ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : กระบวนมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ของภาคีเครือข่าย ชุมชนบ้านนากระเดา ตำบลสายนาวัง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : อัญญาภรณ์ ยุบลเขต ปี : 2563
     
หลักการและเหตุผล : เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโต ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยเฉพาะด้านสมองซึ่งมีการเติบโตร้องละ 80 ของผู้ใหญ่ เป็นวัยที่สำคัญเหมาะสมในการปูพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต การอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตและพัฒนาอย่างมีคุณภาพ ผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญในอบรมเลี้ยงดู ให้ความรักความเอาใจใส่ โดยเฉพาะเด็กช่วงอายุ 3 ปี เป็นโอกาสทองของชีวิต เพราะว่าสมองมีการเจริญเติบโตสูงสุด พร้อมที่จะเรียนรู้ในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม จากการประเมินพัฒนาการเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนากระเดา ปี 2562 พบเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าร้อยละ 25.75 (11คน) โดยเด็กที่ได้รับการคัดกรองมีพัฒนาการล่าช้ามากที่สุดในด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญาร้อยละ 60.24 ลองลงมาคือการใช้ภาษาร้อยละ 30.50 และด้านการเข้าใจภาษา ร้อยละ 9.26 ตามลำดับ จากสภาพปัญหาและความสำคัญดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษากระบวนการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในพื้นที่ชุมชนบ้านนากระเดา โดยใช้กระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลสายนาวัง ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและแกนนำครัวเรือน เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในพื้นที่ต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาบริบทและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี 2. เพื่อพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชน 3. เพื่อติดตามผลกระทบจากการดำเนินงานสร้างเสริมพัฒนาการเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี  
กลุ่มเป้าหมาย : 1. ผู้ปกครองและเด็กอายุแรกเกิด-5 ปี จำนวน 50 คน 2.ภาคีเครือข่ายประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลสายนาวัง ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 20 คน  
เครื่องมือ : 1. เครื่องมือในการจัดกิจกรรม ได้แก่ 1.1 หลักสูตรอบรมผู้ดูแลเด็กในครัวเรือนและเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับภาคีเครือข่าย 1.2 เครื่องมือเฝ้าระวังและกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ซึ่งพัฒนาจากภูมิปัญญาของท้องถิ่น 2. เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกภาวะพัฒนาการเด็ก,แบบประเมินการบริหารโครงการ แบบสัมภาษณ์รายบุคคล และแบบสัมภาษณ์แบบกลุ่ม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. จัดทำโครงสร้างคณะกรรมการดำเนินงาน ได้แก่ คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและพัฒนาเครื่องมือ คณะกรรมการติดตามประเมินผล เป็นต้น 2. ประชุมคณะกรรมการอำนวยการ กำหนดรูปแบบการดำเนินงาน 3. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและพัฒนาเครื่องมือสร้างเสริมพัฒนาการเด็กได้แก่ หลักสูตรอบรมผู้ดูแลเด็กในครัวเรือน วาระการประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับภาคีเครือข่ายและพัฒนาเครื่องเฝ้าระวังและกระตุ้นพัฒนาการเด็กจากภูมิปัญญาของท้องถิ่น 4. ดำเนินการจัดอบรมตามหลักสูตรอบรมผู้ดูแลเด็กในครัวเรือนและฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องเฝ้าระวังและกระตุ้นพัฒนาการเด็กจากภูมิปัญญาของท้องถิ่น 5. คณะกรรมการติดตามประเมินผลออกติดตามเยี่ยมประเมิน เสริมพลังแก่ผู้ดูและเล็กที่บ้าน 6. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประเมินทักษะการเฝ้าระวังและกระตุ้นพัฒนาการเด็กของผู้ดูแลเด็กและบันทึกภาวะพัฒนาการเด็ก 8. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่าย 9. สรุปผลการดำเนินงาน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง