ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : เทคนิควิธีประยุกต์ใช้นวัตกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกระดับชุมชนสู่ครัวเรือน ในหมู่บ้านต้นแบบ เขตเทศบาลนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ธวัชชัย ยุบลเขต ปี : 2563
     
หลักการและเหตุผล : โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาการสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ทั้งๆที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์มาโดยตลอดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นมาตรการ 5 ป.1ข. ที่มุ่งเน้นให้ประชาชนเฝ้าระวังและป้องกันโรคในระดับครัวเรือน การสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์โดย อสม. และจ่ายแจกทรายกำจัดลูกน้ำให้กับทุกครัวเรือน แต่ก็ยังแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกได้ไม่มากนักโดยเฉพาะชุมชนในเขตเทศบาล ซึ่งมีสภาพแวดล้อมและบริบทที่แตกต่างจากชุมชนนอกเขตเทศบาล จากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานของทีมควบคุมโรคของ รพสต.นาคู พบสาเหตุที่สำคัญคือ การที่ประชาชนส่วนใหญ่ขาดความตื่นตัวในการป้องกันโรค รวมทั้งมาตรการที่ผ่านมายังไม่ตรงกับความต้องการของคนในชุมชน เห็นได้จากหลายครัวเรือนค่อยจะไม่ดำเนินการตามมาตรการที่รณรงค์เพราะไม่ค่อยมีเวลาส่วนใหญ่ต้องรีบไปประกอบอาชีพ ส่วนการใส่ทรายกำจัดลูกน้ำก็เห็นว่าทรายที่ได้รับแจกไปมีกลิ่นเหม็นอาจมีอันตรายกับตนเองและสัตว์เลี้ยงได้ หลังคาเรือนที่มีคนแก่หรือเด็กอ่อนก็จะไม่ยอมให้พ่นหมอกควันเพราะกลัวเป็นอันตราย ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.จะพยายามทำความเข้าใจกับชาวบ้านแล้วก็ตาม จากข้อค้นพบดังกล่าว จึงสนใจศึกษาบริบทและความต้องการของประชาชน กระบวนการประยุกต์ใช้นวัตกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกระดับชุมชนสู่ครัวเรือน ประสิทธิผลการใช้นวัตกรรมหรือภูมิปัญญาในการลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย และเปรียบเทียบรูปแบบของพื้นที่ที่แตกต่างกัน เพื่อนำผลการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านอื่นๆของอำเภอนาคูต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาบริบทของชุมชนและความต้องการในด้านมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออกในระดับครัวเรือน 2. เพื่อศึกษากระบวนการประยุกต์ใช้นวัตกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกระดับชุมชนสู่ครัวเรือน ในหมู่บ้านต้นแบบ เขตเทศบาลนาคู 3. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้นวัตกรรมหรือภูมิปัญญาในการลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายตลอดช่วงฤดูกาลระบาด (พ.ค.-ส.ค.) 4. เพื่อเปรียบเทียบผลของรูปแบบการประยุกต์ใช้นวัตกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนระดับครัวเรือนในพื้นที่ที่แตกต่างกัน  
กลุ่มเป้าหมาย : 1.หลังคาเรือนในหมู่บ้านต้นแบบปี 2563 จำนวน 2 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านนาคูหมู่ที่ 1 จำนวน 189 หลังคาเรือน และบ้านนาคู หมู่ที่ 10 จำนวน 158 หลังคาเรือน 2.ภาคีเครือข่ายจัดการโรคไข้เลือดออกใน 2 หมู่บ้าน ประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน ครู สมาชิกเทศบาล จำนวน 20 คน  
เครื่องมือ : เครื่องมือทดลองและเก็บข้อมูล 1.คู่มือ การใช้นวัตกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกสำหรับครัวเรือน 2.แบบสัมภาษณ์ ภาคีเครือข่าย/แกนนำครัวเรือน 3.แบบประเมินผลการใช้นวัตกรรมป้องกันโรคและสำรวจลูกน้ำยุงลายระดับชุมชน 4.แผนที่เดินดิน สถิติวิเคราะห์ 1.สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.สถิติเชิงปริมาณได้แก่ pair t-test, one way ANOVA  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการของหมู่บ้าน (ดำเนินการช่วงเดือน มี.ค.) 2. จัดประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการของหมู่บ้าน (ดำเนินการช่วงเดือน มี.ค.) 3. จัดประชาคมเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน ค้นหามาตรการ ข้อตกลงของหมู่บ้าน ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก แก่แกนนำครัวเรือน (ดำเนินการช่วงเดือน เม.ย.) 4. จัดประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเฝ้าระวัง การสำรวจลูกน้ำยุงลาย การใช้ปูนแดงกำจัดลูกน้ำปลากินลูกน้ำ การใช้น้ำหยดไม่ให้ยุงวางไข่ การใช้น้ำสมุนไพรไล่ยุง และการประยุกต์ใช้นวัตกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกระดับชุมชนสู่ครัวเรือน แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (ดำเนินการช่วงเดือน เม.ย.) 5. จัดทำคู่มือการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่ครัวเรือนจำนวน......ฉบับ (ดำเนินการช่วงเดือน เม.ย.) 6. อสม./ผู้นำชุมชน/แกนนำนักเรียนจัดกิจกรรมป้องกันโรคในหมู่บ้าน วัด โรงเรียนในช่วงฤดูกาลระบาด (ดำเนินการช่วงเดือน พ.ค.-ส.ค.) มีกิจกรรมดังนี้ 6.1 ประชาสัมพันธ์มาตรการผ่านหอกระจายข่าว 6.2 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง 6.3 แจกจ่ายและแนะนำวิธีการใช้นวัตกรรมป้องกันโรค 6.4 ทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม เก็บขยะหรือภาชนะขังน้ำที่ไม่ใช้ในครัวเรือน 6.5 ขอความร่วมมือประชาชนทุกหลังคาเรือนดำเนินการตามมาตรการของชุมชน 7. ติดตามประเมินผลการใช้นวัตกรรมป้องกันโรคและดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน ร้อยละ 30 ของหลังคาเรือนและ วัด โรงเรียนทุกแห่ง 8. จัดประชุมติดตามและคืนข้อมูลผลการดำเนินงาน ร่วมกับ คณะกรรมการดำเนินงานโครงการของหมู่บ้าน (ดำเนินการช่วงเดือน พ.ค.-ส.ค.) 9. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียนการดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนาคู  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง