ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : จุฑามาส คำไสว ปี : 2563
     
หลักการและเหตุผล : ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และคาดการณ์ว่าจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ และสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด ในปี พ.ศ. 2564 และปี พ.ศ. 2578 ตามลำดับ จากแนวโน้มประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นทำให้ส่งผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามมา ทั้งนี้เนื่องจากผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ทำให้ผู้สูงอายุมีปัญหาด้านภาวะสุขภาพ แม้ว่าความชรา ไม่ใช่โรค แต่เป็นความต่อเนื่องของชีวิตที่ทำให้มีข้อจำกัดในการดูแลตนเองเกิดภาวะเจ็บป่วยหรือโรคในระบบต่างๆ เนื่องจากเกิดความเสื่อมของร่างกาย เช่น การเคลื่อนไหวช้าลง กระดูกบางหักง่าย การมองเห็นไม่ชัด มีโรคประจำตัว สมองฝ่อเล็กลง ผู้สูงอายุหลงๆ ลืมๆ ย้ำคิดย้ำทำ ต้องพึ่งพาผู้อื่น สูญเสียบทบาทในฐานะผู้นำ ประกอบกับในปัจจุบันสภาพสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปทำให้ผู้สูงอายุต้องอยู่เพียงลำพัง ทำให้ผู้สูงอายุคิดว่าตนเองไร้ค่า เกิดความว้าเหว่ และท้อแท้ในชีวิต ซึ่งอาจจะมีปฏิกิริยาแยกตัวจากสังคมได้ (จรัสวรรณ เทียนประภาส และพัชรี ตันศิริ,2536) จากการศึกษาของโอไบอัน (O Brain cited in Butler,1987) พบว่า บุคคลที่อายุเกิน 65 ปี 4 ใน 5 คน จะมีโรคประจำตัว 1 โรค หรือมากกว่านั้น สอดคล้องกับการศึกษาของนภาพร ชโยวรรณ และมาลินี วงษ์สิทธิ์ (2532) ที่พบว่า 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวหลายโรค และโรคประจำตัวของผู้สูงอายุที่พบบ่อย คือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ และข้อเสื่อม ตามลำดับ ดังนั้น ผู้สูงอายุจึงเป็นกลุ่มประชากรที่ควรได้รับความสนใจในการให้บริการเพื่อลดอัตราเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย เกิดภาวะพึ่งพาผู้อื่น และการส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ปัญหาสุขภาพ โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุพบได้บ่อย แต่สามารถป้องกันได้ หรือเมื่อเป็นโรคดังกล่าวแล้วถ้าสามารถปฏิบัติตัวให้เหมาะสมกับโรคที่ตนเองเป็นก็จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เหมือนคนปกติ และไม่เกิดอันตรายจากภาวะแทรกซ้อน จากผลการสำรวจและศึกษาภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุจำนวน 4 ภาคในประเทศไทย(สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ,2549) พบว่า ผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสถิติการเจ็บป่วยเป็นอับดับที่ 2 จำนวน 2,431 คน จากการศึกษาทั้งหมด 9,461 คนโดยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นสถานบริการสาธารณสุขขั้นปฐมภูมิที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพหลังการเจ็บป่วยให้กับประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จำนวนโรงเรียนผู้สูงอายุ 1 แห่งซึ่งมีจำนวนสมาชิก 90 คนและมีแนวโน้มที่จะมีสมาชิกเพิ้มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นผู้วิจัยซึ่งเป็นบุคคลากรของสาธารณสุข จึงตระหนักถึงความสำคัญของภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ เพราะถ้าผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมให้มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมจะช่วยชะลอความเสื่อมถอยของร่างกาย และเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากความสูงวัย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูประบบสุขภาพซึ่งเน้นการให้บริการเชิงรุกมากกว่าการรับ คือเน้นให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ สนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพในด้านต่างๆเช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การตรวจคัดกรองในกลุ่มเสี่ยง เป็นต้น ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ทำศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อให้ทราบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุและสามารถนำข้อมูลพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ดังกล่าว มาเป็นแนวทางในการวางแผนและพัฒนารูปแบบการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ได้ตรงกับปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ อายุระหว่าง 60 ปี ถึง 74 ปี จำนวน 38 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2562 – กุมภาพันธ์ 2563  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ :  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง