|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : วิเคราะห์ข้อมูล |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพขั้นพื้นฐาน คุณภาพชีวิตในมิติช่องปากและปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะทางทันตสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
ดร.ศุภศิลป์ ดีรักษา, ทพญ.วาระดิถี มังคละแสน, ทพญ.พิชุดา วีรนิธาน, วิภาดา จิตรปรีดา, จิดาภา วงศ์ไชยา, วรารัตน์ น้อยเสนา, เลยนภา โคตรแสนเมือง, รัฐติภรณ์ ลีทองดี, ทพ.ดร.วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี |
ปี : 2563 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
การสำรวจสภาวะทางทันตสุขภาพระดับประเทศครั้งที่ 8 พบว่า ผู้สูงอายุ 60-74 ปี มีฟันใช้งานอย่างน้อย 20 ซี่ ร้อยละ 56.1 เฉลี่ย 18.6 ซี่/คน หรือมีฟันหลังสบกันอย่างน้อย 4 คู่ ร้อยละ 40.2 และลดลงในผู้สูงอายุตอนปลาย อายุ 80-85 ปี มีฟันใช้งานอย่างน้อย 20 ซี่ ร้อยละ 22.4 เฉลี่ย 10.0 ซี่/คน หรือมีฟันหลังสบกันอย่างน้อย 4 คู่ ร้อยละ 12.1 ส่วนสถานการณ์ด้านทันตสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตอำเภอท่าคันโท พบว่า ผู้สูงอายุ มีฟันใช้งานอย่างน้อย 20 ซี่ ร้อยละ 43.97 หรือมีฟันหลังสบกันอย่างน้อย 4 คู่ ร้อยละ 39.67 ซึ่งถือว่ามีค่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของผู้สูงอายุในประเทศ ทั้งนี้ ปัญหาจากการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านการบดเคี้ยวเป็นอย่างมาก ซึ่งทั้งนี้สาเหตุหลักเกิดจากการขาดความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพและพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพ จึงผลต่อการเกิดโรคในช่องปาก อันนำไปสู่การสูญเสียฟันในผู้สูงอายุได้ ทั้งนี้ ปัญหาด้านทันตสุขภาพของผู้สูงอายุยังพบว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยกำหนดสุขภาพ ประกอบด้วย บุคคล สิ่งแวดล้อม และระบบบริการสาธารณสุข แนวคิดความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพ (Oral health literacy) มีบทบาทอย่างมากในการดำเนินงานด้านทันตสุขภาพในปัจจุบัน ซึ่งเป็นแนวความคิดที่พัฒนามาจากความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) ซึ่ง Nutbeam (2000) ได้แบ่งระดับความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพออกเป็น 3 ระดับ และระดับขั้นพื้นฐาน (Functional [oral] health literacy) ประกอบด้วยการเข้าถึงข้อมูลด้านทันตสุขภาพ และการประเมินความเข้าใจด้านทันตสุขภาพ ซึ่งการประเมินความเข้าใจนั้น มีเครื่องมือในการประเมินขั้นพื้นฐานที่ผ่านการแปลเป็นภาษาไทยและประเมินคุณภาพของเครื่องมือเรียบร้อยแล้ว (Thai version of Rapid Estimate of Adults Literacy in Dentistry – 30 words: ThREALD-30; Deeraksa et al, 2019) แต่พบว่ามีข้อจำกัดในการนำมาใช้ในการศึกษาในผู้สูงอายุ และ แนวคิดเรื่องคุณภาพชีวิตในช่องปาก (Oral Health-related Quality of Life) ถือเป็นแนวคิดที่สำคัญต่อการดำเนินการประเมินด้านทันตสุขภาพ ทั้งนี้ เครื่องมือคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก จำนวน 14 ข้อ สำหรับประชาชนชาวไทยวัยผู้ใหญ่ (Thai version of Oral Health Impact Profile-14 items; Thai OHIP-14, Nammontri O, 2017) ซึ่งเครื่องมือได้รับการแปลและประเมินว่าสามารถนำมาใช้ในการดำเนินการประเมินคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากได้ อีกทั้ง ปัจจัยกำหนดสุขภาพพบว่าการศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในการศึกษาด้านทันตสุขภาพของผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. วัตถุความมุ่งหมายทั่วไป
เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพขั้นพื้นฐาน คุณภาพชีวิตในมิติช่องปากและปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะทางทันตสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
2. วัตถุประสงค์เฉพาะ
3.2.1 เพื่อประเมินสภาวะทางทันตสุขภาพและความชุกของการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุในเขตอำเภอท่าคันโท
3.2.2 เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพขั้นพื้นฐาน คุณภาพชีวิตในมิติช่องปากและปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุในเขตอำเภอท่าคันโท
3.2.3 เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพขั้นพื้นฐาน คุณภาพชีวิตในมิติช่องปากด้วยการเรียนรู้เชิงกระบวนการสนทนากลุ่มเพื่อส่งเสริมสภาวะทางทันตสุขภาพของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ก่อนและหลังการทดลอง 3 เดือน ดังนี้
1) เพื่อเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพขั้นพื้นฐาน
2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในมิติช่องปาก
5) เพื่อเปรียบเทียบสภาวะทางทันตสุขภาพ
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
การศึกษาระยะที่ 1 การวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Research) ผู้สูงอายุ จำนวน 374 คน
การศึกษาระยะที่ 2 การศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experiment research กลุ่มทดลองคือผู้สูงอายุติดสังคมที่เข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จำนวน 40 คน และกลุ่มเปรียบเทียบคือผู้สูงอายุติดสังคมที่เข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลกุดจิก อำเภอท่าคันโท จำนวน 40 คน |
|
เครื่องมือ : |
ส่วนที่ 1 แบบสอบถาม จำนวน 3 หมวด ประกอบด้วย
1. ข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ข้อมูลบุคคลทั่วไป, ข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และ ข้อมูลด้านระบบบริการด้านทันตสุขภาพ
2. แบบประเมินความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพ ได้แก่ ความเข้าใจด้านทันตสุขภาพ (ThREALD-30) และ การเข้าถึงด้านทันตสุขภาพ
3. แบบประเมินคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก (Thai OHIP-14)
4. แบบประเมินพฤติกรรมทางทันตสุขภาพ โดยประยุกต์ของสำนักทันตสาธารณสุข (2555)
ส่วนที่ 2 แบบประเมินสภาวะทางทันตสุขภาพ โดยประยุกต์จาก WHO (2013)
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ระยะเตรียมการ ผู้วิจัยเตรียมก่อนการวิจัย ดังนี้
1.1 ผู้วิจัยเขียนโครงการวิจัย และขออนุญาตจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ จาก วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
1.2 ผู้วิจัยและคณะชี้แจงการวิจัยแก่คณะกรรมการบริหาร คปสอ.ท่าคันโท
1.3 เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินงานวิจัย
2. ระยะการดำเนินการ
การศึกษาระยะที่ 1
(1) ประสานงานกับพื้นที่, เก็บแบบสอบถามและสำรวจสภาวะทางทันตสุขภาพ
(2) การเก็บรวมรวมข้อมูล, จัดการข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล
การศึกษาระยะที่ 2
(1) ประสานงานกับพื้นที่, เก็บแบบสอบถามและสำรวจสภาวะทางทันตสุขภาพ
(2) ดำเนินกิจกรรมตามโปรแกรม จำนวน 4 ครั้ง ภายใน 8 สัปดาห์
(3) การเก็บรวมรวมข้อมูล, จัดการข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|