรคพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดี ด้วย “ธรรมนูญสุขภาพ ระดับตำบล” 2. เพื่อศึกษาผลการใช้ธรรมนูญสุขภาพตำบล ในการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดี ในเขตตำบลกลางหมื่น อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย อายุ 40 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำบุ้น อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 6 หมู่บ้าน คัดเลือกแบบจำเพาะเจาะจง (Purposive Sampling) และสมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 180 ราย  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : เป็นการวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) โดยใช้ธรรมนูญสุขภาพตำบลเป็นเครื่องมือ ในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผน ร่วมแก้ไขปัญหา เพื่อการเฝ้าระวัง ดูแลจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค แบบ “One health” ได้แก่ ด้านบุคคล สังคมและสิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ รวมถึงการจัดทำแหล่งกำจัดขยะ สิ่งปฏิกูล ตามขั้นตอนดังนี้ 1.คืนข้อมูลให้ชุมชน ผลการตรวจคัดกรองด้วยวาจา และผลการตรวจอุจจาระ 2.เปิดประเด็นให้ชุมชนแสดงความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดี 3.หามติในที่ประชุมกำหนดเพื่อเป็นแนวทางธรรมนูญสุขภาพตำบล 4.ประเมินผลของการใช้รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วย “ธรรมนูญสุขภาพ ระดับตำบล”  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