ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การศึกษาความรู้ พฤติกรรมและ ทัศนคติการบริโภคอาหารและออกกำลังกายในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน
ผู้แต่ง : นายเนมิราช จิตรปรีดา ปี : 2563
     
หลักการและเหตุผล : การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลให้การดำเนินชีวิตและสภาวะสุขภาพของประชาชนไทยเปลี่ยนแปลงไปทั้งในทางบวกและทางลบ กล่าวคือประชาชนมีอายุไขเฉลี่ยเพิ่มขึ้น การเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อลดลง แต่ตรงกันข้ามประชาชนปัจจุบันเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคไร้เชื้อเพิ่มมากขึ้น เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิต โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และอุบัติเหตุต่างๆ สาเหตุการเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าวมีสาเหตุที่สำคัญ มาจาก พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของบุคคลขาดความสมดุล เช่น การรับประทานอาหารไขมันสูง อาหารรสหวานจัดและเค็มจัด ไม่รับประทานผัก ผลไม้ ไม่ออกกำลังกาย การใช้ชีวิตที่สะดวกสบายเกินไป และการใช้สารเสพติด เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการระบุว่าความเครียดในชีวิต ยังเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังได้ คนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังคือ ผู้มีภาวะอ้วน ผู้มีคลอเรสเตอรอลสูง ผู้มีอายุเกิน 35 ปี ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย และผู้ที่มีภาวะเครียดสูง อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมสุขภาพไม่ใช่สิ่งที่จะปรับเปลี่ยนได้ง่าย เพราะบุคคลมักจะเคยชินกับพฤติกรรมที่ปฏิบัติมานาน แม้จะมีความรู้และมีทัศนคติที่ถูกต้อง ก็อาจไม่ปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ตัวอย่างเช่น คนมีความรู้ว่า การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพ รวมถึงรู้สึกว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีและควรทำ แต่ก็มีคนจำนวนมากที่ไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ด้วยเหตุผลในเรื่องของเวลา ความขี้เกียจ ความจำกัดด้านสถานที่ เป็นต้น จึงเห็นได้ว่าการปรับเปลี่ยนความรู้ และทัศนคตินั้น ไม่เพียงพอต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ที่ผ่านมาบุคลากรสาธารณสุขที่รับผิดชอบโครงการด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มักให้ความสำคัญกับการให้ความรู้และปรับทัศนคติเท่านั้น ทำให้ไม่เกิดผลลัพธ์ที่ดี มีทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพมากมายที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายพฤติกรรมสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน และสามารถนำมาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหว้านพัฒนา จึงได้มีการศึกษาความรู้พฤติกรรมและ ทัศนคติในกลุ่มเสี่ยงโรคความดัน เบาหวาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปเป็นแนวทางเพื่อดำเนินการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการป้องกันความเสี่ยงต่อโรค ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาความรู้ พฤติกรรมและทัศนคติในกลุ่มเสี่ยงโรคความดัน เบาหวาน 2. เพื่อนำผลการศึกษาไปเป็นแนวทางเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง  
กลุ่มเป้าหมาย : 1. ประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดัน เบาหวาน ใน7 หมู่บ้านในเขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหว้านพัฒนา ตำบลบ่อแก้ว อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 110 คน  
