|
|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การศึกษาการดำเนินงานการป้องกันอุบัติเหตุถนน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
สว่างศิลป์ ภูหนองโอง,วรรณภา สังฆะมณี,โชคอนันต์ ป้อมศรี |
ปี : 2562 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ปัจจุบันในชุมชนเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาสภาพสังคม เศรษฐกิจ ความทันสมัยของเทคโนโลยีโดยเฉพาะด้านการสื่อสารมีการแลกเปลี่ยนกันทางวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลงด้านกายภาพของชุมชน มีประชากรเพิ่มมากขึ้น ถนนเข้าสู่หมู่บ้านเป็นถนนลาดยางหรือคอนกรีตทำให้การขับขี่ยานพาหนะสะดวกและรวดเร็วขึ้น ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายรุนแรงกว่าเดิม โรคภัยไข้เจ็บต่างๆเข้าถึงชุมชนอย่างรวดเร็ว ด้านชีวภาพ สื่อโฆษณาต่างๆมีผลต่อพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ ที่มีผลต่อสุขภาพ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตจากชนบทมาเป็นกึ่งเมือง ด้านการเกษตรได้เครื่องจักรกลผ่อนแรงและใช้สารเคมีเพิ่มมากขึ้น อาหารจากเดิมเป็นอาหารจากธรรมชาติที่หาได้ตามท้องทุ่ง ป่าเขาตามฤดูกาล เปลี่ยนเป็นอาหารที่หาได้ตามตลาด ซึ่งเป็นพืชผักที่ปลูกจากที่อื่น ใช้สารเคมีมาก นิยมซื้ออาหารบรรจุถุงและซื้ออาหารจากร้านค้ามากขึ้น ประชาชนที่ประกอบอาชีพทำนา ในช่วงฤดูกาลทำนา ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงธันวาคม เวลารับจ้างถอนกล้า ดำนาหรือเกี่ยวข้าว จะเริ่มตั้งแต่เช้า ค่าแรงวันละ 200 – 400 บาท มักจะใช้เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม ดื่มกาแฟผสมไว้เป็นกระติกดื่มได้ตามใจชอบ มีอาหารเช้า กลางวันเลี้ยงอย่างดี อาหารส่วนใหญ่เป็นอาหารพื้นบ้าน เช่นแกงอ่อมไก่ใส่หวาย แกงหน่อไม้ ลาบเนื้อ ก้อย เนื้อวัว มีของหวาน เช่นลอดช่องแตงไทย แถมท้ายด้วยผลไม้เงาะ ทุเรียน ลองกอง มังคุด ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และมักจะรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา รีบเร่งในการรับประทานอาหาร ประกอบกับต้องไปทำงานแต่เช้ามืด ต้องกินข้าวตั้งแต่ตีห้า ก่อนลงทำงานทำให้บางคนลืมกินยาหรือกินยาไม่ถูกเวลา ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารและพฤติกรรมสุขภาพอื่นๆ ที่เปลี่ยนไปเพิ่มขึ้น เช่น โรคมะเร็ง โรคอ้วน โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มมากขึ้น จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อแบบแผนการดำเนินชีวิตและแบบแผนการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน
- การป้องกันการบาดเจ็บจากการจราจรทางถนน ปี 2562 (กระทรวงสาธารณสุข) เสียชีวิต ปีละ21,000 คน เฉลี่ยวันละ 60 คน บาดเจ็บ Admit เฉลี่ยวันละ 600 คน พิการ 9,000 คน/ปี แนวโน้มการลดลงยังคงทรงตัวสาเหตุมาจาก จำนวนยานพาหนะและการสัญจรเพิ่มขึ้น , การบังคับใช้ข้อกฎหมายยังมีข้อจำกัด ,อำเภอเสี่ยงสูงมีการดำเนินงานน้อย และระดับชุมชน/บุคคล ยังไม่ตระหนัก
- เขตสุขภาพที่ 7 อำเภอเสี่ยงสูงมาก (สีแดง) 7 อำเภอ ดังนี้ อ.เมืองกาฬสินธุ์ , อ.ยางตลาด , อ.ชุมแพ , อ.เมืองขอนแก่น , อ.บรบือ , อ.เมืองมหาสารคาม และ อ.เมืองร้อยเอ็ด และอำเภอเสี่ยงสูง (สีส้ม) มีทั้งหมด 15 อำเภอ ดังนี้ อ.กุฉินารายณ์ , อ.สมเด็จ , อ.กระนวน , อ.บ้านไผ่ , อ.น้ำพอง , อ.บ้านแฮด , อ.พล , อ.หนองเรือ , อ.เชียงยืน , อ.พยัคฆภูมิพิสัย , อ.วาปีปทุม , อ.เกษตรวิสัย , อ.โพนทอง , อ.สุวรรณภูมิ และ อ.เสลภูมิ
