ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
ผู้แต่ง : จิตติมา ไร่บูลย์ ปี : 2563
     
หลักการและเหตุผล : โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะมีการระบาดอยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชียมายาวนานจนกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขในระดับประเทศ และมีความสำคัญมากโรคหนึ่ง ซึ่งในแต่ละปีพบจำนวนประชาชนที่เจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทางการแพทย์ระบุว่าผู้ที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกที่มีอาการรุนแรง อาจส่งผลต่อการเกิดภาวะช็อกจากภาวการณ์รั่วของพลาสมา จนกระทั่งส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว หากไม่ได้รับการรักษาและวินิจฉัยอย่างถูกต้อง เชื้อไวรัสเดงกี่จะสามารถแพร่จากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคถึงแม้จะมียุงลายหลายชนิดที่สามารถแพร่เชื้อได้แต่ที่มีความสำคัญทางด้านระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกคือยุงลายสายพันธุ์อีดี่อียิปไตท์ (Aedesaegypti) ซึ่งเป็นยุงที่มีความใกล้ชิดกับคนมาก (Highly anthropophagic) นอกจาก นี้การเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมีผลกระทบต่อฐานะทางเศรษฐกิจการประกอบอาชีพของผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งมีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายภาครัฐ ในด้านการรักษาพยาบาล ทั้งๆที่โรคนี้เป็นโรคที่ประชาชนโดยเฉพาะในระดับชุมชน หมู่บ้าน ต้องมีความรู้ ความตระหนักและร่วมมือกันช่วยลดพาหะนำโรคไข้เลือดออก โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างจริงจัง สม่ำเสมอและต่อเนื่อง การร่วมมือกันทำกิจกรรมดังกล่าวได้นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานที่รับผิดชอบและประชาชนต้องมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้อง (กรมควบคุมโรค, 2551) สำหรับประเทศไทยโรคไข้เลือดออกระบาดใหญ่ครั้งแรกในปี พ.ศ.2501 พบผู้ป่วยประมาณ 2,000 รายอัตราป่วยตาย ร้อยละ 14 ในระยะ 5 ปี ต่อจากนั้นก็มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกการระบาดเป็นแบบปีหนึ่งสูงและปีถัดมาลดต่ำลง หลังจากนั้นโรคไข้เลือดออกได้แพร่กระจายตามต่างจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่ มีประชากรหนาแน่นและการคมนาคมสะดวก โรคไข้เลือดออกแพร่กระจายอย่างรวดเร็วจนในที่สุดก็พบวามีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกทุกจังหวัดของประเทศไทย และรูปแบบการระบาดของโรคได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทีเป็นแบบปี เว้นปี มาเป็นแบบสูง 2 ปี แล้วลดต่ำลง หรือลดต่ำลง 2 ปี แล้วเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2501 พบว่า มีอัตราป่วยสูงขึ้น อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก เพิ่มจาก 10.77 ต่อประชากรแสนคน ในปี พ.ศ.2501 – 2510 เป็น 33.45 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ระหว่าง พ.ศ.2511-2520 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อัตราป่วยเฉลี่ย 97.39 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ในปี2521-2530 เพิ่มขึ้นเป็น 103.1 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ในปี พ.ศ.2531-2540 มีการระบาดอย่างรุนแรงถึง 2ครั้ง คือ ระหว่างปี พ.ศ.2541 และ 2544 มีอัตราป่วย 211.42 และ 255.82 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ตามลำดับ (กระทรวงสาธารณสุข, 2544) จากข้อมูลดังกล่าวปัญหาที่พบในประเทศไทยยังพบผู้ที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้ว่าโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ในช่วงทศวรรษที่ 6 เป็นช่วงที่มีการระบาดใหญ่รองจากปี พ.ศ.2530 คือในปี พ.ศ.2556 พบว่า จำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 154,444 ราย เสียชีวิต 136 ราย กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ดำเนินการเปิดศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน เพื่อเร่งรัดดำเนินการในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่เกิดโรครวมทั้งขอความร่วมมือการดำเนินการเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรค จากหน่วยงานเครือข่ายต่างๆ ทำให้สถานการณ์ในปี พ.ศ.2557มีแนวโน้มดีขึ้น สถานการณ์โรคไข้เลือดออกปี พ.ศ.2561 (ข้อมูลจากระบบรายงานโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ณ วันที่ 10 มกราคม 2562) มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (Dengue fever: DF, Dengue hemorrhagic fever: DHF, Dengue shock syndrome: DSS) สะสมรวม 85,849 ราย เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 1,019ราย อัตราป่วย129.96 ต่อประชากรแสนคน มีการรายงานจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกมากกว่าปี 2560 ณ ช่วงเวลาเดียวกัน ร้อยละ 61 (1.6เท่า) ผู้ป่วยเสียชีวิต 111 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.13 การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกตามกลุ่มอายุ ส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุ 10-14 ปี มีอัตราป่วยสูงสุดคือ 438.44 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาได้แก่กลุ่มอายุ 5-9 ปี (344.36), อายุ 15-24 ปี (237.38) อายุ 0-4 ปี (150.61) และอายุ 25-34 ปี (122.48) ตามลำดับ สัดส่วนอาชีพที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียนร้อยละ 48.40รองลงมาคืออาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 19.23) ผู้ป่วยเพศชาย 44,237 ราย เพศหญิง 40,592 ราย คิดเป็นอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1 : 0.92 การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกรายภาค พบว่าภาคกลาง มีอัตราป่วยสูงที่สุด เท่ากับ 162.93 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วย 36,339 ราย รองลงมา ได้แก่ ภาคใต้อัตราป่วย 141.71 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วย 13,279 ราย ภาคเหนือ อัตราป่วย 135.51 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วย 16,828 ราย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อัตราป่วย 88.33 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วย 19,403 ราย ตามลำดับ(กรมควบคุมโรคติดต่อ, 2561) สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในจังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 - 2560 พบว่ามีการระบาดอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ.2561 พบผู้ป่วยจำนวน 651 คน อัตราป่วย 66.05 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 2 ราย อัตราตาย 0.20 ต่อแสนประชากร สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในอำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ในปี 2561 พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จำนวน 5 ราย คิดเป็น อัตราป่วยเท่ากับ 16.35 ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้เสียชีวิต แต่ก็ยังพบปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อครอบครัว ต่อชุมชน ทำให้ครอบครัวต้องประสบกับภาวะยากลำบากในการดูแลบุคคลในครอบครัว ดังนั้น การที่จะลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำเป็นต้องอาศัยเทคนิควิธีการ หรือกระบวนการที่จะดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงานรวมทั้งผู้นำชุมชนด้านสุขภาพมีการประสานงานและสร้างความร่วมมือด้วยกันโดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ด้วยเหตุผลที่กล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้งจังหวัดกาฬสินธุ์เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้มาใช้เป็นแนวทางและกำหนดนโยบาย ในการพัฒนาความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก อสม. ตลอดจนถึงการนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการปฏิบัติงานป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้อย่างมีประประสิทธิผลต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีชื่อในระบบ อสม.ตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 126 คน  
เครื่องมือ : เครื่องมือสำหรับการวิจัยในครั้งนี้ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ศึกษาสร้างขึ้นโดยกำหนดข้อคำถามให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยและกรอบแนวคิดในการวิจัยซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ส่วนที่ 1 คุณลักษณะประชากรส่วนบุคคลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพศ, อายุ, สถานภาพสมรส,การศึกษา, อาชีพ, รายได้ของครอบครัว,ระยะเวลาที่ท่านเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, จำนวน 7 ข้อ ส่วนที่ 2 ปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ลักษณะข้อคำถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด จำนวน 5 ข้อ มีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ เกณฑ์การให้คะแนน ข้อความเชิงบวก ข้อความเชิงลบ มากที่สุด ให้คะแนน 5 1 มาก ให้คะแนน 4 2 ปานกลาง ให้คะแนน 3 3 น้อย ให้คะแนน 2 4 น้อยที่สุด ให้คะแนน 1 5 เกณฑ์การแปลความหมาย ใช้เกณฑ์แปลผลตามแนวความคิดของBest (Best, 1997) โดยใช้ค่าคะแนนสูงสุดลบด้วยค่าคะแนนต่ำสุด และนำมาหารด้วยจำนวนกลุ่มหรือระดับการวัดที่ต้องการ 5 ระดับ ดังนี้ คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ำสุด ระดับที่ต้องการวัด แรงจูงใจระดับสูงสุด ค่าคะแนน 4.21 – 5.00 แรงจูงใจระดับสูง ค่าคะแนน 3.41 – 4.20 แรงจูงใจระดับปานกลาง ค่าคะแนน 2.61 – 3.40 แรงจูงใจระดับต่ำ ค่าคะแนน 1.81 – 2.60 แรงจูงใจระดับต่ำสุด ค่าคะแนน 1.00 – 1.80 ส่วนที่ 3 แบบสอบถามแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ลักษณะข้อคำถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) แบ่งเป็น 5 ระดับคือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด จำนวน 10 ข้อ มีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ เกณฑ์การให้คะแนน ข้อความเชิงบวก ข้อความเชิงลบ มากที่สุด ให้คะแนน 5 1 มาก ให้คะแนน 4 2 ปานกลาง ให้คะแนน 3 3 น้อย ให้คะแนน 2 4 น้อยที่สุด ให้คะแนน 1 5 เกณฑ์การแปลความหมาย ใช้เกณฑ์แปลผลตามแนวความคิดของBest (Best, 1997) โดยใช้ค่าคะแนนสูงสุดลบด้วยค่าคะแนนต่ำสุดและนำมาหารด้วยจำนวนกลุ่มหรือระดับการวัดที่ต้องการ 5 ระดับ ดังนี้ คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ำสุด ระดับที่ต้องการวัด แรงจูงใจระดับสูงสุด ค่าคะแนน 4.21–5.00 แรงจูงใจระดับสูง ค่าคะแนน 3.41 – 4.20 แรงจูงใจระดับปานกลาง ค่าคะแนน 2.61 – 3.40 แรงจูงใจระดับต่ำ ค่าคะแนน 1.81 – 2.60 แรงจูงใจระดับต่ำสุด ค่าคะแนน 1.00 – 1.80 ส่วนที่ 4 การปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ลักษณะข้อคำถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบ่งเป็น 3 ระดับคือ ปฏิบัติสม่ำเสมอ ปฏิบัติบางครั้ง ไม่เคยปฏิบัติ จำนวน 10 ข้อ มีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ เกณฑ์การให้คะแนน ข้อความเชิงบวก ข้อความเชิงลบ ปฏิบัติสม่ำเสมอ ให้คะแนน 3 1 ปฏิบัติบางครั้ง ให้คะแนน 2 2 ไม่เคยปฏิบัติ ให้คะแนน 1 3 เกณฑ์การแปลความหมาย ใช้เกณฑ์แปลผลตามแนวความคิดของBest (Best, 1997) โดยการประยุกต์หาช่วงคะแนนในชั้นมีการให้คะแนนเป็นระดับคะแนนต่ำสุด 1 คะแนน คะแนนสูงสุด 3 คะแนน การหาช่วงคะแนนแต่ละชั้นแบ่งเป็น 3 ระดับ โดยนำคะแนนสูงสุดลบด้วยคะแนนต่ำสุด และนำมาหารด้วยจำนวนระดับที่ต้องการแบ่งดังนี้ พิสัยของช่วงคะแนน = คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ำสุด ระดับที่ต้องการ = 3 – 1 3 = 0.66 การปฏิบัติระดับสูง คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 2.34 – 3.00 การปฏิบัติระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1.67 – 2.33 การปฏิบัติระดับต่ำ คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1 – 1.66  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย มีวิธีดำเนินการวิจัยดังนี้ 3.1 ประชากรกลุ่มตัวอย่าง 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและการวัดตัวแปร 3.3 การสร้างและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัย 3.4 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 3.5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 3.1 ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีชื่อในระบบ อสม.ตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 126 คน ระยะเวลาดำเนินการ มกราคม 2561 – ธันวาคม 2561 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและการวัดตัวแปร เครื่องมือสำหรับการวิจัยในครั้งนี้ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ศึกษาสร้างขึ้นโดยกำหนดข้อคำถามให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยและกรอบแนวคิดในการวิจัยซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ส่วนที่ 1 คุณลักษณะประชากรส่วนบุคคลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพศ, อายุ, สถานภาพสมรส,การศึกษา, อาชีพ, รายได้ของครอบครัว,ระยะเวลาที่ท่านเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, จำนวน 7 ข้อ ส่วนที่ 2 ปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ลักษณะข้อคำถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด จำนวน 5 ข้อ มีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ เกณฑ์การให้คะแนน ข้อความเชิงบวก ข้อความเชิงลบ มากที่สุด ให้คะแนน 5 1 มาก ให้คะแนน 4 2 ปานกลาง ให้คะแนน 3 3 น้อย ให้คะแนน 2 4 น้อยที่สุด ให้คะแนน 1 5 เกณฑ์การแปลความหมาย ใช้เกณฑ์แปลผลตามแนวความคิดของBest (Best, 1997) โดยใช้ค่าคะแนนสูงสุดลบด้วยค่าคะแนนต่ำสุด และนำมาหารด้วยจำนวนกลุ่มหรือระดับการวัดที่ต้องการ 5 ระดับ ดังนี้ คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ำสุด ระดับที่ต้องการวัด แรงจูงใจระดับสูงสุด ค่าคะแนน 4.21 – 5.00 แรงจูงใจระดับสูง ค่าคะแนน 3.41 – 4.20 แรงจูงใจระดับปานกลาง ค่าคะแนน 2.61 – 3.40 แรงจูงใจระดับต่ำ ค่าคะแนน 1.81 – 2.60 แรงจูงใจระดับต่ำสุด ค่าคะแนน 1.00 – 1.80 ส่วนที่ 3 แบบสอบถามแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ลักษณะข้อคำถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) แบ่งเป็น 5 ระดับคือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด จำนวน 10 ข้อ มีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ เกณฑ์การให้คะแนน ข้อความเชิงบวก ข้อความเชิงลบ มากที่สุด ให้คะแนน 5 1 มาก ให้คะแนน 4 2 ปานกลาง ให้คะแนน 3 3 น้อย ให้คะแนน 2 4 น้อยที่สุด ให้คะแนน 1 5 เกณฑ์การแปลความหมาย ใช้เกณฑ์แปลผลตามแนวความคิดของBest (Best, 1997) โดยใช้ค่าคะแนนสูงสุดลบด้วยค่าคะแนนต่ำสุดและนำมาหารด้วยจำนวนกลุ่มหรือระดับการวัดที่ต้องการ 5 ระดับ ดังนี้ คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ำสุด ระดับที่ต้องการวัด แรงจูงใจระดับสูงสุด ค่าคะแนน 4.21–5.00 แรงจูงใจระดับสูง ค่าคะแนน 3.41 – 4.20 แรงจูงใจระดับปานกลาง ค่าคะแนน 2.61 – 3.40 แรงจูงใจระดับต่ำ ค่าคะแนน 1.81 – 2.60 แรงจูงใจระดับต่ำสุด ค่าคะแนน 1.00 – 1.80 ส่วนที่ 4 การปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ลักษณะข้อคำถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบ่งเป็น 3 ระดับคือ ปฏิบัติสม่ำเสมอ ปฏิบัติบางครั้ง ไม่เคยปฏิบัติ จำนวน 10 ข้อ มีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ เกณฑ์การให้คะแนน ข้อความเชิงบวก ข้อความเชิงลบ ปฏิบัติสม่ำเสมอ ให้คะแนน 3 1 ปฏิบัติบางครั้ง ให้คะแนน 2 2 ไม่เคยปฏิบัติ ให้คะแนน 1 3 เกณฑ์การแปลความหมาย ใช้เกณฑ์แปลผลตามแนวความคิดของBest (Best, 1997) โดยการประยุกต์หาช่วงคะแนนในชั้นมีการให้คะแนนเป็นระดับคะแนนต่ำสุด 1 คะแนน คะแนนสูงสุด 3 คะแนน การหาช่วงคะแนนแต่ละชั้นแบ่งเป็น 3 ระดับ โดยนำคะแนนสูงสุดลบด้วยคะแนนต่ำสุด และนำมาหารด้วยจำนวนระดับที่ต้องการแบ่งดังนี้ พิสัยของช่วงคะแนน = คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ำสุด ระดับที่ต้องการ = 3 – 1 3 = 0.66 การปฏิบัติระดับสูง คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 2.34 – 3.00 การปฏิบัติระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1.67 – 2.33 การปฏิบัติระดับต่ำ คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1 – 1.66 3.3 การสร้างและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ 1. ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารตำรา ทฤษฏี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสร้างเครื่องมือ 2. กำหนดขอบเขตและโครงสร้างของเนื้อหาที่จะสร้างแบบสอบถามให้สอดคล้องกับตัวแปรที่เกี่ยวข้องและวัตถุประสงค์ของเนื้อหาที่ต้องการศึกษาให้ครบถ้วน 3. สร้างแบบสอบถาม โดยนำแนวคิดที่ได้จากการศึกษามาปรับให้ครอบคลุมเนื้อหาและสอดคล้องกับกรอบแนวคิด 4. นำแบบสอบถามไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) และนำแบบสอบถามมาปรับปรุงแก้ไขก่อนจะนำไปทดลองใช้ 5. การทดสอบหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ด้วยการนำแบบสอบถามที่ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญไปทดลองใช้ (Try out) กับอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตตำบลโพนอำเภอคำม่วงจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 30 คน ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความเชื่อมั่น โดยใช้เกณฑ์การประเมินค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ผลการวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.833ถือว่าอยู่ในระดับดี แสดงให้เห็นว่า แบบสอบถามที่สร้างขึ้นมีคุณภาพเหมาะสมสำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ 3.4 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ขอความอนุเคราะห์จากประธาน อสม. และ อสม. ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการศึกษา อธิบายรายละเอียดในข้อคำถามก่อนการเก็บข้อมูล 2. ประธาน อสม. เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 3. ผู้วิจัยดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง ลงรหัสข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป 3.5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่เก็บรวบรวมได้ทั้งหมดมาตรวจสอบความสมบูรณ์บันทึกลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS และดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับขั้นตอน ดังนี้ 1. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติได้แก่การแจกแจงความถี่ (Frequency) หาค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) ค่าต่ำสุด (Minimum) และค่าสูงสุด (Maximum) 2. ทดสอบการแจกแจงของข้อมูลการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของ อสม.ตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ใช้สถิติโคลโมโกรอฟ-สเมอร์นอฟ(Kolmogorov – Smirnov Test) พบว่าข้อมูลมีการแจกแจงแบบไม่ปกติ (p-value <0.001) 3. วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงาน, แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของ อสม.ตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้ค่าสถิติ Spearmam rank correlation ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 และแปรผลความสัมพันธ์ของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ดังนี้ (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2540: 144) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่า 0.81 ขึ้นไป มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าอยู่ระหว่าง 0.61 – 0.80 มีความสัมพันธ์กันในระดับค่อนข้างสูง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าอยู่ระหว่าง 0.41 – 0.60 มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.41 มีความสัมพันธ์กันในระดับค่อนข้างต่ำ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าต่ำกว่า 0.20 มีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ 3.6 การพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยให้ความสำคัญกับการปกป้องและคุ้มครองการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่างโดยให้ตอบแบบสอบถามด้วยความสมัครใจ ภายหลังที่ได้รับการชี้แจงวัตถุประสงค์ของการวิจัย เวลาที่ใช่ในการตอบแบบสอบถาม รวมถึงชี้แจงอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่า การตอบแบบสอบถามของการวิจัยในครั้งนี้ไม่มีผลใดๆ ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามไม่ต้องใส่ชื่อและนามสกุล ผลการวิจัยจะนำเสนอในภาพรวม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก หากไม่ประสงค์จะตอบแบบสอบถามสามารถที่จะขอยุติการให้ข้อมูลได้ตลอดเวลา  
     
ผลการศึกษา : การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาได้ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่ตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 126 คน ผู้วิจัยได้แบ่งการนำเสนอผลการศึกษาเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 คุณลักษณะทางประชากรของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตารางที่ 1 จำนวน ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดของคุณลักษณะทางประชากรของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ปัจจัยลักษณะทางประชากร จำนวน (N=126) ร้อยละ 1. เพศ ชาย 12 9.5 หญิง 114 90.5 2. อายุ ต่ำกว่า 30 ปี 0 0.00 30 – 39 ปี 10 7.9 40 – 49 ปี 41 32.5 50 – 59 ปี 50 39.7 60 ปี ขึ้นไป 25 19.8 X = 52.02 SD = 8.61 Min = 35 Max = 72 3. สถานภาพสมรส โสด 9 7.1 สมรส 93 73.8 หม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่ 24 19.0 4. ระดับการศึกษา ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 42 33.3 มัธยมศึกษาตอนต้น 35 27.8 มัธยมศึกษาตอนปลาย 40 31.7 อนุปริญญา/ปวส. 6 4.8 ปริญญาตรีขึ้นไป 3 2.4 ตารางที่ 1 จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดของคุณลักษณะทางประชากรของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (ต่อ) ปัจจัยลักษณะทางประชากร จำนวน (N=126) ร้อยละ 5. อาชีพ เกษตรกรรม 99 78.6 ค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว 7 5.6 รับจ้างทั่วไป 16 12.7 ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 4 3.2 /ลูกจ้างของรัฐ 6. รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 5,000 บาท 101 80.2 5,001 – 10,000 บาท 17 13.5 10,001 – 15,000 บาท 3 2.4 15,001 บาท ขึ้นไป 5 4.0 X = 4,704.76 SD = 4,290.13 Min=1,000 Max =30,000 7. ระยะเวลาที่เป็น อสม.(ปี) 1 – 5 ปี 35 27.8 6 – 10 ปี 28 22.2 11 – 15 ปี 13 10.3 15 ปี ขึ้นไป 50 39.7 X = 13.25 SD = 8.94 Min=1 Max =30 จากตารางที่ 1 พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 114 คน ร้อยละ90.5 เพศชาย จำนวน 12 คน ร้อยละ12.5 ด้านอายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 50 – 59 ปี ร้อยละ 39.7 น้อยสุดอยู่ในช่วง 30-39 ปี ร้อยละ 7.9 อายุเฉลี่ย 52.02 ปี (SD = 8.61) อายุต่ำสุด 35 ปี สูงสุด 72 ปี ด้านสถานภาพสมรส ส่วนใหญ่มีสถานภาพคู่ จำนวน 93 คน ร้อยละ73.8 รองลงมาคือ หม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่ จำนวน 24 คน ร้อยละ 19การศึกษาส่วนใหญ่เรียนจบชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า จำนวน 42 คน ร้อยละ33.3 น้อยสุด คือระดับปริญญาตรีขึ้นไป จำนวน 3 คน ร้อยละ2.4 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จำนวน 99 คน ร้อยละ78.6 น้อยสุดคือข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/ลูกจ้างของรัฐ จำนวน 4 คน ร้อยละ 3.2 ด้านรายได้ ส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน จำนวน 101 คน ร้อยละ 80.2 มีรายได้มากว่า 15,001 ขึ้นไป จำนวน 5 คน ร้อยละ 4 โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 4,704.76 บาท (SD = 4,290.13)รายได้ต่ำสุด 1,000 บาท รายได้สูงสุด 30,000 บาท ระยะเวลาที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 15 ปี ขึ้นไป จำนวน 50 คน ร้อยละ39.7 ระยะเวลาเฉลี่ยอยู่ที 13.25 ปี (SD = 8.94) ต่ำสุดในการเป็น อสม. 1 ปี สูงสุด 30 ปี ส่วนที่ 2 ปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตารางที่ 2 จำนวนร้อยละปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ข้อความ มาก ร้อย มาก ร้อย ปาน ร้อย น้อย ร้อย น้อย ร้อย X SD ที่สุด ละ ละ กลาง ละ ละ ที่สุด ละ 1. ท่านได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว 85 67.5 36 28.6 5 4.0 0 0.00 0 0.00 4.63 .56 ในการทำหน้าที่ อสม. เป็นอย่างดี 2. จำนวนหลังคาเรือนที่ท่านรับผิดชอบ 84 66.7 35 27.8 7 5.6 0 0.00 0 0.00 4.61 .59 มีความเหมาะสมดีแล้ว 3. ในรอบปีที่ผ่าน หมู่บ้านของท่านได้รับ 96 76.2 27 21.4 3 2.4 0 0.00 0 0.00 4.74 .49 สิ่งสนับสนุน เช่น อะเบท เพื่อใช้ในการ ปฏิบัติงานป้องกัน และควบคุมโรค ไข้เลือดออกทุกหลังคาเรือน 4. ในรอบปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 107 84.9 19 15.1 0 0.00 0 0.00 0 0.00 4.85 .35 ได้มานิเทศงาน (เยี่ยม/แนะนำ/ช่วยเหลือ) เกี่ยวกับการปฏิบัติงานป้องกัน และควบ คุมโรคไข้เลือดออก 5. ในรอบปีที่ผ่านมา ท่านได้เข้าร่วมประชุม/ 74 58.7 46 36.5 6 4.8 0 0.0 0 0.00 4.54 .58 อบรม เกี่ยวกับการปฏิบัติงานป้องกันและ ควบคุมโรคไข้เลือดออก จากตารางที่ 2 พบว่า ข้อที่เป็นปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานมากที่สุด คือในรอบปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ติดตามนิเทศงานฯ ร้อยละ 84.9 ส่วนปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงาน น้อยที่สุดคือ ในรอบปีที่ผ่านมาท่านได้เข้าร่วมประชุม/อบรม เกี่ยวกับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกร้อยละ 58.7 ตารางที่ 3 การจัดระดับปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ระดับแรงจูงใจ จำนวน (N=126) ร้อยละ ระดับสูง 6 4.8 ระดับสูงสุด 120 95.2 จากตารางที่ 3 พบว่า ปัจจัยการสนับสนุนการปฏิบัติงานฯ อยู่ในระดับสูงสุด จำนวน 120 คน คิดเป็นร้อยละ 95.2 มีปัจจัยการสนับสนุนการปฏิบัติงานฯ อยู่ในระดับสูง จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 4.8 ส่วนที่ 3 ปัจจัยเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตารางที่ 4 จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรายข้อของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ข้อความ มาก ร้อย มาก ร้อย ปาน ร้อย น้อย ร้อย น้อย ร้อย X SD ที่สุด ละ ละ กลาง ละ ละ ที่สุด ละ 1. อสม.ทำหน้าที่ด้วยตนเองไม่มีใครบังคับ 82 65.1 33 26.2 9 7.1 2 1.6 0 0.00 4.55 .70 2. เพื่อนๆ มีบทบาทมากต่อท่าน ในการเข้า 58 46.0 54 42.9 14 11.1 0 0.00 0 0.00 4.35 .67 มาปฏิบัติหน้าที่ อสม. 3. การทำหน้าที่ อสม. ทำให้ท่านได้รับการ 53 42.1 59 46.8 14 11.1 0 0.00 0 0.00 4.31 .66 ยกย่องว่าเสียสละเพื่อส่วนร่วม 4. การเป็น อสม. ทำให้ท่านมีสิทธิพิเศษใน 69 54.8 39 31.0 17 13.5 1 0.8 0 0.00 4.40 .74 การรักษาพยาบาล 5. การเป็น อสม.ทำให้ท่านมีโอกาสศึกษาหา 79 62.7 41 32.5 6 4.8 0 0.0 0 0.00 4.58 .58 ความรู้อื่นๆเพิ่มเติมได้มากขึ้น 6. ท่านรู้สึกภูมิใจและมีเกียรติในการทำหน้า 85 67.5 38 30.2 3 2.4 0 0.0 0 0.00 4.65 .52 ที่อสม. 7. การทำหน้าที่ อสม. ทำให้ท่านมีความรู้ 75 59.5 43 34.1 6 4.8 2 1.0 0 0.00 4.52 .66 และประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพ 8. ประชาชนเชื่อถือและปฏิบัติตามคำแนะนำ 43 34.1 58 46.0 21 16.7 4 3.2 0 0.00 4.11 .79 ของท่านเป็นอย่างดี 9. การทำหน้าที่ อสม. ทำให้ท่านมีโอกาสได้ 30 23.8 25 19.8 41 32.5 22 17.5 8 6.3 3.37 1.20 รับการเลือกเป็นนักการเมืองท้องถิ่น 10. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสนับสนุนเป็นกำลัง 61 48.4 54 42.9 10 7.9 1 .8 0 0.00 4.39 .66 ใจในการปฏิบัติงานของท่าน จากตารางที่ 4 พบว่า ข้อที่เป็นปัจจัยเสริมแรงใจในการปฏิบัติงานมากที่สุด คือ ท่านรู้สึกภูมิในและมีเกียรติในการทำหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 85 คน คิดเป็นร้อยละ 67.5 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 (SD = .52) รองลงมาคือ การเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ทำให้ท่านมีโอกาสศึกษาหาความรู้อื่นๆเพิ่มเติมได้มากขึ้น จำนวน 79 คน คิดเป็นร้อยละ 62.7 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58(SD = .58) ส่วนข้อที่พบว่ามีแรงจูงใจน้อยที่สุด คือ การทำหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ทำให้ท่านมีโอกาสได้รับการเลือกเป็นนักการเมืองท้องถิ่น จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 23.8 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.37(SD = 1.20) ตารางที่ 5 การจัดระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ระดับแรงจูงใจ จำนวน (N=126) ร้อยละ ระดับปานกลาง 5 4.0 ระดับสูง 53 42.1 ระดับสูงสุด 68 54.0 จากตารางที่ 5 การระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานฯ พบว่า มีระดับแรงจูงใจอยู่ในระดับสูงสุด จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 54.0 มีแรงจูงใจระดับสูง จำนวน 53 คน คิดเป็นร้อยละ 42.1 ระดับปานกลาง จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 4.0 ส่วนที่ 4 การปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตารางที่ 6 จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รายข้อของการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ข้อความ ประจำ ร้อย ปฏิบัติ ร้อย ไม่ปฏิบัติ ร้อย X SD สม่ำเสมอ ละ บางครั้ง ละ เลย ละ 1. ท่านมีส่วนร่วมในการป้องกันการเพราะพันธ์ยุงลาย 103 81.7 23 18.3 0 0.00 2.82 .38 ด้วยการพ่นหมอกควันในพื้นที่เสี่ยง ทั้งแหล่งน้ำขังท่อ ระบายน้ำ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง 2.ท่านช่วยส่งเสริมให้ชาวบ้านทำการตรวจสอบพื้นที่ 93 73.8 32 25.4 1 .8 2.73 .46 มีน้ำขัง อย่างน้อยทุกๆ 7 วัน หรือหลังจากที่มีฝนตก 3. ท่านมีการเชิญชวนให้ชาวบ้านศึกษาข้อมูลและข่าว 92 73.0 34 27.0 0 0.00 2.73 .44 สารการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกพร้อมทั้งแนะนำ วิธีควบคุมและป้องกันโรคด้วยวาจาในช่วงที่มีการระบาด 4. ท่านเข้าร่วมกิจกรรมในการควบคุมและป้องกันโรค 89 70.6 37 29.4 0 0.00 2.71 .45 ไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ทั้งการตัดหญ้าและป่ารกชัด ในหมู่บ้านให้โล่งเตียน 5. ท่านมีส่วนร่วมในกิจกรรมรณรงค์ควบคุมและป้องกัน 91 72.2 35 27.8 0 0.00 2.72 .45 ไข้เลือดออกในโรงเรียนและชุมชน 6. ท่านสารมารถให้คำแนะนำและให้ความรู้แก่นักเรียน 83 65.9 43 34.1 0 0.00 2.66 .47 และชาวบ้านเรื่องไข้เลือดออกได้เป็นอย่างดี 7. ท่านสามารถแนะนำวิธีควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 96 76.2 28 22.2 2 1.6 2.75 .47 ให้กับชาวบ้าน ด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เช่น วิธีการป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด การสาธิตวิธีการใส่ เกลือในแหล่งน้ำขัง เป็นต้น ตารางที่ 6 จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รายข้อของการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (ต่อ) ข้อความ ประจำ ร้อย ปฏิบัติ ร้อย ไม่ปฏิบัติ ร้อย X SD สม่ำเสมอ ละ บางครั้ง ละ เลย ละ 8. การปฏิบัติหน้าที่ อสม. ในการควบคุมและป้องกัน 110 87.3 15 11.9 1 .8 2.87 .36 โรคไข้เลือดออกท่านได้มีการติดตาม เฝ้าระวัง และราย งานผลให้หน่วยงานสาธารณสุขทราบผลอย่างต่อเนื่อง 9. ท่านได้แนะนำให้ความรู้แก่ชาวบ้านในการเฝ้าระวัง 102 81.0 24 19.0 0 0 2.81 .39 อาการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกของบุคคลในครอบครัว อย่างถูกต้อง 10. ท่านได้แนะนำช่องทางที่ถูกต้องในการแจ้งข่าว 95 75.4 30 23.8 1 .8 2.75 .45 เมื่อพบว่ามีบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลใกล้ชิดป่วยเป็น โรคไข้เลือดออก จากตารางที่ 6 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตอบ การปฏิบัติหน้าที่ อสม. ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกท่านได้มีการติดตาม เฝ้าระวัง และรายงานผลให้หน่วยงานสาธารณสุขทราบผลอย่างต่อเนื่อง จำนวน 110 คน คิดเป็นร้อยละ 87.3 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.87 รองลงมาคือ ท่านมีส่วนร่วมในการป้องกันการเพาะพันธ์ยุงลายด้วยการพ่นหมอกควันในพื้นที่เสี่ยง ทั้งแหล่งน้ำขังท่อระบายน้ำ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง จำนวน 103 คน คิดเป็นร้อยละ 81.7 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.82 ส่วนข้อที่พบว่ามีการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน น้อยที่สุด คือ ท่านสารมารถให้คำแนะนำและให้ความรู้แก่นักเรียนและชาวบ้านเรื่องไข้เลือดออกได้เป็นอย่างดี จำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 65.9 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.66 ตารางที่ 7 การจัดระดับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ระดับการปฏิบัติงานและควบคุมโรค จำนวน (N=126) ร้อยละ ระดับปานกลาง 10 7.9 ระดับสูง 116 92.1 จากตารางที่ 7 การจัดระดับการปฏิบัติงานและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านพบว่า มีระดับการปฏิบัติงานและควบคุมโรคอยู่ในระดับสูง จำนวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ 92.1 ระดับปานกลาง จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 7.9 ส่วนที่ 5 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน ตารางที่ 8 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงาน , แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและการปฏิบัติงานและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตัวแปร r ระดับความสัมพันธ์ ปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานของ อสม. 0.08 ต่ำ ปัจจัยเสริมแรงจูงใจปฏิบัติงานของ อสม. 0.44 ปานกลาง จากตารางที่ 8 พบว่า ปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานของ อสม. มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของ อสม. ในระดับต่ำ ส่วนปัจจัยเสริมด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ อสม. มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของ อสม. ในระดับปานกลาง  
