ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การศึกษาวิจัยเป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการ โดยใช้กิจกรรมการเข้ากลุ่มอบรมแบบมีส่วนร่วมเป็นกลุ่มทดลองในชุมชน ร่วมกับการศึกษาพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของกลุ่มสี่ยงติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ กลุ่มผู้รับประทานปลาเก็ดขาวดิบๆสุก ปลาร้าดิบ
ผู้แต่ง : จงจิตร คำสุริย์,เฉลิมพล โพธิ์สาวัง ปี : 2563
     
หลักการและเหตุผล : ตำบลท่าคันโท อำเภอท่าคันโทโรคมะเร็งท่อน้ำดีเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของโรคมะเร็งทุกชนิดในประเทศไทยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ โดยพบในผู้ชาย 135 คนต่อประชากร 100,000 คน และในผู้หญิง 48 คน ต่อประชากร 100,000 คนซึ่งเป็นอุบัติการณ์ที่สูงที่สุดในโลก ในแต่ละปีมีผู้ป่วยชาวอีสานเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีราวๆ 14,000 คน และจังหวัดกาฬสินธุ์มีอัตราตาย 50.9 อยู่ใน 5 อันดับแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสถิติอำเภอท่าคันโทมีอัตราป่วยด้วยโรคมะเร็ง 10 ปีย้อนหลัง พบมะเร็งท่อน้ำดีอันดับที่ 1 ของโรคมะเร็งทั้งหมด รองลงมามะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ อัตราป่วยร้อยละ 27.81, 10.65, 10.06, 9.47 และ5.92 ตามลำดับ ผู้วิจัยจึงนำแนวคิดทฤษฎีทั้งสองมาประยุกต์ใช้เป็นโปรแกรมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ และได้นำรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาใช้ในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในกลุ่มผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแกนนำสุขภาพประจำครัวเรือนที่มาจาก ผู้นำชุมชน นักปราญน์ อาสาสมัครสาธารณสุข และตัวแทนครัวเรือน กลุ่มติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ จัดกระบวนการเรียนรู้ตามโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  
วัตถุประสงค์ : 1.ความรู้/การรับรู้ด้านสุขภาพ/พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในตำบลท่าคันโท 2.รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่กินปลาดิบแบบมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน ของกลุ่มติดเชื้อพยาธิใบ ไม้ตับ  
กลุ่มเป้าหมาย : การสุ่มตัวอย่างโดยการคัดเลือกหมู่บ้านชุมชน หมู่ที่ 6 ตำบลท่าคันโท ที่จะศึกษาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) โดยวิธีการคัดเลือกจากพฤติกรรมการกินปลาเกร็ดขาวดิบๆสุกๆ ปลาร้าดิบ ร้อยละ 91.7 มีผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับร้อยละ 4.52 1) ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ระยะพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพประจำครัวเรือน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ อาสาสมัครสาธารณสุข 27 คน และกลุ่มผู้ติดเชื้อ จำนวน 18 คน และกลุ่มตัวอย่างทำการสุ่มอย่างง่ายด้วย จำนวน 15 คน ด้วยวิธีการจับฉลากรายชื่อแบบไม่ส่งคืน โดยกำหนดคุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่างดังนี้ 1)กลุ่มประชาชนอายุ 40 ปีขึ้นไปอาศัยชุมชนหมู่ 6 ตำบลท่าคันโท 2)มีประวัติรับประทานปลาดิบ หรือสุกๆดิบๆ 3)เป็นผู้ตรวจอุจจาระไม่พบไข่พยาธิใบไม้ตับ 4)สามารถอ่านออกเขียนได้ 5)ยินยอมเข้าร่วมการวิจัย จำนวนทั้งหมด 15 คน  