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1.เพื่อศึกษาการดำเนินงานการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่อำเภอเขาวง |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
เครื่องมือ : |
รายงานเอกสารผลงาน, แบบสำรวจ/แบบสอบถาม, การสัมภาษณ์เจาะลึก, และสนทนากลุ่ม |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
กิจกรรมที่ 1 การจัดการข้อมูล เฝ้าระวัง วิเคราะห์ข้อมูลตามหลักระบาดวิทยา และจัดทำสถานการณ์
ในพื้นที่ระดับตำบล หมู่บ้าน
กิจกรรมที่ 2 การสอบสวนการบาดเจ็บหรือการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนกรณีเกิดเหตุการณ์ในพื้นที่ หากไม่มีเหตุการณ์ให้ใช้ข้อมูลการซ้อมแผนในพื้นที่
กิจกรรมที่ 3 มีการจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของทีมสหสาขา
กิจกรรมที่ 4 มีแผนงาน/โครงการในปีที่ดำเนินการ
กิจกรรมที่ 5 มีคณะทำงานขับเคลื่อนทีมระดับหมู่บ้านหรือระดับหน่วยงาน ในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน การเฝ้าระวังการบาดเจ็บในชุมชน การอบรมเจ้าหน้าที่อาสาสมัคร หรือหน่วยงาน หรือองค์กร
กิจกรรมที่ 6 การชี้เป้าและจัดการจุดเสี่ยง/ความเสี่ยง ต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน และมีผลการดำเนินงานจัดการจุดเสี่ยงในพื้นที่
กิจกรรมที่ 7 การดำเนินงานมาตรการชุมชน/ด่านชุมชน ตามหลัก 3 ต. (มีรายงานผลการดำเนินงาน)
กิจกรรมที่ 8 การดำเนินงานมาตรการองค์กรความปลอดภัยทางถนน
กิจกรรมที่ 9 การสื่อสารความเสี่ยง (รณรงค์ให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ป้องกันการบาดเจ็บทางถนน)
กิจกรรมที่ 10 การสรุปผลการดำเนินงาน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
การจัดการข้อมูล การเฝ้าระวังแระดับอำเภอ D-RTI ละจัดทำสถานการณ์ปัญหาสถิติการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร ในเขตอำเภอเขาวงจากกราฟแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุลดลง แต่สถิติการเสียชีวิตยังมีอยู่ ทั้งนี้คณะทำงานป้องกันการบาดเจ็บทางถนน D–RTI โรงพยาบาลเขาวงร่วมกับสาธารณสุขอำเภอเขาวงได้วางแผนขยายการดำเนินงานให้เกิด RTI รายตำบลขึ้นเพื่อลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตในปีต่อๆ ไป
แผนภูมิกราฟแสดงการเปรียบเทียบสถิติการเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตในช่วงปีใหม่ และเทศกาลสงกรานต์
ปี 2554-2561
จากกราฟแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ลดลง แต่สถิติการเสียชีวิตยังมีอยู่ ทั้งนี้คณะทำงานป้องกันการบาดเจ็บทางถนน D–RTI โรงพยาบาลร่วมกับสาธารณสุขอำเภอเขาวงจะได้นำข้อมูลดังกล่าวไปวางแผนขยายการดำเนินงานให้เกิด RTI รายตำบลขึ้นและเสนอต่อทีม ศปถ.อำเภอ และ พชอ.เพื่อขับเคลื่อนให้ลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตในปีต่อๆ ไป
