ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : วิเคราะห์ข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : โครงการการประยุกต์ใช้ทฤษฎีลีนในการพัฒนาคุณภาพคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่าหลวง
ผู้แต่ง : ปี : 2562
     
หลักการและเหตุผล : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่าหลวง(รพ.สต.เหล่าหลวง) เป็นหน่วยงานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ตั้งอยู่ในตำบลภูดิน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีระยะทางห่างจากโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ที่เป็นแม่ข่ายและเป็นหน่วยงานระดับตติยภูมิประมาณ 30 กิโลเมตร เพื่อลดปัญหาความแออัดในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ และผู้ป่วยได้รับบริการใกล้บ้านใกล้ใจ ทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการส่งต่อเพื่อกลับมารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่าหลวงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทุกปี จากรายงานข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่รับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังปี 2558-2560 พบว่าปี2558 จำนวน 168 คน ปี2559 จำนวน 198 คน และปี 2560 เพิ่มเป็น 295 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 189 คน คิดเป็นร้อยละ 64.07 (รายงานข้อมูลโรคไม่ติดต่อ รพ.สต.เหล่าหลวง, 2560) ปัจจุบันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่าหลวง ให้บริการคลินิกโรคเรื้อรังในวันศุกร์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน โดยมีแพทย์และเภสัชกรประจำโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ออกให้บริการร่วมกับพยาบาลเวชปฏิบัติและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่าหลวง คลินิกโรคเรื้อรังมีผู้ป่วยมารับบริการเฉลี่ยวันละ 95 -110 คน ทำให้เกิดปัญหาการรอคอยนาน ถึงแม้ว่าปัญหาดังกล่าวยังไม่พบการร้องเรียนจากผู้ป่วยที่มารับบริการอย่างเป็นทางการหรือมีลายลักษณ์อักษร เนื่องจากผู้ป่วยและบุคลากรประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่าหลวงอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน และยังมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อการป้องกันปัญหาการร้องเรียนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต หากไม่มีการปรับปรุงคุณภาพบริการหรือการแก้ไขปัญหาการรอคอยนาน พยาบาลเวชปฏิบัติจึงทำการเก็บรวบรวบข้อมูลแบบสุ่มจากผู้ป่วยหรือญาติที่มารับบริการคลินิกโรคเรื้อรังตามนัด จำนวน 60 คน โดยใช้แบบการสอบถามที่มีข้อคำถามเกี่ยวกับความไม่พึงพอใจในประเด็นต่างๆ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า การให้ผู้ป่วยเดินทางไปรับยานอกบัญชียาหลักเองที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ คิดเป็นร้อยละ 100 เวลาที่ใช้ในการรอรับบริการนาน คิดเป็นร้อยละ 78 ความยุ่งยากของขั้นตอนต่างๆ ในการมารับบริการ เช่น ให้ผู้ป่วยหรือญาติค้นแฟ้มประวัติโรคเรื้อรังเอง คิดเป็นร้อยละ 63 และประเด็นที่ผู้ป่วยกังวลมากที่สุดคือ การรอคอยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดนาน คิดเป็นร้อยละ 89 อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)ในผู้ป่วยโรคเบาหวานจากการอดอาหาร (พวงทอง ไกรพิบูลย์, 2554) เพื่อรอคอยการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและเครื่องมือตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยต้องเดินทางมารอรับริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่าหลวงตั้งแต่เวลา 04.00 น. ผู้ป่วยคนแรกได้เดินทางกลับบ้านเวลา 11.00 น. และผู้ป่วยคนสุดท้ายได้กลับบ้านเวลา 17.00 น. ใช้เวลาในการมารับบริการเฉลี่ยคนละ 7 ชั่วโมง/วัน ด้านบุคลากรประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่าหลวงต้องเดินทางมาทำงานก่อนเวลาทำการเริ่มตั้งแต่เวลา 05.00 น. และได้กลับบ้านเวลา 18.00 น. เฉลี่ยเวลาทำงาน 13 ชั่วโมง/วัน ทำให้เกิดปัญหาภาระงานมากเกินไป เกิดความเครียด ขาดความสุขในการทำงาน และบุคลากรขาดความรักความสามัคคี (รายงานข้อมูลโรคไม่ติดต่อ รพ.สต.เหล่าหลวง, 2560) จากปัญหาข้างต้นจึงมีการประชุมเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่าหลวง เพื่อร่วมวางแผนและหาแนวทางวิธีการแก้ไขปัญหา สรุปว่า ต้องปรับวิธีการทำงานโดยการพัฒนาคุณภาพบริการด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีลีน (Lean theory) โดยแนวคิดของระบบการผลิตแบบลีนและหลักการของทฤษฎีลีน มีความสำคัญต่อผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการและองค์การ มีเป้าหมายสำคัญ คือ การกำจัดกิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่าให้แก่ผู้ใช้บริการ ซึ่งลีนถือว่าเป็นความสูญเปล่า (Waste) ในกระบวนการผลิต รวมถึงการกำจัดความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดพลาด ความล่าช้า และข้อจำกัดต่างๆในระบบ (เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวยและปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา, 2555) เพื่อลดขั้นตอนการบริการคลินิกโรคเรื้อรัง ส่งผลให้ผู้ใช้บริการในคลินิกโรคเรื้อรังได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเกิดความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ส่วนด้านบุคลากรเป็นการลดภาระงาน เพราะมีการทำงานล่วงเวลาแต่ไม่ได้ค่าตอบแทน(OT) รวมไปถึงการลดความขัดแย้งต่างๆที่เกิดขึ้นในองค์กร สร้างบรรยากาศการทำงานร่วมกัน ส่งผลให้เกิดความรักความสามัคคีภายในองค์กรและส่งผลดีต่อการทำงานของหน่วยงาน ก่อให้เกิดการทำงานอย่างมีความสุข และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บรรลุตามตัวชี้วัดต่างๆโดยยึดคำกล่าวที่ว่า “คนสำราญ งานสำเร็จ” (สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองกาฬสินธุ์, 2560)  
วัตถุประสงค์ : 3. วัตถุประสงค์ 1) เพื่อลดขั้นตอนและลดเวลาการให้บริการผู้ป่วยคลินิกโรคเรื้อรัง 2) เพื่อเพิ่มความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ  
กลุ่มเป้าหมาย :  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีลีนในการพัฒนาคุณภาพคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่าหลวง พบว่า สามารถพัฒนาคุณภาพคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่าหลวงในการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพส่งผลให้ ร้อยละของประสิทธิผลด้านเวลาตามมุมมองของผู้บริการในระยะก่อนและหลังการปรับเปลี่ยนกระบวนการมีความแตกต่างกัน โดยระยะเวลาในการใช้บริการก่อนปรับปรุงกระบวนการสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่มียานอกบัญชียาหลัก รพ.สต.ฯ คือ 420 นาที ส่วนผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มียานอกบัญชียาหลัก รพ.สต.ฯ คือ 720 นาที และระยะเวลาที่ใช้ภายหลังปรับปรุงกระบวนการ ลดลงเหลือ 123 นาที ในขณะที่ขั้นตอนลดลง 13 ขั้นตอน และ14 ขั้นตอน ส่วนระยะเวลาลดลง 64 เมตร และไม่มีการไปรับยานอกบัญชียาหลักของ รพ.สต.ที่ รพ.กาฬสินธุ์ ผู้ป่วยมีความความพึงพอใจในคลินิกโรคเรื้อรังที่มารับบริการโดยรวมร้อยละ 90.56 และมีการเพิ่มกิจกรรมที่มีคุณค่าตามมุมมองผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และเจ้าหน้าที่เกิดความพึงพอใจเพิ่มมากขึ้นเพราะเป็นการลดภาระงาน สรุปผล การพัฒนาคุณภาพคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่าหลวง ให้มีประสิทธิภาพได้นั้นเนื่องมาจากได้มีการประยุกต์ใช้ทฤษฎีลีนมาพัฒนาคุณภาพคลินิกโรคเรื้อรัง โดยมีขั้นตอน การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การกำหนดเป้าหมายและแผนการดำเนินงาน ขั้นที่ 2 การศึกษาการเลื่อนไหลของงานทั้งระบบ ขั้นที่ 3 การพัฒนากระบวนการบริการ ขั้นที่ 4 การจัดวางระบบใหม่ ขั้นที่ 5 การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