|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลหนองแวง |
ผู้แต่ง : |
รัตนา หาญพรม , วรพงษ์ วิชาญ,จนท.รพ.สต.บ้านสร้างแก้ว |
ปี : 2563 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
คำว่า “คุณภาพชีวิต” เป็นคำที่ถูกกล่าวถึงบ่อยครั้ง และคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนาและมีผู้ให้ความหมายของคุณภาพชีวิตที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันไปตามทัศนะของแต่ละบุคคลดังนี้ องค์การอนามัยโลก (Murphy B.etal. 2000) กล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับ “คุณภาพชีวิต” ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ ได้แก่ 1. คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย 2. คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ 3. คุณภาพชีวิตด้านสังคม 4. คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม ในประเทศไทยเริ่มปรากฏแนวคิดเรื่องคุณภาพชีวิตเป็นครั้งแรกในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2515-2519) เนื่องจากเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาประชาชนในประเทศในฐานะที่เป็นทรัพยากรสำคัญของประเทศให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นต่อมาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540- 2544) ประเทศไทยได้หันมาเน้นพัฒนาคุณภาพของคนโดยให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทำให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นและตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550–2554) ที่เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนามนุษย์ร่วมกับการพัฒนาองค์ประกอบด้านอื่นๆ แบบองค์รวม ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรอย่างยั่งยืน
ในปัจจุบันสังคมทุกประเทศทั่วโลกได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (aging society) จากรายงานขององค์การอนามัยโลกพบว่า โครงสร้างประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุได้เพิ่มจาก ร้อยละ 10.5 ในปี ค.ศ. 1955 เป็น 12.3 ในปี ค.ศ. 1995 และคาดว่าจะสูงขึ้นถึงร้อยละ 17.2 ในปี ค.ศ. 2025 (WHO, 2009) ในประเทศไทยพบว่าสัดส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปเพิ่มขึ้นมากและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาเช่นกันจาก ร้อยละ 7.2 ในปี พ.ศ.2533 เป็น ร้อยละ 9.2 ในปี พ.ศ.2543 ร้อยละ 11.5 ในปี พ.ศ.2553 และจะเป็น ร้อยละ 15.3 ในปีพ.ศ.2563 จากการสำรวจประชากรโลกขององค์การสหประชาชาติคาดว่าประเทศไทยจะมีประชากรอายุ 65 ปี ขึ้นไป จำนวนเพิ่มขึ้นจาก 3.9 ล้านคน ในปี พ.ศ.2533 เป็น 9.9 ล้านคน ในปี ค.ศ.2563 (พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์และคณะ, 2544 อ้างถึงใน นง ลักษณ์พะไกยะ, 2551) และจากข้อมูลประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสร้างแก้ว พบว่า ในจำนวนประชากร ตำบลหนองแวง อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้งหมด 10,212 คน มีจำนวนผู้ที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 1,541 คน คิดเป็นร้อยละ 15.09 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งอัตราการเพิ่มของประชากรสูงอายุนั้นมีอัตราสูงกว่าประชากรในวัยเด็กและวัยทำงาน ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการลดลงของอัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากร โดยใช้การคาดการณ์ถึงแนวโน้มของภาวะเจริญพันธุ์เป็นเกณฑ์ พบว่าสัดส่วนการเกิดของประชากรในวัยเด็กและอัตราการตายของประชากรสูงอายุลดลงอย่างต่อเนื่อง (นภาพร ชโยวรรณ, 2542 อ้างถึงใน ศศิพัฒน์ยอดเพชร, 2549) อันเป็นผลจากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งการกระจายบริการด้านสาธารณสุขและจากนโยบายการวางแผนครอบครัวที่ส่งผลให้อัตราการเจริญพันธุ์ของประชากรลดลงจึงทำให้ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้นและจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น วัยสูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม (เกริกศักดิ์ บุญญานุพงศ์ และสุรีย์ บุญญานุพงศ์,2534) ผลจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคมจะส่งผลกระทบถึงกันและกันเป็นวงจรไม่รู้จบ มีผลให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุลดลง ดังนั้นแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุก็คือ การช่วยเหลือให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขและพึงพอใจสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม ช่วยเหลือตนเองได้ตามอัตภาพ ไม่เป็นภาระให้แก่ผู้อื่นและดำรงไว้ซึ่งการมีคุณค่าในตนเองซึ่งหมายถึงการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง(เจษฎา บุญทา,2545)
