|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การจัดการโรคพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดี |
ผู้แต่ง : |
ประยัติ ศิริรักษ์ |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
จากการศึกษาแบบแผนของโรคที่เป็นภาระในประเทศไทย เมื่อวัดการสูญเสียปีสุขภาวะ (Disability adjusted life year: DALY) จำนวนปีที่มีภาวะทุพพลภาพที่สูญเสียไปเนื่องจากการตายก่อนถึงวัยอันควรและการเจ็บป่วยหรือพิการจากอุบัติเหตุในปี ๒๕๔๒พบว่าในชายไทยโรคมะเร็งตับเป็นโรคที่เป็นภาระอันดับสี่ รองจากโรคเอดส์อุบัติเหตุจราจร โรคหลอดเลือดสมอง และเบาหวานเป็นอันดับห้า สำหรับหญิงไทยโรคมะเร็งตับเป็นโรคที่เป็นภาระอันดับ ๕ รองจากโรคเอดส์ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน และโรคซึมเศร้า โรคห้าอันดับแรกที่เป็นปัญหาสุขภาพของประเทศไทยนี้คิดเป็นความสูญเสียถึง ๒.๑๖ล้านปี หรือ ๓๘% ของ DALYทั้งหมดของชายไทย และ ๑.๑๙ล้านปี หรือ ๓๑% ของ DALYทั้งหมดของหญิงไทยจากการคาดประมาณของสถาบันวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer หรือชื่อย่อว่า IARC) ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอุบัติการณ์ของมะเร็งตับระดับสูงมาก (Ferlay, et al., ๒๐๐๔) ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่าการเกิดโรคมะเร็งตับในประเทศไทยส่วนมากเป็นมะเร็งท่อน้ำดีและมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข (๒๕๕๒) รายงานว่าประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่าร้อยละ ๑๖.๖หรือประมาณการ ๘.๗ล้านคน มีการติดพยาธิชนิดนี้ขณะเดียวกันก็พบว่าอุบัติการณ์ของมะเร็งตับและท่อน้ำดี มีอุบัติการณ์ในผู้ชายสูงสุด๑๑๓.๔ในผู้หญิง ๔๙.๘ต่อประชากรแสนคน ซึ่งเป็นอุบัติการณ์มะเร็งท่อน้ำดีที่สูงที่สุดในโลก
สำหรับขนาดปัญหาระดับจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต ๗ ขอนแก่นพบว่าจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ พบมากที่สุดคือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี และแต่ละปีก็มีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้นเรื่อยๆ จากผลการสำรวจพยาธิใบไม้ตับในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบอัตราการติดพยาธิใบไม้ตับดังนี้ กาฬสินธุ์พบร้อยละ ๒๗.๔ ขอนแก่นพบร้อยละ ๑๔.๒ร้อยเอ็ดพบร้อยละ๑๑.๘ มหาสารคามพบร้อยละ๑๑.๖อัตราตายจากมะเร็งตับและท่อน้ำดีต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน ดังนี้ ร้อยเอ็ด ๕๔.๘ คน กาฬสินธุ์ ๕๐.๙ คน และ มหาสารคาม ๔๔,๙ คน และการด้ำนินงานในปี ๒๕๕๘ พบว่าอัตราความชุกพยาธิ์ใบไม้ตับของตำบลเจ้าท่าร้อยละ ๔๕.๑๔ ชึ่งสูงกว่าค่าระดับจังหวัดและประเทศมาก
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ้าท่า สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกมลาไสยร่วมกับโรงพยาบาลกมลาไสย จึงได้จัดทำ“โครงการแก้ปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี ๒๕๕6”โดยใช้งบประมาณจากเงินบำรุงและงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเจ้าท่า |
|
วัตถุประสงค์ : |
๒.๑ เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงและและผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะแรก
๒.๒ เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะแรกได้รับการวินิจฉัย/รักษา
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
๑.ประชาชน อายุ ๔๐ ปีขึ้นไป
๒.นักเรียน ป.๔-ป.๖ |
|
เครื่องมือ : |
๑.แบบคัดกรองด้วยวาจา (Verbal screening)
๒.แบบรายงานผล
๓.แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
๑.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ ๔๐ ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงโรคพยาธิใบไม้ตับด้วยวาจา
๒.ตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิในประชาชนกลุ่มเสี่ยง และ นักเรียน ป.๔-ป.๖
๓.คืนข้อมูลสู่ชุมชน
๔.ให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนในพื้นที่ในการบริโภคปลาดิบและผลิตภัณฑ์จากปลารายครัวเรือน
๕..สร้างกระแสด้วยการรณรงค์
๖.ผลักดันเป็นวาระตำบล
๗.สร้างจิตอาสาโดบกลุ่มแม่บ้านอาสานำพากินปลาสุก
๘.ประเมินผล
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ผลการตรวจอุจาระพบไข่พยาธิใบไม้ตับ ปี 2558 ตรวจอุจจาระทั้งหมด 448 คน พบติดพยาธิใบไม้ตับ 153 คน ร้อยละ 34.15 เป็นอัตราการพบพยาธิใบไม้ตับ ที่ค่อนข้างสูงมาก ในปี 2559 ตรวจอุจจาระทั้งหมด 562 คน พบติดพยาธิใบไม้ตับ 43 คน ร้อยละ 7.65 และมีการตรวจซ้าในกลุ่มที่ตรวจพบไข่พยาธิ ปี 2558 จานวน 40 ตัวอย่าง ตรวจพบไข่พยาธิ จานวน 4 ราย ร้อยละ 10 และในกลุ่มนักเรียนในเขตรับผิดชอบ ป.4 –ป.6 จานวน 63 ราย ตรวจไม่พบไข่พยาธิ ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดี ที่อัตราการพบพยาธิใบไม้ตับ มีจานวนที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพการกินปลาดิบเป็นพฤติกรรมที่คนอีสานปฎิบัติกันมานาน การที่จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงต้องทำต่อเนื่องและทำอย่างจริงจัง ชึ่งจะส่งผลให้ประชาชนปลอดโรคพยาธิใบไม้ตับและไม่ป่วยเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีในที่สุด |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|