เครื่องมือ : การวิจัยเป็นการวิจัยแบบกิ่งทดลอง(Quasi-experimental research) แบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 คืนข้อมูลภาวะสุภาพปัญหาชุมชน สถานการณ์โรคพยาธิใบไม้ตับ โรคมะเร็งท่อน้ำดี พฤติกรรมสุขภาพในการก่อให้เกิดโรค ในเวทีประชาคมหมู่บ้าน เกิดข้อตกลงในชุมชน เกิดนโยบายสุขภาพในชุมชน ดังนี้ นโยบายสาธารณะ -งานบุญ งานศพปลอดปลาดิบทุกหมู่บ้าน ถ้าไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ปรับไหมงานละ 1,000 บาท -ร้านส้มตำในชุมชนปลอดปลาร้าดิบ ถ้าไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงจะยึดป้ายตำส้มอนามัยและร้านอาหารไม่ได้มาตรฐาน -ทุกครัวเรือน งดปรุงประกอบและบริโภคปลาดิบ ถ้าพบว่ามีครัวเรือนที่บริโภคปลาดิบ ครั้งแรกผู้นำชุมชน อสม.ตักเตือน หากยังไม่ปฏิบัติตามกติกา จะไม่ได้รับความช่วยเหลือ -ทุกครัวเรือนทำปลาร้าหมักนาน 6 เดือนขึ้นไป ถ้าพบว่ามีครัวเรือนไม่ปฏิบัติตาม ระยะที่ 2 ระยะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่กินปลาดิบ จำนวน 27 คน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ จำนวน 18 คน และกลุ่มมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคมะเร็งท่อน้ำดี 15 คน ระยะที่ 3 สื่อสุขศึกษาเตือนใจถึงครัวเรือนโดยอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 27 คน ถึงครัวเรือน สู่ชุมชน แผ่นสติ๊กเกอร์ขนาด 21 ซม.x 29.7 ซม. เนื้อหาสื่อถึงการป้องกัน ผลกระทบพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบทำให้เกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี  
ขั้นตอนการดำเนินการ : เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1.เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง(Intervention) โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่กินปลาดิบโดยชุมชนมีส่วนร่วมแบบยั่งยืน 1)คืนข้อมูลภาวะสุขภาพชุมชนในเวทีประชาคมหมู่บ้าน จำนวน 1 วัน 2)ระยะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สัปดาห์ที่ 1 เป็นการบรรยายให้ความรู้รื่องโรคพยาธิใบไม้ตับและกิจกรรมการสร้างการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ มีการรับชมวีดีทัศน์ จัดกิจกรรมสนทนากลุ่มระหว่างกลุ่มระหว่างกลุ่มตัวอย่างกับผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี เพื่อเสริมสร้างการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ ร่วมวิเคราะห์การเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ และร่วมทำพันธสัญญาไม่กินปลาดิบ และแจกสติ๊กเกอร์เตือนใจถึงครัวเรือน สัปดาห์ที่ 2 กิจกรรมความรู้การป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ การปรุงอาหารและการเลือดซื้ออาหาร สุขบัญญัติ 10 ประการ สัปดาห์ที่ 3 จัดกิจกรรมเมนูอาหารปรุงสุก เป็นกิจกรรมการบรรยายเรื่องการประกอบอาหารให้สุก สะอาด ถูกสุขลักษณะ และการสาธิตการทำร้าต้มสุก และประกวดส้มตำลีลาปลาร้าต้มสุก สัปดาห์ที่ 4 จัดกิจกรรมติดตามเยี่ยม ติดตาม และให้สุขศึกษาโดยแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข โดยแผ่นสติ๊กเกอร์เตือนใจถึงครัวเรือนแก่กลุ่มทดลอง และทุกครัวเรือนที่ไม่กินปลาดิบในชุมชนหมู่ที่ 6 ตำบลท่าคันโท สัปดาห์ที่ 12 ติดตามตรวจอุจจาระซ้ำในกลุ่มที่ตรวจพบการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ และกลุ่มโอกาสติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ มอบรางวัลและมอบใบประกาศเกียรติคุณในการชื่นชมบุคลต้นแบบไม่กินปลาดิบ 2)เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถามประกอบด้วย 7 ส่วน ดังนี้ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 แบบสอบถามความรู้ ส่วนที่ 3 ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับ ส่วนที่ 4 พฤติกรรมเสี่ยงเกี่ยวข้องกับโรคพยาธิใบไม้ตับ 4.1พฤติกรรมการับประทานอาหารเสี่ยง 4.2พฤติกรรมการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ 4.3ระยะเวลาของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเลิกกินอาหารดิบ ส่วนที่ 5 ช่องทางการรับรู้ข่าวสาร โดยแบบสอบถามสร้างขึ้นโดยศูนย์ควบโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