เครื่องมือ : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey reserach) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ความรู้ พฤติกรรม และทัศนคติ โดยมีข้อมูลแบ่งได้ 3 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลประกอบด้วย เพศ อายุ การศึกษา ศาสนา รายได้ และอาชีพ ส่วนที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย จำนวน 6 ข้อ ส่วนที่ 3 พฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย จำนวน 10 ข้อ โดยมีการให้น้ำหนักคะแนนการสัมภาษณ์ดังนี้ ระดับคะแนน 5 หมายถึง ได้ปฏิบัติในข้อนั้นๆมากที่สุด (ปฏิบัติทุกวันใน 1 สัปดาห์) ระดับคะแนน 4 หมายถึง ได้ปฏิบัติในข้อนั้นๆมาก (ปฏิบัติ 5-6 วันใน 1 สัปดาห์) ระดับคะแนน 3 หมายถึง ได้ปฏิบัติในข้อนั้นๆปานกลาง (ปฏิบัติ 3-4 วันใน 1 สัปดาห์) ระดับคะแนน 2 หมายถึง ได้ปฏิบัติในข้อนั้นๆน้อย (ปฏิบัติ 1-2 วันใน 1 สัปดาห์) ระดับคะแนน 1 หมายถึง ไม่ได้ปฏิบัติในข้อนั้นๆเลย (คำถามที่เป็นเชิงลบในข้อที่ 3,4,5,6,7,8และ9 ให้แทนค่าระดับคะแนนดังนี้) ระดับคะแนน 5 หมายถึง ผู้ตอบไม่ได้ปฏิบัติในข้อนั้นๆเลย ระดับคะแนน 4 หมายถึง ผู้ตอบได้ปฏิบัติในข้อนั้นๆน้อย (ปฏิบัติ 1-2 วันใน 1 สัปดาห์) ระดับคะแนน 3 หมายถึง ผู้ตอบได้ปฏิบัติในข้อนั้นๆปานกลาง (ปฏิบัติ 3-4 วันใน 1 สัปดาห์) ระดับคะแนน 2 หมายถึง ผู้ตอบได้ปฏิบัติในข้อนั้นๆมาก (ปฏิบัติ 5-6 วันใน 1 สัปดาห์) ระดับคะแนน 1 หมายถึง ผู้ตอบได้ปฏิบัติในข้อนั้นๆมากที่สุด(ปฏิบัติทุกวันใน 1 สัปดาห์) เกณฑ์ของคะแนนรายข้อ กำหนดจากจุดกึ่งกลางของคะแนน 5 อันดับ ของแบบสอบถามดังนี้ คะแนนเฉลี่ยในช่วง 1.00 – 1.49 คะแนน หมายถึงมีพฤติกรรมอยู่ในระดับน้อยที่สุด คะแนนเฉลี่ยในช่วง 1.50 – 2.49 คะแนน หมายถึงมีพฤติกรรมอยู่ในระดับน้อย คะแนนเฉลี่ยในช่วง 2.50 – 3.49 คะแนน หมายถึงมีพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ยในช่วง 3.50 – 4.49 คะแนน หมายถึงมีพฤติกรรมอยู่ในระดับดี คะแนนเฉลี่ยในช่วง 4.50 – 5.49 คะแนน หมายถึงมีพฤติกรรมอยู่ในระดับดีที่สุด ส่วนที่ 4 แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย จำนวน 5 ข้อ ระดับคะแนน 4 หมายถึง ผู้ตอบเห็นด้วยมากที่สุดกับข้อนั้นๆ ระดับคะแนน 3 หมายถึง ผู้ตอบเห็นด้วยกับข้อนั้นๆ ระดับคะแนน 2 หมายถึง ผู้ตอบเห็นด้วยน้อยกับข้อนั้นๆ ระดับคะแนน 1 หมายถึง ผู้ตอบเห็นด้วยน้อยที่สุดกับข้อนั้นๆ (คำถามที่เป็นเชิงลบในข้อที่ 2,3,4 และ 5 ให้แทนค่าระดับคะแนนดังนี้) ระดับคะแนน 4 หมายถึง ผู้ตอบเห็นด้วยน้อยที่สุดกับข้อนั้นๆ ระดับคะแนน 3 หมายถึง ผู้ตอบเห็นด้วยกับข้อนั้นๆ ระดับคะแนน 2 หมายถึง ผู้ตอบเห็นด้วยมากกับข้อนั้นๆ ระดับคะแนน 1 หมายถึง ผู้ตอบเห็นด้วยมากที่สุดกับข้อนั้นๆ เกณฑ์ของคะแนนรายข้อ ของแบบสอบถามมีดังนี้ คะแนนเฉลี่ยในช่วง 1.00 – 1.49 คะแนน หมายถึงมีทัศนคติอยู่ในระดับน้อยที่สุด คะแนนเฉลี่ยในช่วง 1.50 – 2.49 คะแนน หมายถึงมีทัศนคติอยู่ในระดับน้อย คะแนนเฉลี่ยในช่วง 2.50 – 3.49 คะแนน หมายถึงมีทัศนคติอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ยในช่วง 3.50 – 4.49 คะแนน หมายถึงมีทัศนคติอยู่ในระดับมากที่สุด  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. เลือกกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการคัดกรองความเสี่ยง 2. ผู้ศึกษาได้ทำการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 3. นำข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้อง 4. สรุปข้อมูลจากการสัมภาษณ์เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูล  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