ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : คุณภาพชีวิตและผลการรักษาของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพโดยการออกกำลังกาย(เต้นแอร์โรบิค)
ผู้แต่ง : สุจิตรา วงศ์มีแก้ว ปี : 2563
     
หลักการและเหตุผล : โรคเบาหวานจัดเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และเป็นโรคที่มีความสำคัญทางระบาดวิทยา เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากต่อมไร้ท่อ โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการสร้างหรือการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนหรือการทำงานของอินซูลินผิดปกติ ร่างกายจะมีกระบวนการเมตาบอลิซึม ทั้งคาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีนที่ผิดปกติตามมา ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในเลือดที่ได้จากอาหารไปใช้ได้ตามปกติ ผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก(WHO) ได้เล็งเห็นว่ากลุ่มโรค NCDs นั้น ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สังเกตจาก สถิติผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs ในปี พ.ศ. 2552 พบว่าสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมด มีถึง 63% ที่เกิดจากกลุ่มโรค NCDs และที่สำคัญกว่านั้นคือ กว่า 80% เป็น ประชากรของประเทศที่กำลังพัฒนา สำหรับประเทศไทยเอง สถิติล่าสุดพบว่ามีถึง 14 ล้านคนที่เป็นโรค ในกลุ่มโรค NCDs และที่สำคัญยังถือเป็นสาเหตุหลักการเสียชีวิตของ ประชากรทั้งประเทศ โดยจากสถิติปี พ.ศ. 2552 พบว่า มีประชากรเสีย ชีวิต จากกลุ่มโรค NCDs มากกว่า 300,000 คน หรือ คิดเป็น 73% ของการเสียชีวิต ของประชากรไทยทั้งหมดในปี 2552 คิดเป็นมูลค่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจถึง 200,000 ล้านบาทต่อปี ทั้งสถิติการเสียชีวิตดังกล่าวยังแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตมากกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งโลก และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต จากสถิติผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในพื้นที่เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบัวโดน ตั้งแต่ปี 2560 - 2562 พบว่า มีผู้ป่วยเบาหวาน ปี 2560 จำนวน 125 ราย, ปี 2561 จำนวน 129 ราย และปี 2562 จำนวน 132 ราย อัตราการควบคุมน้ำตาลได้ดีระดับ 70 - 130 mg/dl ร้อยละ 10 และควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี ร้อยละ 90 ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่มีภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวในทางตรงและทางอ้อม ทั้งในแง่ของสุขภาพทางร่างกาย จิตใจ สังคม และอารมณ์ เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคเรื้อรังต้องการรักษาตลอดชีวิต ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ทั้งนี้เนื่องจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้การออกกำลังกายโดยการเต้นแอร์โรบิคในการรักษาโรคเบาหวานและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยนั้นยังมีจำกัด ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาผลของการออกกำลังกายโดยการเต้นแอร์โรบิคต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานและผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบัวโดน ตำบลสมเด็จ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการรักษาผู้ป่วยโรคนี้ต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานก่อนและหลังได้รับการส่งเสริมสุขภาพโดยการออกกำลังกาย(เต้นแอร์โรบิค) 2.เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานก่อนและหลังได้รับการส่งเสริมสุขภาพโดยการออกกำลังกาย(เต้นแอร์โรบิค) 3.เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานระหว่างกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพโดยการออกกำลังกาย(เต้นแอร์โรบิค) กับกลุ่มที่ไม่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพโดยการออกกำลังกาย(เต้นแอร์โรบิค) 4.เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาของผู้ป่วยเบาหวานระหว่างกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพโดยการออกกำลังกาย(เต้นแอร์โรบิค) กับกลุ่มที่ไม่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพโดยการออกกำลังกาย(เต้นแอร์โรบิค)  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบัวโดน จำนวน 120 ราย  
เครื่องมือ : เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 2 ส่วน 1.เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปและข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน 2.แบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวาน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ผู้วิจัยนำแบบสอบถามทั้ง 2 ส่วน ใช้เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบ Random Selection จากจำนวนผู้ป่วยที่ได้ทั้งหมด เพื่อกำหนดกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลการรักษาทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทอลองก่อนเริ่มดำเนินการศึกษา ใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยเบาหวาน ทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง เมื่อได้ข้อมูลก่อนการดำเนินการครบถ้วน หลังจากนั้นแยกผู้ป่วยกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองแยกออกจากกัน โดยการนัดหมายการเข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพโดยการออกกำลังกาย(เต้นแอร์โรบิค) ในกลุ่มทดลองสัปดาห์ละ 2 วัน ๆ ละ 45 นาที ต่อเนื่องจนครบ 3 เดือน รวม 25 ครั้ง เก็บข้อมูลภายหลังการดำเนินกิจกรรมในกลุ่มทดลองครบ 3 เดือน โดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิต แบบบันทึกผลการรักษาทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลสุขภาพและคุณภาพชีวิต โดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ทดสอบควาแตกต่างข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลสุขภาพ โดยใช้สถิติ Chi-square และ T-test เปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพชีวิตและผลการรักษาก่อนและหลังการส่งเสริมสุขภาพโดยการออกกำลังกาย(เต้นแอร์โรบิค) โดยใช้สถิติ Paired-test และเปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพชีวิตและผลการรักษาระหว่างกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis)  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