|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : Clinical Tracer Highlight : การดูแลผู้ป่วยโรคหืด(Asthma) |
ผู้แต่ง : |
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนามน |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรงพยาบาลนามน เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 3เตียง จากการศึกษาฐานข้อมูลของ Easy Asthma Clinic ในปี พ.ศ. 2556 - 2558 พบว่าอัตรา Admit ร้อยละ 7.07, 9.02 และ 8.42 ตามลําดับ และอัตรา Re - Admit ในปี พ.ศ. 2556 - 2558 มีอัตราร้อยละ 1.41, 2.4 และ 0.77 อัตรากําเริบจนต้องเขามารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน ในปี พ.ศ. 2556 - 2558 มีอัตราร้อยละ 6.6, 8.75 และ 8.17 เมื่อได้ ทบทวนการดูแลผู้ป่วยพบว่า ผู้ป่วยได้รับยาไม่เหมาะสมกับระดับความรุนแรงของโรค ยังมีผู้ป่วยบางส่วนใช้ยาพ่นไม่ถูกวิธี ขาดการติดตามการรักษา นอกจากนี้ผู้ป่วยขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องโรค และ การปฏิบัติตัวที่เหมาะสม
ประเด็นคุณภาพ/ความเสี่ยงที่สําคัญ
1) การประเมินและรักษาผู้ป่วยไม่เหมาะสมกับระดับความรุนแรงของโรค
2) การใช้ยาพ่นไม่ถูกวิธ
3) ผู้ป่วยขาดการติดตามการรักษา
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1) เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการประเมินและรักษาตามมาตรฐาน GINA Guideline 2015
2) เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ยาพ่นได้อย่างถูกวิธี
3) เพื่อให้ผู้ป่วยมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง |
|
เครื่องมือ : |
ประเมินความรุนแรงของโรคโดยใช้ Peak expiratory flow rate ร่วมกับ Asthma control
questionnaires
แบบประเมินการสูบบุหรี่ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1) ผู้ป่วยโรคหืดเข้าคลินิกโรคหอบหืด( Easy Asthma Clinic ) อย่างต่อเนื่องทุกวันศุกร์ และดูแล แบบสหวิชาชีพ
2) ประเมินความรุนแรงของโรคโดยใช Peak expiratory flow rate ร่วมกับ Asthma control
questionnaires ในการจําแนกกลุ่มผู้ป่วย เพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
3) มีการประเมินการใช้ยาพ่นโดยเภสัชกรทุกราย เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ยาได้ถูกวิธี รวมไปถึงการให้ความรู้ เรื่องอาการและผลข้างเคียงจากการใช้ยาโดยพยาบาลประจําคลินิกและเภสัชกรทุกครั้งที่มารับบริการ
4) มีการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด การฝึกสอนการหายใจ โดยนักกายภาพบําบัด
5) ประเมินการสูบบุหรี่ และส่งคลินิกอดบุหรี่
6) รณรงค์ให้ผู้ป่วยมาติดตามการรักษาต่อเนื่อง และมีการออกเยี่ยมบ้านโดย Home health care
team เป็นระยะ
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
จากตัวชี้วัดที่กำหนดเปาหมายปี 2556 2557 และ 2558 ตามลำดับ พบวา 1. อัตราการ Admit ตอป <10% พบ ร้อยละ 7.07 9.2 และ 8.84 ตามลำดับ 2. อัตราการ Re- admit ใน 28 วัน <4% พบ ร้อยละ 1.41 2.4 และ 0.77 ตามลำดับ 3. อัตราการเสียชีวิต พบ ร้่อยละ 0 ในทุกปี 4. อัตราการเกิดภาวะหายใจล้มเหลว พบร้อยะ 0 ในทุกปี 5. อัตราการกําเริบที่ห้องฉุกเฉิน <15 % พบ ร้อยละ 6.6 8.75 และ 8.17 ตามลำดับ 6. อัตราการรักษาต่อเนื่อง >90% พบ ร้อยละ 43.89 46.61 และ 70.12 ตามลำดับ 7. อัตราการพ่นยาถูกต้อง 95% พบ ร้อยละ 92.93 96.97 และ 98 ตามลำดับ และ 8.อัตราผู้ป่วยในกลุ่ม well control >80% พบ ร้อยละ 81.13 80.33 และ 82.78 ตามลำดับ
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
1) พัฒนา Easy Asthma Clinic ให้เป็น one stop service
2) มีการทบทวนการวางระบบติดตามผู้ป่วยที่ไม่มาตรวจตามนัด
3) จัดอบรมเพมพูนความรู้ การดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืดให้เจ้าหน้าที่ที่สถานบริการเครือข่ายรพ.สต. 6 แห่ง และ PCU โรงพยาบาลนามน
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|