จากที่กล่าวมาข้างต้นพบว่าคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ หลายปัจจัยรวมกันมิใช่เกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้นผู้สูงอายุต้องมีการปรับตัวอย่างมาก ดังนั้น นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านสาธารณสุข จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และจัดทำงานวิจัยนี้ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ตำบลหนองแวง อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า มีความสุข และได้รับความคุ้มครองจากสังคมตลอดจนสามารถใช้เป็นแนวทางในการวางนโยบายและแผนการดำเนินงานขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่เหมาะสมต่อไปในอนาคต
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลหนองแวง อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลหนองแวง อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษา คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในพื้นที่ตำบลหนองแวง อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้สูงอายุ ตำบลหนองแวง อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 190 คนจากจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 1,541 คน โดยการใช้สูตรคำนวณขนาดตัวอย่างในกรณีที่ทราบจำนวนประชากร คำนวณได้จากสูตรของเครซี่และมอร์แกน
n =(X^2 Np(1-p))/(e^2 (N-1)+X^(2 ) p(1-p) )
เมื่อคำนวณกลุ่มตัวอย่างด้วยการแทนค่าในสูตรจึงได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่คำนวณได้ 190 คน เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูลจึงเพิ่มขนาดขึ้นอีก 10% เท่ากับ 200 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) (กัลยาวานิชย์บัญชา.2550) เป็นการกำหนดพื้นที่ที่ต้องการศึกษา ประกอบด้วย บ้านโนนชาด บ้านหนองแวง บ้านสร้างแก้ว บ้านโคกกลาง บ้านหนองขาม บ้านคำไผ่ บ้านหนองผ้าอ้อม บ้านพรสวรรค์ บ้านดงคำพัฒนา บ้านประชาสามัคคี
|
|
เครื่องมือ : |
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามปลายปิด (Close ended Questionnaire) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการค้นคว้าทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดแบบสอบถามให้สอดคล้องกับกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย โดยผู้เชี่ยวชาญในการศึกษา ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ (Reliability) หาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช (Cronbrach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.92 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ.2562 - เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563แบบสอบถามมี 5 ส่วน โดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) แบ่งเป็น 5 ระดับ ซึ่งมีการกำหนดระดับคะแนนได้แก่ มากที่สุด(5คะแนน) มาก(4คะแนน) ปานกลาง (3คะแนน) น้อย (2คะแนน) และน้อยที่สุด (1คะแนน) ได้แก่
ส่วนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ ลักษณะครอบครัว เป็นแบบสอบถามแบบปลายปิด
ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยภายในจิตใจ ได้แก่ อารมณ์และความรู้สึก ทัศนคติและการมีความหวัง เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale)
ส่วนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยสภาพแวดล้อม ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับคนในครอบครัว สัมพันธภาพระหว่างผู้สูงอายุกับเพื่อนบ้าน สภาพแวดล้อมรอบบ้าน สภาพแวดล้อมในชุมชน เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale)
ส่วนที่ 4 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยกายภาพ ได้แก่ โรคประจำตัว การได้รับการเกื้อหนุนในครอบครัว การมีบทบาทในครอบครัว รายได้เฉลี่ยของครอบครัว เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale)
ส่วนที่ 5 แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับคุณภาพชีวิต 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale)
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
รูปแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจเชิงวิเคราะห์ โดยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อมุ่งค้นหาข้อเท็จจริงจากการเก็บข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับคุณภาพชีวิต และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลหนองแวง อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|