|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากและพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุในเขตอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
กาญจนา หนูแก้ว1, บงกช เหลืองศรีสง่า1, ศุภศิลป์ ดีรักษา2, วิภาดา จิตรปรีดา2, เลยนภา โคตรแสนเมือง3,
รัฐติภรณ์ ลีทองดี4
|
ปี : 2563 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคในช่องปากเป็นปัญหาหนึ่งที่พบมากในผู้สูงอายุไทย จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการลดการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุ ซึ่งอาจส่งผลให้คุณภาพชีวิตในมิติช่องปากแย่ลงได้ |
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากและพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุในเขตอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ที่มีอายุ 60-74 ปีที่ขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 290 คน ระยะเวลาในการศึกษา ระหว่างวันที่
1 กันยายน ถึง 31 ตุลาคม 2562 ระยะเวลา 2 เดือน |
|
เครื่องมือ : |
แบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมด้านทันตสุขภาพ การวัดผลกระทบของสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิต และการประเมินทางทันตสุขภาพ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
เขียนเค้าโครงวิจัย ขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จาก วสส ขอนแก่น และดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ที่ได้รับการสุ่มแบบหลายชั้น (Multistage random sampling) นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายค่า จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด และสถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสมการถดถอยโลจิสติกอย่างง่าย (Simple logistic regression) เพื่ออธิบายค่า Crude OR, ค่าความเชื่อมั่น (95%CI) และค่า P-value โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.05 |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70.00 อายุเฉลี่ย 67.82+4.74 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 88.97 ทั้งนี้ พบความชุกของการสูญเสียฟัน ร้อยละ 35.52 ซึ่งผู้สูงอายุมีฟันถาวรใช้งานได้เฉลี่ย 21.29+8.73 ซี่/คน ส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุ พบว่า ด้านข้อมูลทั่วไปที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุ ดังนี้ เพศ ผู้สูงอายุที่เป็นเพศหญิง พบว่ามีการสูญเสียฟันมากกว่าเพศชาย 1.76 เท่า (95%CI= 1.05-2.96, P-value= 0.032), ระดับการศึกษา ผู้สูงอายุที่จบชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า พบว่ามีการสูญเสียฟันมากกว่าผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่าประถมศึกษา 3.23 เท่า (95%CI= 1.29-8.08, P-value= 0.011), พฤติกรรมด้านทันตสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุ คือ การเคี้ยวหมาก ผู้สูงอายุที่เคยเคี้ยวหมากหรือยังเคี้ยวจนถึงปัจจุบันพบว่ามีการสูญเสียฟันมากกว่า ผู้ที่ไม่เคยเคี้ยวหมาก 4.89 เท่า (95%CI= 2.45-9.77, P-value< 0.001), และการวัดผลกระทบของสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุที่มีระดับคะแนนของผลกระทบของสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับต่ำ-ปานกลาง พบการสูญเสียฟันมากกว่าผู้ที่มีระดับคะแนนของผลกระทบของสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับสูง 2.06 เท่า (95%CI= 1.24-3.44, P-value= 0.005) |
|
ข้อเสนอแนะ : |
การศึกษาครั้งนี้ สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปเป็นแนวทางในการวางแผนดำเนินงานส่งเสริมพฤติกรรมทันตสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุเพศหญิง และผู้สูงอายุที่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า เพื่อแก้ไขพฤติกรรมเสี่ยงด้านทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ลดโอกาสของการสูญเสียฟัน การเกิดโรคในช่องปาก และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตโดยรวมที่ดีต่อไป |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|