จากกราฟแสดงให้เห็นว่าสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน อำเภอเขาวง ประจำปี 2562 ผ่านไป 2 ไตรมาส จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด 3 ราย ซึ่งถ้าเทียบกันดับปีก่อนหน้าถือว่ามีแนวโน้มว่าการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนอาจจะเพิ่มขึ้น จึงต้องนำข้อมูลสะท้อนต่อที่ประชุมคณะกรรมการระดับอำเภอเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา และลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุต่อไป
การสอบสวนสาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน
จากรายงานการสอบสวนการเกิดอุบัติเหตุที่เสียชีวิตของผู้บาดเจ็บทั้ง 2 รายพบว่ามีปัจจัยหลักๆ คือ อย่างคือด้านพฤติการณ์การขับรถได้แก่ ขับรถเร็ว กลับรถในเวลากระชั้นชิด ไม่สวนหมวกนิรภัยขณะขับขี่และขับรถในขณะที่มีการดื่มสุรา ส่วนปัจจัยที่สองคือสิ่งแวดล้อมคือไฟส่องสว่างไม่เพียงพอ ซึ่งทางผู้ดำเนินการได้ทำรายงานการสอบสวนส่งจังหวัดและเสนอเรื่องไฟส่องสว่างแล้ว และในส่วนที่เป็นพฤติกรรมการขับขี่ไม่ปลอดภัยจะได้ปรึกษาทางทีม ศปถ.อำเภอ เพื่อผลักดันให้เกิดมาตรการในการขับขี่ที่ปลอดภัยและมีการใช้กฎหมายให้เข้มงวดขึ้น
การขับเคลื่อนการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของทีมสหสาขา โดยการประชุมเพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ผลักดันให้เกิดมาตรการป้องกัน
ในภาพของอำเภอมีการประสานความร่วมมือของทีมสหสาขาวิชาชีพมากขึ้น มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานในภาพ คปสอ.เขาวง พชอ. คณะทำงาน ศปถ.ระดับอำเภอ และคณะทำงาน EMS ซึ่งได้มีการประชุม ชงข้อมูลสถิติในภาพของอำเภอและเสนอแนะแนวทางป้องกันร่วมกัน มีการซ้อมแผนรับอุบัติเหตุกลุ่มชนก่อนถึงเทศการปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์ มีการปฏิบัติการตามแผน ECS ในวาระสำคัญได้แก่ แผนรับเสด็จ ที่จะถึงในวันที่ 28 พฤษภาคม 2562
การชี้เป้า และจัดการจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน
จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุพบว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยในหลายพื้นที่ แต่เบื้องต้นได้ดำเนินการจัดการจุดเสี่ยงไป 3 จุดได้แก่
จุดที่ 1 ถนนเส้นทางเขาวง – นาคู บริเวณสามแยกเปรมพัฒนา สามแยกไปบ้านนาตาหลิ่ว อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
จุดที่ 2 ถนนเส้นทางเขาวง – นาคู บริเวณหน้าโรงเรียนเขาวงวิทยา
จุดที่ 3 ถนนเส้นบ้านโนนศิวิไล ตำบลกุดสิมคุ้มใหม่ ไปวิทยาลัยเทคนิคเขาวง
การดำเนินงานมาตรการชุมชน/ด่านชุมชนพื้นที่กำหนดจุดตรวจหลัก
มีการดำเนินการด่านชุมชุนในเทศกาลสำคัญได้แก่ปีใหม่และสงกรานต์ มีด่านหลัก 2 ด่าน ได้แก่ บริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธรเขาวง และบริเวณสามแยกเปรมพัฒนาเขตรอยต่อระหว่าตำบลกุดปลาค้าวและตำบลหนองผือ และมีด่านรองรายตำบลอีก 4 ด่าน ได้แก่ ด่านสามแยกเทคนิค ตำบลกุดสิมคุ้มใหม่ ด่านบริเวณหน้า อบต.คุ้มเก่า ด่านเทศบาลตำบลสระพังทอง และด่านวัดกกต้อง บ้านกุดบอด ตำบลสงเปลือย
การสื่อสารความเสี่ยง
ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน และมีการสื่อสารหลายช่องทาง ตลอดจนมีการบูรณาการเข้ากับงานอื่นๆได้ดี ต่อไปได้มีการวางแผนประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์มากขึ้นเพื่อให้เกิดกระแสการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจราจรในวงกว้างขึ้น ส่งผลถึงความตระหนักรู้ในภาวะฉุกเฉินที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|
|