ข้อเสนอแนะ : จากการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือแบบสอบถาม ซึ่งได้ผ่านการทดลองใช้เพื่อทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้งจังหวัดกาฬสินธุ์ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามรวมเท่ากับ 0.833 และนำแบบสอบถามที่ได้มาปรับปรุงและนำไปใช้ในพื้นที่ทำการศึกษาจำนวน 126 คน ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้สร้างแบบสอบถามด้วยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 คุณลักษณะทางประชากรของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้แก่ เพศ, อายุ, สถานภาพสมรส, การศึกษา, อาชีพ, รายได้ของครอบครัว, ระยะเวลาที่ท่านเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, จำนวน 7 ข้อ ส่วนที่ 2 ปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านลักษณะข้อคำถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า แบ่งเป็น 5 ระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.625 ส่วนที่ 3 แบบสอบถามแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านลักษณะข้อคำถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า แบ่งเป็น 5 ระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ0.837 ส่วนที่ 4 การปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านลักษณะข้อคำถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า แบ่งเป็น 3 ระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.869 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบการแจกแจงของข้อมูลการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของ อสม.ตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ใช้สถิติโคลโมโกรอฟ - สเมอร์นอฟ (Kolmogorov – Smirnov Test) พบว่าข้อมูลมีการแจกแจงแบบไม่ปกติ (p-value <0.001) จึงหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของ อสม.ตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้ค่าสถิติ Spearman rank correlation สรุปผลการวิจัย 1. คุณลักษณะทางประชากรของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 126 คน จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ90.5 อายุเฉลี่ย 52 ปี (SD = 8.61) อายุต่ำสุด 35 ปี สูงสุด 72 ปี มีสถานภาพคู่ ร้อยละ 73.8 จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 33.3 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 78.6 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 4,704.76 บาท (SD = 4,290.13) ระยะเวลาเฉลี่ย 13.25 ปี (SD = 8.94) จำนวนหลังคาเรือนที่รับผิดชอบเฉลี่ย 15.38 (SD = 5.84) ไม่พบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดำรงตำแหน่งอื่นๆในหมู่บ้าน นอกจากการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านร้อยละ 52.4 การได้รับข้อมูลข่าวสารเรื่องการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ร้อยละ 65.9 2. ปัจจัยสนับสนุนด้านการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 126 คน จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มากที่สุดคือในรอบ 1ปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้มานิเทศงาน (เยี่ยม/แนะนำ/ช่วยเหลือ) เกี่ยวกับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก คิดเป็นร้อยละ 84.9 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.85 ส่วนปัจจัยที่มีต่อการปฏิบัติงานของ อสม.ฯ น้อยที่สุดคือ ในรอบ 1ปีที่ผ่านมา ท่านได้เข้าร่วมประชุม/อบรม เกี่ยวกับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก คิดเป็นร้อยละ 58.7 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 เมื่อนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาจัดระดับสนับสนุนการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พบว่า ระดับการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 95.2.0 ระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 42.1 3. ปัจจัยเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 126 คน จากการวิเคราะห์ข้อมูลรายข้อ พบว่าปัจจัยเสริมแรงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมากที่สุด คือ ท่านรู้สึกภูมิในและมีเกียรติในการทำหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 67.5 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 เมื่อนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาจัดระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พบว่า มีระดับแรงจูงใจอยู่ในระดับสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 54.0 มีแรงจูงใจระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 42.1 ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 4.0 4. การปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 126 คน จากการวิเคราะห์ข้อมูลรายข้อ พบว่าการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกท่านได้มีการติดตาม เฝ้าระวัง และรายงานผลให้หน่วยงานสาธารณสุขทราบผลอย่างต่อเนื่องคิดเป็นร้อยละ 87.3 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.87 รองลงมาคือ ท่านมีส่วนร่วมในการป้องกันการเพราะพันธ์ยุงลายด้วยการพ่นหมอกควันในพื้นที่เสี่ยง ทั้งแหล่งน้ำขังท่อระบายน้ำ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง มาปฏิบัติหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 103 คน คิดเป็นร้อยละ 81.7 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.82 ส่วนข้อที่พบว่ามีการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน น้อยที่สุด คือ ท่านสารมารถให้คำแนะนำและให้ความรู้แก่นักเรียนและชาวบ้านเรื่องไข้เลือดออกได้เป็นอย่างดี จำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 65.9 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.66 เมื่อนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาจัดระดับการปฏิบัติงานและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านพบว่า มีระดับการปฏิบัติงานและควบคุมโรคอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 92.1 ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 7.9 5. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จากการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พบว่า ปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานฯ มีความสัมพันธ์ระดับต่ำ (r = 0.08, p – value > 0.001) กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ส่วนปัจจัยเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานฯ มีความสัมพันธ์ปานกลาง (r = 0.44, p – value < 0.001) กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การอภิปรายผล จากผลการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ผู้ศึกษาขออภิปรายผลตามวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1. ระดับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พบว่า มีระดับการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง มีการปฏิบัติงานเป็นประจำสม่ำเสมอ มีการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องทั้งในหมู่บ้าน วัด โรงเรียน เพื่อป้องกันการระบาดของโรค ทั้งนี้เพราะ กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติงานมานาน (13.25 ปี) ทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รู้บทบาทหน้าที่ของตัวเอง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม การดำรงชีวิตประจำวันก็อยู่ในชุมชนที่ตัวเองอาศัยอยู่ ทำให้รู้จุดที่ควรแก้ไข ปรับปรุงข้อบกพร่องในชุมชนของตนเอง และยังมีการนิเทศ ประชุมติดตามการทำงานของ อสม.โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เป็นประจำทุกเดือน ทำให้ทราบระยะเวลาที่จะมีการเกิดโรคไข้เลือดออกเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่ดำรงตำแหน่งอื่นๆในหมู่บ้าน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน/สารวัตรกำนัน/ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน/สมาชิกสภาท้องถิ่น ทำให้เกิดภาคีเครือข่ายในการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรไข้เลือดออกได้เป็นอย่างดี ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ ณัฐธิดา ศิริเกตุ (2557) ที่ได้ศึกษาเรื่อง ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งผลการวิจัย พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขส่วนใหญ่มีความรู้ และทัศนคติ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับปานกลาง อาสมัครสาธารณสุขมีการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความรู้และทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับทักษะการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข และการศึกษาของ ประทือง ฉ่ำน้อย (2558) ได้ศึกษาระดับความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข กรณีศึกษา อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า มีพฤติกรรมการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับสูง 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จากการศึกษา พบว่า ปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข มีความสัมพันธ์ทางบวก ระดับต่ำ กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ซึ่งมีความสอดคล้องกับการศึกษาของ ชนิดา มัททวางกูร และคณะ (2557) ได้ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสายสี่ จังหวัดสมุทรสาคร ผลการวิจัย พบว่าด้านปัจจัยกระตุ้นปฏิบัติได้แก่การสนับสนุนจาก อสม. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเทศบาล มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ที่ระดับ .001 และมีความใกล้เคียงกับการศึกษาของ ภิรมย์รัตน์ เกียรติธนบดี, วิโรจน์ ไววานิชกิจ และจเด็ด ดียิ่ง (2558) ได้ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของภาคีเครือข่ายสุขภาพในอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า การได้รับการสนับสนุนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ส่วนด้าน ปัจจัยเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข มีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับปานกลาง กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ซึ่งมีความใกล้เคียงกับการศึกษาของ ประทือง ฉ่ำน้อย (2558) ได้ศึกษาระดับความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข กรณีศึกษา อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะ 1. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรส่งเสริมให้มีกิจกรรม/เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่ อสม. เช่น การมีการสำรวจลูกน้ำยุงลายแบบไขว้ แต่ละหมู่บ้าน เพื่อให้ อสม. ที่มีประสบการณ์ในการทำงานร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ เทคนิคต่างในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อให้ อสม.เกิดความตระหนักในหน้าที่และเกิดคุณค่าร่วมในการปฏิบัติงานมากขึ้น 2. ควรจัดกิจกรรมรณรงค์จิตอาสาด้านสิ่งแวดล้อมให้เพิ่มมากขึ้นเน้นการสร้างความสัมพันธ์ขององค์กรในพื้นที่ โดยอาศัยความร่วมมือจากปกครองท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้ยั่งยืน 3. ในการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้การดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกมีการดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดความยั่งยืน  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)