ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน “เต่ากะลา”เล่านิทานก่อนนอน
ผู้แต่ง : อ๊อด ศักดิ์ศิริ, สิริกัญญา มโนนที และ อุธาทิพย์ นักธรรม ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นช่วงวัยที่มีการพัฒนาและเจริญเติบโต ได้เร็วที่สุดในชีวิตของมนุษย์หลังจากคลอด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถานการณ์ด้านการเจริญเติบโต พัฒนาการ และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน “เต่ากะลา” เล่านิทานก่อนนอนของผู้เลี้ยงดูเด็กในครอบครัว  
วัตถุประสงค์ : ศึกษาสถานการณ์ด้านการเจริญเติบโต พัฒนาการ และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน “เต่ากะลา” เล่านิทานก่อนนอนของผู้เลี้ยงดูเด็กในครอบครัว  
กลุ่มเป้าหมาย : เด็กปฐมวัย จำนวน 38 คน ผู้เลี้ยงดูเด็กในครอบครัว 38 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 6 คน ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 คน พื้นที่เป้าหมาย 1 หมู่บ้าน  
เครื่องมือ : แบบสอบถาม สมุดสีชมพู และแบบบันทึกการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุ(Developmental Surveillance and Promotion Manual: DSPM)  
ขั้นตอนการดำเนินการ : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study) โดยใช้กระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง Deming’s model ( Plan – Do – Check – Act ) ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านประดิษฐ์ตัวละครจากลูกมะพร้าว ซึ่งเป็นเศษวัสดุเหลือใช้ในชุมชน มาเป็นสื่อในการเล่านิทานก่อนนอนในเด็กปฐมวัย ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) การสังเกต (observation) การเสวนากลุ่มย่อย (Small group dialogue) และการประชุมระดมสมองและสะท้อนคิด ( Brain storming and reflection )  
     
ผลการศึกษา : ผลการศึกษาสถานการณ์เบื้องต้น พบว่า เด็กปฐมวัย ที่สำรวจทั้งสิ้น 38 คน เพศชาย ร้อยละ 60.5 เพศหญิง ร้อยละ 39.5 ผู้เลี้ยงดูเด็กในครอบครัวทั้งหมดเป็นเพศหญิง ร้อยละ 100 โดยเป็นแม่ของเด็กร้อยละ89.5 และเป็นยาย ร้อยละ 10.5 สถานภาพสมรสของผู้เลี้ยงดูเด็กทั้งหมดเป็นสมรส ร้อยละ 100 ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวขยาย มีสมาชิกอยู่ร่วมกัน 5-7 คน ร้อยละ 87.2 ประกอบด้วย พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย อายุของผู้เลี้ยงดูเด็กส่วนใหญ่ระหว่าง 20-30 ปี ร้อยละ 84.2 ระดับการศึกษา มัธยม ร้อยละ 65.8 ประถม ร้อยละ 34.2 อาชีพทำนา ร้อยละ 94.7 ค้าขาย ร้อยละ 5.3 สถานการณ์ด้านการเจริญเติบโต พบว่า เด็กปฐมวัยมีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ ร้อยละ 84.2 ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 10.5 เกินเกณฑ์ ร้อยละ 5.3 มีส่วนสูงตามเกณฑ์ค่อนข้างสูงและสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 86.8 ค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ร้อยละ 13.2 มีรูปร่างสมส่วนร้อยละ 84.2 เริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 10.5 ผอม ร้อยละ 5.3 สถานการณ์ด้านพัฒนาการ พบว่า เด็กก่อนวัยเรียน มีพัฒนาการสมวัย 5 ด้าน ร้อยละ 89.5 พัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 8.5 พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม และพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ร้อยละ 94.7 พัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ร้อยละ 92.1 พัฒนาการด้านการเข้าใจภาษา ร้อยละ 89.5 พัฒนาการด้านการใช้ภาษา ร้อยละ 86.8 หลังจากใช้เต่ากะลา มาเป็นสื่อในการเล่านิทานก่อนนอนในเด็กปฐมวัยโดยผู้เลี้ยงดูเด็กในครอบครัว เป็นระยะเวลา 4 เดือน เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านการเข้าใจภาษา และด้านการใช้ภาษา ดีขึ้นตามลำดับ  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)